ค้นหาบทความ 🙄





1/18/66

เพลงหน้าที่เด็ก "เด็กเอ๋ย..เด็กดี ต้องมีหน้าที่ ๑๐ อย่างด้วยกัน" ถือกำเนิดเมื่อใด ?

เพลงหน้าที่เด็ก

องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศปฏิญญาสากล ว่าด้วยหน้าที่ของเด็ก เมื่อพ.ศ. 2498 โดยนาย วี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์ เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ แห่งสหประชาชาติ ได้เชิญชวนให้ทุกประเทศทั่วโลกร่วมจัดงานวันเด็ก

เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ



       โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม  เพื่อเตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ รัฐบาลไทยในขณะนั้น ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี  จึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน   กำหนดให้มีการจัดงาน วันเด็กแห่งชาติ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 

       โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศ ทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตนเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัยที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติและศาสนา 

      โดยประเทศไทยกำหนดจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498

     ในการจัดงานวันเด็กครั้งที่ 9 เมื่อ พ.ศ. 2506 

      คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ได้พิจารณากำหนด “หน้าที่ของเด็ก” ขึ้น ด้วยความหวังให้เด็กได้ตระหนักในหน้าที่ของตนคู่กันไปกับสิทธิที่พึงจะได้รับ และให้ยึดถือเป็นหลักดังต่อไปนี้

1. เด็กพึงมีศรัทธาเลื่อมใสในศาสนา
2. เด็กพึงเคารพ และรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีของบ้านเมือง
3. เด็กพึงเชื่อฟังบิดามารดา ผู้ปกครองและครูอาจารย์
4. เด็กพึงมีกิริยาวาจาสุภาพต่อคนทั่วไป และเคารพนับถือผู้ใหญ่
5. เด็กพึงมีความกตัญญูกตเวที
6. เด็กพึงเป็นผู้มีระเบียบและรักษาความสะอาดเสมอ
7. เด็กพึงมีความมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร และตั้งใจศึกษาหาความรู้
8. เด็กพึงรู้จักประหยัดและเก็บออมทรัพย์
9. เด็กพึงมีความซื่อสัตย์สุจริต กล้าพูดกล้าทำในสิ่งที่ควร และมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
10. เด็กพึงทำตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และรู้จักรักษาสาธารณสมบัติของชาติ

   ครูชอุ่ม ปัญจพรรค์  นักเขียนนวนิยายชื่อดังของไทย ซึ่งขณะนั้น ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ จัดงานวันเด็กแห่งชาติคนหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ ท่านได้นำเนื้อหาเกี่ยวกับหน้าที่ของเด็กดังกล่าวข้างต้น 10 ข้อ มาเรียงร้อยแต่งเป็นกลอนให้คล้องจองกัน และขอให้ ครูเอื้อ สุนทรสนาน  ( ผู้ก่อตั้ง หัวหน้าวงดนตรีสุนทราภรณ์ )    แต่งทำนองให้ โดยใช้ชื่อเพลงว่า “หน้าที่เด็ก”   ... 

       จากนั้นได้มีการนำเพลงนี้ ไปเปิดทางสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ในงานวันเด็กแห่งชาติทุกปีและค่อยๆ ลดความนิยมลงในเวลาต่อมา  ....  

เนื้อเพลง หน้าที่เด็ก



       ในภายหลัง  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ได้พิจารณาเห็นว่า เนื้อเพลงหน้าที่เด็กนี้ มีสาระสอดรับกับการสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ในสังคมไทย อีกทั้งยังเป็นคำสอนที่ร่วมสมัย สอดคล้องกับ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ จึงได้ร่วมกับบริษัท อสมท.จำกัด (มหาชน) จัดทำสปอต เพลงหน้าที่เด็กขึ้นอีกครั้ง เพื่อเผยแพร่ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี 

    ปัจจุบัน เราจะได้ยินเพลงนี้ในช่วงเทศกาลวันเด็กของทุกปี ด้วยคำร้องคุ้นเคยที่ว่า “เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน”   นับว่าเป็นเพลงที่มีเนื้อหาเตือนใจเด็กและเยาวชน เพื่อให้พึงระลึกถึงหน้าที่ของตนที่ควรปฏิบัติได้เป็นอย่างดี


เพลงเด็กดี

เด็กเอ๋ย..เด็กดี ต้องมีหน้าที่ ๑๐ อย่างด้วยกัน
เด็กเอ๋ย..เด็กดี ต้องมีหน้าที่ ๑๐ อย่างด้วยกัน

หนึ่ง...นับถือศาสนา

สอง...รักษาธรรมเนียมมั่น

สาม...เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์

สี่...วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน

ห้า...ยึดมั่นกตัญญู

หก...เป็นผู้รู้รักการงาน

เจ็ด...ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน

แปด...รู้จักออมประหยัด

เก้า...ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ ให้เหมาะกับกาล สมัยชาติพัฒนา

