ทรงผมแบบญี่ปุ่น โดย พระราชชายาเจ้าดารารัศมีเป็นพระองค์แรกที่ทรงนำมาเผยแพร่ในเชียงใหม่
พระราชชายา เจ้าดารารัศมี เป็นพระธิดาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่เมื่อครั้งยังเป็นเมืองขึ้นของสยาม เจ้าหญิงองค์น้อย พระชนมายุ เพียง 13 ปี จึงต้องเสด็จฯ จากบ้านเกิดเมืองนอน มาถวายตัว เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กรุงเทพฯ
ในพระฉายาลักษณ์นี้พระเกศายาวของพระราชชายาฯ เกล้าขึ้นโดยใช้หมอนรอง โคนผมด้านหน้ายกสูงขึ้น เรียกว่าทรง ‘อี่ปุ่น’ ด้วยได้รับแบบแผนมาจากแดนอาทิตย์อุทัย
อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ ‘เจ้าดารารัศมี’ เพิ่มอีก
เจ้าดารารัศมี นับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการรวมล้านนาเข้ากับสยาม โดยการถวายตัวเป็นสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และยังเป็นผู้ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมล้านนาอีกด้วย ซึ่งการสานสัมพันธ์ของเมืองเชียงใหม่กับกรุงเทพฯ ในครั้งนั้น เป็นความตั้งใจแต่เดิมของพระเจ้าอินทวิชยานนท์และเจ้าแม่ทิพเกสรอยู่แล้ว โดยได้ตระเตรียมการดังกล่าวมานานเป็นสิบๆ ปี
เจ้าดารารัศมีได้ทรงไว้จุกแบบเด็กตามประเพณีในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พระชันษาได้เพียงหนึ่งเดือน และถือเป็นคนแรกของเมืองเชียงใหม่ที่มีการไว้จุก ต่อมาเมื่อมีพระชนมายุครบ 11 พรรษา พระบิดาจึงโปรดฯ ให้มีพิธีโสกันต์ (โกนจุก) โดยในครั้งนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานตุ้มหูเพชรให้แก่เจ้าดารารัศมีเพื่อรับขวัญ ดังปรากฏอยู่ในพระราชหัตถเลขา ในปี พ.ศ. 2426 พระราชทานไปยังพระยาราชสัมภารากร ให้อัญเชิญกระแสพระบรมราชโองการไปชี้แจงแก่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ และเจ้าทิพเกสร ความว่า …
อ่านต่อ >>
Tweet
ในพระฉายาลักษณ์นี้พระเกศายาวของพระราชชายาฯ เกล้าขึ้นโดยใช้หมอนรอง โคนผมด้านหน้ายกสูงขึ้น เรียกว่าทรง ‘อี่ปุ่น’ ด้วยได้รับแบบแผนมาจากแดนอาทิตย์อุทัย
อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ ‘เจ้าดารารัศมี’ เพิ่มอีก
‘เจ้าดารารัศมี’ เจ้าหญิงแห่งล้านนา ผู้สานสัมพันธ์แน่นแฟ้นระหว่างเชียงใหม่และสยาม
เจ้าดารารัศมี นับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการรวมล้านนาเข้ากับสยาม โดยการถวายตัวเป็นสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และยังเป็นผู้ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมล้านนาอีกด้วย ซึ่งการสานสัมพันธ์ของเมืองเชียงใหม่กับกรุงเทพฯ ในครั้งนั้น เป็นความตั้งใจแต่เดิมของพระเจ้าอินทวิชยานนท์และเจ้าแม่ทิพเกสรอยู่แล้ว โดยได้ตระเตรียมการดังกล่าวมานานเป็นสิบๆ ปี
เจ้าดารารัศมีได้ทรงไว้จุกแบบเด็กตามประเพณีในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พระชันษาได้เพียงหนึ่งเดือน และถือเป็นคนแรกของเมืองเชียงใหม่ที่มีการไว้จุก ต่อมาเมื่อมีพระชนมายุครบ 11 พรรษา พระบิดาจึงโปรดฯ ให้มีพิธีโสกันต์ (โกนจุก) โดยในครั้งนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานตุ้มหูเพชรให้แก่เจ้าดารารัศมีเพื่อรับขวัญ ดังปรากฏอยู่ในพระราชหัตถเลขา ในปี พ.ศ. 2426 พระราชทานไปยังพระยาราชสัมภารากร ให้อัญเชิญกระแสพระบรมราชโองการไปชี้แจงแก่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ และเจ้าทิพเกสร ความว่า …
“… เรื่องโกนจุกนั้น เมื่อพระเจ้าเชียงใหม่ลงมาอยู่กรุงเทพฯ ทิพเกสรก็ได้บอกให้รู้ เรารับไว้ว่าจะทำขวัญ จึ่งได้ส่งตุ้มหูระย้าเพชรคู่หนึ่งขึ้นมา ให้พระยาราชสัมภารากรนำไปทำขวัญ แต่ต้องชี้แจงให้ทราบว่าธรรมเนียมเจ้าแผ่นดิน ทำขวัญโกนจุกโดยทางราชการนั้นไม่มี เป็นแต่เมื่อบุตรข้าราชการที่ถวายตัวทำราชการอยู่ในวังทูลลาโกนจุก ก็พระราชทานเงินพระคลังในที่ทำขวัญบ้าง แต่บุตรข้าราชการที่ไม่ได้ทำราชการนั้น ต่อทรงพระกรุณาบิดามาก จึงได้พระราชทานบ้างมีน้อยราย แต่ก็เป็นของพระคลังข้างที่ทั้งนั้น ไม่นับว่าเป็นราชการแผ่นดิน จึงไม่ได้มีศุภอักษรส่งของขึ้นมาตามทางราชการ