ในวันที่ 8 เดือน 12 ที่วัดต่างๆ มักจะมีการต้มข้าวต้มที่ผสมธัญญาหารหลายชนิด และแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน เรียกว่า ล่าปาโจว(腊八粥)
ข้าวต้มล่าปา มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าพันปี ในประเทศจีน นอกจากวัดแล้ว ผู้ที่มีฐานะร่ำรวยก็นิยมหุงข้าวต้มล่าปาโจว มาแจกให้กับชาวบ้าน ในวันนี้ เพื่อช่วยเหลือคนยากจน ส่วนชาวบ้านเอง ก็มีประเพณีต้มข้าวต้มล่าปาที่บ้านเอง เช่นกัน
ในภาคเหนือของจีน มีเพลงเด็กที่ร้องว่า
"เด็กเล็ก เด็กน้อย อย่าน้ำลายไหล ผ่านวันล่าปาแล้ว ก็จะถึงปีใหม่"
ซึ่งหมายความว่า หลังจาก เทศกาลล่าปา อีกไม่นานก็ถึงเทศกาลวันตรุษจีน ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีความสำคัญและมีอาหารมากมายหลายอย่างให้กิน
นอกจากข้าวต้มล่าปาแล้ว ยังมีอาหารอีกหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลล่าปา เช่น กระเทียมล่าปา (腊八蒜)ชาวบ้านนิยมปอกกระเทียมแล้วแช่ในน้ำส้มสายชู เรียกว่า ล่าปาส้วน กระเทียมนี้จะแช่ในน้ำส้มสายชูตั้งแต่วันล่าปา วันที่ 8 เดือน 12 จนถึงวันที่ 1 เดือนอ้าย คือ วันตรุษจีน และในวันตรุษจีน จะต้องรับประทานเกี๊ยวพร้อมกับกระเทียมชนิดนี้ น้ำส้มสายชูที่นำไปแช่กระเทียมนั้นก็ถือว่าเป็นน้ำส้มมงคล เนื่องจากได้สารอาหารบางส่วนจากกระเทียมแล้ว น้ำส้มสายชูนี้จะมีกลิ่นยิ่งหอมและสามารถเก็บไว้นาน เรียกว่า “ล่าปาชู่”(腊八醋) ซึ่งชาวบ้านยังเชื่อว่า น้ำส้มสายชูชนิดนี้ มีสรรพคุณรักษาสุขภาพ โดยเฉพาะคนชรา
นอกจากข้าวต้มล่าปาแล้ว ยังมีอาหารอีกหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลล่าปา เช่น กระเทียมล่าปา (腊八蒜)ชาวบ้านนิยมปอกกระเทียมแล้วแช่ในน้ำส้มสายชู เรียกว่า ล่าปาส้วน กระเทียมนี้จะแช่ในน้ำส้มสายชูตั้งแต่วันล่าปา วันที่ 8 เดือน 12 จนถึงวันที่ 1 เดือนอ้าย คือ วันตรุษจีน และในวันตรุษจีน จะต้องรับประทานเกี๊ยวพร้อมกับกระเทียมชนิดนี้ น้ำส้มสายชูที่นำไปแช่กระเทียมนั้นก็ถือว่าเป็นน้ำส้มมงคล เนื่องจากได้สารอาหารบางส่วนจากกระเทียมแล้ว น้ำส้มสายชูนี้จะมีกลิ่นยิ่งหอมและสามารถเก็บไว้นาน เรียกว่า “ล่าปาชู่”(腊八醋) ซึ่งชาวบ้านยังเชื่อว่า น้ำส้มสายชูชนิดนี้ มีสรรพคุณรักษาสุขภาพ โดยเฉพาะคนชรา
“โจ๊กล่าปา” นั้นมีประโยชน์บำรุงร่างกาย หลังจากเซ่นไหว้และรับประทานแล้ว เนื้อสัตว์ส่วนที่เหลือยังมีอีกมากมาย ก็นำมาเคล้าเกลือตากแห้งเก็บไว้เป็นเสบียงต่อไป
ประเพณีการรับประทาน “โจ๊กล่าปา” เกิดในสมัยราชวงศ์ซ่ง เมื่อ 1,000 ปีก่อน และ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นสูงสุดในราชวงศ์ชิง เมื่อถึงเช้าตรู่วันขึ้น 8 ค่ำเดือน 12 จะต้องมีการทำข้าวต้ม 5 รสที่นำของมงคล 7 อย่างปรุงรวมกัน วิธีการทำ “โจ๊กล่าปา” มีสูตรแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่โดยทั่วไปแล้ว ข้าวเป็นส่วนประกอบหลัก และยังมีการผสมผลไม้แห้ง ธัญพืช และถั่วลงไปด้วยหลายชนิด ในค่ำคืนวันขึ้น 7 ค่ำเดือน 12 แต่ละครอบครัวจะเตรียมล้างข้าวสาร พุทราแห้ง องุ่นแห้ง ธัญพืชต่าง ๆ รอถึงเที่ยงคืนแล้วนำส่วนผสมทั้งหมดมาต้มรวมกันแล้วต้มด้วยไฟอ่อนข้ามคืน ถึงเช้าตรู่ของวันใหม่จึงถีอว่าทำเสร็จเรียบร้อย
Tweet
ข้อมูลโดย : ลึกชัดกับผิงผิง , คลังความรู้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
中國民俗傳統節日 : 佳節年年. 蘇佩吟選編. 曼谷 : 八音出版社, 2001. http://www.lib.hcu.ac.th/KM/lapa/
中國民俗傳統節日 : 佳節年年. 蘇佩吟選編. 曼谷 : 八音出版社, 2001. http://www.lib.hcu.ac.th/KM/lapa/
สัมผัสกลิ่นอาย "เทศกาลล่าปา" ในประเทศจีน