สิบ...บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา

เด็กสมัยชาติพัฒนา จะเป็นเด็กที่พา ชาติไทยเจริญ


เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ.วันเด็ก 2509. พระนคร : โรงพิมพ์ ส. การพิมพ์, 2508.
ประเสริฐ ศรีแสนปาง. เพลงเด็กดี.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/338320

เรียบเรียงโดย
นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร
สำนักหอสมุดแห่งชาติ
 


Admin Bee

Author & Editor

ความรู้รอบตัวสั้นๆ 🌱 Miscellaneous บทความขนาดสั้น เบ็ดเตล็ด เกร็ดความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับ สังคม , ทัศนะ - Social Views , ประวัติศาสตร์ , วัฒนธรรม ,ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แนะนำหนังสือ






เครื่องดื่มมหัศจรรย์ เพื่อสุขภาพที่ดี


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  


“ จุลินทรีย์ โพรไบโอติก ที่มีอยู่ในชาหมัก คอมบูชะ ( Kombucha ) สามารถแก้ไขปัญหาของระบบทางเดินอาหาร และลำไส้”
KOMBUCHA ORIGINAL 101 / by Scoby Do it 💖

    เครื่องดื่มชาหมักเพื่อสุขภาพ คอมบูชา หรือ คอมบูชะ ( Kombucha ) Scoby do it คือ เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้ “จุลินทรีย์” ที่อยู่ในชาหมักที่เกิดจากการหมักชา จะมี สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้ 

   >> ดูเพิ่มเติม 




5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

กองกำลังยุวชนพิทักษ์แดง คืออะไร ?

  กลุ่มเยาวชน ที่มีพฤติกรรม หัวรุนแรง และคลั่ง "ลัทธิเหมาอิสซ์ " (Maoism) ซึ่งมีจุดมุ่งหมาย   คือการ “โค่นล้มพวกลัทธิทุนนิยม และว...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







ป้ายกำกับ / Tag labels

กฎหมาย (3) กฐิน (2) กรรม (4) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (17) กรุงศรีอยุธยา (9) กล้องถ่ายภาพ (6) กลอน (1) กลาโหม (8) การเกษตร (2) การจัดเก็บ (2) การเมือง (27) การศึกษา (99) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (1) เกี่ยวกับสัตว์ (11) ไกลกังวล (1) ขนม (1) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ขันที (1) ข้าว (2) ข่าวสาร (21) ขิง (1) เขมร (9) โขน (2) คณะราษฎร (4) คนเล่านิทาน (13) ครู (4) ความเชื่อ (4) ความรู้ (114) คอมมิวนิสต์ (23) คำภีร์ (1) คำสอน (2) เครื่องบิน (6) เงินตรา (3) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (10) จีน (49) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (2) ญี่ปุ่น (12) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (3) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (2) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (14) แต่งงาน (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (26) ทะเล (2) ทัศนะ (22) ทำบุญ (2) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (12) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรรมชาติ (4) ธรรมะ (2) ธรรมาธิปไตย (1) ธุรกิจ (7) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นางใน (2) นาซี (1) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) แนะนำสินค้า (27) โนรา (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (11) บริการ (2) บริหาร (2) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (40) บุญ (2) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (11) โบราณสถาน (3) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (31) ประท้วง (2) ประเทศไทย (134) ประวัติศาสตร์ (121) ปรัชญาชีวิต (18) ปลูกต้นไม้ (2) ปูติน (1) ผลิต (2) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (2) พม่า (6) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (7) พราหมณ์ (1) พิพิธภัณฑ์ (6) เพชรบุรี (2) เพลง (6) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (2) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (6) ภูมิปัญญา (13) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยิว (2) ยูนนาน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (6) รัชกาลที่7 (6) รัชกาลที่ ๘ (2) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (1) เรื่องเก่า (71) เรื่องเล่า (13) โรค (2) โรคระบาด (3) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (5) โรงเรียน (11) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (1) ล้านนา (2) ลาว (4) เลือกตั้ง (7) โลก (3) โลกร้อน (1) วัด (10) วันสำคัญ (3) วิทยาศาสตร์ (8) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศาสนา (29) ศิริราช (4) ศิลปะ (4) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (2) สงขลา (1) สงคราม (41) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (1) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (1) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (30) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (9) สื่อ (1) สุขภาพ (11) สุภาพจิต (3) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (23) ห้องเรียน (3) เหมาเจ๋อตง (1) เหรียญ (1) อเมริกา (30) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (3) อาหาร (11) อาหารจานโปรด (7) อิตาลี (2) อินเดีย (8) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (91) startup (1) UNESCO (3) xiaomi (1)





Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand