• ธงพื้นแดงเกลี้ยง
พ.ศ. 2199 – พ.ศ. 2325
พ.ศ. 2199 – พ.ศ. 2325
ประเทศไทยใช้ธงสีแดง มาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ไม่มีใครทราบข้อมูลแน่นอน... สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับธงพื้นแดงเกลี้ยง ไว้ในเชิงอรรถ ของหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ว่า พบหลักฐานในหนังสือจดหมายเหตุทูตไทยที่ลังกาทวีป เมื่อคราวพระอุบาลีออกไปให้อุปสมบทแก่ชาวสิงหล ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมโกศ ว่าใช้ธงพื้นแดงสีเดียว
• ธงวงจักรสีขาวบนพื้นแดง
( พ.ศ. 2325 – พ.ศ. 2352 )(ใช้สำหรับเรือหลวง)
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ( รัชกาลที่ 1 ) ให้ใช้สำหรับเรือหลวงเท่านั้น ... ธงวงจักรสีขาวบนพื้นแดง อันเป็นเครื่องหมายแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ลงไว้กลางธงผ้าพื้นแดง สำหรับประดับเรือหลวง เพื่อแสดงความแตกต่างจากเรือราษฎรชาวสยามทั่วไปที่ใช้ธงแดงเกลี้ยง• ธงช้างเผือกในวงจักรสีขาวบนพื้นแดง
( พ.ศ. 2352 – พ.ศ. 2394 ) เริ่มใช้ในรัชกาลที่ 2 (สำหรับเรือหลวงเท่านั้น) ธงช้างเผือกในวงจักรสีขาวบนพื้นแดง ในช่วงรัชกาลที่ 2 แผ่นดินสยามได้ช้างเผือกเข้ามาถึง 3 ช้าง ได้แก่ พระยาเศวตกุญชร , พระยาเศวตไอยรา และพระยาเศวตคชลักษณ์ ซึ่งในประเพณีไทยถือว่าเป็นพระเกียรติยศอย่างสูง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้างสีขาวไว้ในวงจักรสีขาว กลางธงสีแดง ใช้สำหรับเรือหลวง ส่วนเรือราษฎรยังคงใช้ธงแดงเกลี้ยงเช่นเดิม
• ธงช้างเผือกเปล่าบนพื้นแดง
( พ.ศ. 2394 – พ.ศ. 2459 )
*เริ่มใช้ในรัชกาลที่ 3 ใช้สำหรับเรือสินค้าของราษฎรทั่วไป ...
ธงช้างเผือกเปล่าบนพื้นแดง เริ่มใช้ในรัชกาลที่ 3 - รัชกาลที่ 6 เป็นธงสำหรับเรือสินค้าของราษฎรทั่วไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า ธงสีแดงที่เรือราษฎรใช้นั้น ซ้ำกับประเทศอื่น ทำให้สังเกตได้ยาก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรือราษฎรใช้ธงสีแดงมีรูปช้างสีขาวอยู่ตรงกลาง ....
ธงนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ได้ทั่วไปทั้งเรือหลวงและเรือเอกชน แต่เรือหลวงนั้นทรงกำหนดให้ใช้พื้นเป็นสีน้ำเงินขาบชักขึ้นที่หัวเรือ เพื่อเป็นเครื่องหมายสำหรับแยกแยะว่าเป็นเรือหลวงด้วย ธงนี้มีชื่อว่า ธงเกตุ (ต่อมาได้วิวัฒนาการ มาเป็นธงฉานของกองทัพเรือไทยในปัจจุบัน)
• ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น
( พ.ศ. 2459 – พ.ศ. 2460 ) *เริ่มใช้ในรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2459 เป็นธงสำหรับหน่วยงานราชการ .. ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น เริ่มใช้เป็นธงชาติเมื่อ พ.ศ. 2459 รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำริว่า เมื่อมองธงชาติซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้นแต่ไกล จะมีลักษณะไม่ต่างจากธงราชการเท่าไร และรูปช้างที่อยู่กลางธงยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน จึงโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก 129 มาตรา 4 ข้อ 19 กำหนดให้ธงชาติเป็นพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหน้าหันเข้าเสาธง สำหรับเป็นธงราชการ
( พ.ศ. 2459 – พ.ศ. 2460 ) *เริ่มใช้ในรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2459 เป็นธงสำหรับหน่วยงานราชการ .. ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น เริ่มใช้เป็นธงชาติเมื่อ พ.ศ. 2459 รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำริว่า เมื่อมองธงชาติซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้นแต่ไกล จะมีลักษณะไม่ต่างจากธงราชการเท่าไร และรูปช้างที่อยู่กลางธงยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน จึงโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก 129 มาตรา 4 ข้อ 19 กำหนดให้ธงชาติเป็นพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหน้าหันเข้าเสาธง สำหรับเป็นธงราชการ
• ธงแดงขาวห้าริ้ว
( พ.ศ. 2460 )
เริ่มใช้ในรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2459 เป็นธงสำหรับประชาชน ธงแดงขาวห้าริ้ว ถือเป็นต้นแบบธงไตรรงค์ ใช้เป็นธงค้าขายสำหรับประชาชน
(ชื่อในเอกสารราชการเรียกว่า ธงค้าขาย)
แต่สำหรับหน่วยงานราชการของรัฐบาลสยาม ยังคงใช้ธงช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ แต่ใช้รูปช้างเผือกแบบทรงเครื่องยืนแท่น ซึ่งแต่เดิมธงนี้เป็นธงสำหรับเรือหลวงมาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๔๐ และมีฐานะเป็นธงราชการอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๕๓
มีพระราชดำริว่า ธงช้างทำยาก และไม่ใคร่ได้ทำแพร่หลายในประเทศ โดยธงช้างที่ขายตามท้องตลาดนั้น มักจะเป็นธงที่ผลิตจากต่างประเทศ และประเทศที่ทำไม่รู้จักช้าง ... ดังนั้น รูปร่างของช้างที่ปรากฏ จึงไม่น่าดู จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปแบบธงชาติเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีแถบยาวสีแดง ๓ แถบ สลับกับแถบสีขาว ๒ แถบ (ธงแดงขาวห้าริ้ว) ซึ่งคล้ายกับธงชาติไทยในปัจจุบัน
• ธงไตรรงค์
พ.ศ. 2460 – ปัจจุบัน
พ.ศ. 2460 – ปัจจุบัน
* เริ่มใช้ในรัชกาลที่ 6 ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. 2460 - ปัจจุบัน ธงไตรรงค์ ประกาศใช้เป็นธงชาติสยาม เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2460 ( ในสมัยรัชกาลที่ 6 ) ธงชาติสยาม แบบใหม่นี้ ได้ปรากฏต่อสายตาชาวโลกครั้งแรก ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกองทหารอาสาของไทยได้ใช้เชิญไปเป็นธงไชยเฉลิมพลประจำหน่วย โดยกำหนดให้มีสามสี (Tricolor) คือ แดง ขาว และน้ำเงินแก่ ตามลักษณะธงชาติของประเทศผู้นำฝ่ายพันธมิตร
พระองค์ทรงพระราชทานชื่อเรียกว่า “ธงไตรรงค์” พร้อมความหมาย สีแดง หมายถึงเลือดอันยอมพลีเพื่อธำรงรักษาชาติและศาสนา ... สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ และ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งศาสนา ...
เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึง ความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชาติ เพื่อจะได้ดำรงไว้ซึ่งความเป็นปึกแผ่นของประเทศไทยให้ยั่งยืนตลอดไป ....
... เมื่อ วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๙ ในการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ประชุมซึ่งนำโดย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบ ให้ วันที่ ๒๘ กันยายน ของทุกปี เป็น วันพระราชทานธงชาติไทย โดยให้เริ่มในวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐ เป็นปีแรก แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ
แต่ในสังคมประเทศไทย ในยุคสมัยนี้ ... กลับมีการสร้างความเข้าใจผิดในหมู่ คนรุ่นใหม่ ว่า ธงชาติไทย คือ วัฒนธรรม และมรดก หรือ สัญลักษณ์ ของฝ่าย อนุรักษ์นิยม ....ดังนั้น ถ้าเราเป็นคนรุ่นใหม่ หัวก้าวหน้า และทันสมัย ไม่จำเป็นต้องเคารพธงชาติไทย อย่างเช่น มีกลุ่มการเมืองคณะหนึ่ง ปลุกปั่นยุยงเยาวชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อประโยชน์ทางการเมือง ปลุกฝังความคิดให้เกลียดชังประเทศชาติ และวัฒนธรรมของไทย
ค้นหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับธงชาติไทย
- วันที่ 14 ก.ย. 2485 คนไทยยืนตรงเคารพธงชาติ เป็นครั้งแรก https://www.misc.today/2020/09/National-anthem.html
- พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย https://artsandculture.google.com/partner/thai-flag-museum
- พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย
- พิพิธภัณฑ์รัฐสภา https://parliamentmuseum.go.th/ar63-Thai-Flag.html
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี
- หนังสือคู่มือธงไตรรงค์ ธำรงไทย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี