คนไทยทอดกฐินกันทุกวันนี้ ไม่ได้สนใจเรื่องการผลัดเปลี่ยนไตรจีวรของภิกษุ ไม่ได้ติดใจเรื่องการสนับสนุนให้สงฆ์เกิดความสมัครสมานสามัคคีมีน้ำใจร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกันในกิจของสงฆ์ และของเพื่อนภิกษุด้วยกัน ... ทอดกฐินเสร็จ ถามกันว่า "ได้เงินเท่าไร" สนใจแค่นี้
ค่านิยมนี้ครอบงำความคิดของคนทั่วไป
ค่านิยมนี้ครอบงำความคิดของคนทั่วไป
ใครอยากจะเป็นเจ้าภาพทอดกฐิน คิดอยู่เรื่องเดียว - มีเงินพอหรือเปล่า ?
ค่านิยมนี้ครอบงำวัดหลายวัด - ถ้าเงินไม่ถึง อย่ามาจองกฐินวัดอาตมา !! อย่างสุภาพที่สุดก็บอกว่า เปิดโอกาสให้คนที่มีกำลังมากกว่าเถอะโยม... วัดจะได้ประโยชน์มากกว่า ?!
ค่านิยมนี้ครอบงำวัดหลายวัด - ถ้าเงินไม่ถึง อย่ามาจองกฐินวัดอาตมา !! อย่างสุภาพที่สุดก็บอกว่า เปิดโอกาสให้คนที่มีกำลังมากกว่าเถอะโยม... วัดจะได้ประโยชน์มากกว่า ?!
การอาศัยการทอดกฐิน-รับกฐิน-กรานกฐิน เป็นทางแสดงออกถึงความสมัครสมานของสงฆ์ก็พร่ามัวลงไปจนมองแทบไม่เห็น จนในที่สุดก็ไม่มีใครสนใจ
ทอดกฐินได้อานิสงส์แรง ที่เคยถือกันมาแต่กาลก่อน ก็ยังคงถือกันอยู่อย่างเหนียวแน่น แต่น้ำหนักของอานิสงส์เคลื่อนที่จาก ผ้า ไปอยู่ที่ เงิน
“องค์กฐิน” ของคนสมัยก่อนหมายถึงผ้า ที่จะนำไปถวายสงฆ์ (“เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน”-พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔)
ทอดกฐินได้อานิสงส์แรง ที่เคยถือกันมาแต่กาลก่อน ก็ยังคงถือกันอยู่อย่างเหนียวแน่น แต่น้ำหนักของอานิสงส์เคลื่อนที่จาก ผ้า ไปอยู่ที่ เงิน
“องค์กฐิน” ของคนสมัยก่อนหมายถึงผ้า ที่จะนำไปถวายสงฆ์ (“เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน”-พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔)
“องค์กฐิน” ของคนสมัยนี้หมายถึงพุ่มเงินที่แห่ไปในขบวนกฐิน
ที่ว่ามานี้คือภาพรวมที่เป็นความหมายของคำว่า “กฐินข้าคือเงิน”
เรื่องนี้ ถ้าไม่ทำความเข้าใจกันให้ดี เพื่อนก็จะขัดใจกัน นั่นคือ เมื่อเห็นว่ากฐินคือเงิน เช่นนี้แล้ว พอใครมาพูดว่า กฐิน คือผ้า ก็จะถูกมองว่าคนพูดแบบนี้ไม่เห็นความสำคัญของเงิน !!
เขาบอกว่า - กฐินคือผ้า ไม่ได้บอกว่า- เงินไม่สำคัญ
ทำไมคิดไกลไปอย่างนั้นได้ ?
เรื่องนี้จะว่าง่ายก็ง่ายนิดเดียว นั่นคือ แยกเงินออกจากกฐินให้เด็ดขาด กล่าวคือ ...
ทอดกฐิน คือถวายผ้าให้แก่สงฆ์
หาเงิน คือหาเงินให้วัด
แยกกันชัดๆ เป็นคนละเรื่องกันอยู่แล้ว
ไม่มีใครปฏิเสธว่าวัดไม่จำเป็นต้องใช้เงิน หาเงินให้วัดจึงเป็นเรื่องดี จะหาด้วยวิธีไหนก็ช่วยกันหาไป คนที่บอกว่ากฐินคือผ้า ก็ไม่เคยไปคัดค้านขัดขวางการหาเงินเข้าวัด มีแต่จะช่วยหา แม้แต่จะหาเงินด้วยวิธีทอดกฐินนั่นเอง ก็สามารถทำได้ ไม่ได้ขัดข้อง อะไรเลย แต่ต้องไม่ทำให้กฐินเสียหลัก !!!
หลักของกฐินคือ ๑ เจ้าภาพเดียว ๒ ผ้าผืนเดียว ง่ายๆ แค่นี้
ธรรมเนียมการจองกฐิน และคำว่า “กฐินสามัคคี” เป็นพยานยืนยันว่า คนเก่าเขาเข้าใจหลักนี้ดี
ทำบุญอื่นๆ ไม่ต้องจอง ใครมาก่อนทำก่อน มาทีหลังก็ทำได้อีก ใครสะดวกเมื่อไรทำเมื่อนั้น แต่บุญกฐินทำอย่างนั้นไม่ได้ คนหนึ่งทอดแล้ว คนอื่นจะมาทอดซ้ำอีกไม่ได้ นี่คือเหตุผลที่ต้องจอง เพราะจะได้ไม่มาทอดซ้ำซ้อนกัน ทอดซ้ำซ้อนกันไม่ได้ เพราะกฐินมีได้เจ้าภาพเดียว
กฐินสามัคคี-เกิดจากแย่งกันเป็นเจ้าภาพ
เพราะเจ้าภาพมีได้รายเดียว รายหนึ่งได้ทอด รายอื่นๆ อด ถ้ามีเจ้าภาพได้หลายรายจะต้องแย่งกันทำไม เอ็งอยากทอดก่อน ทอดไป เดี๋ยวข้าทอดทีหลังก็ได้ แต่ทอดกฐินทำแบบนั้นไม่ได้ จึงต้องแย่งกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งก็คงทอดได้รายเดียวอยู่นั่นเอง ...
ดังนั้นจึงเกิดความคิด ทุกรายรวมกันเป็นรายเดียว เป็นเจ้าภาพเดียว เท่ากับได้ทอดกฐินหมดทุกราย
นี่คือความหมายเดิมแท้ของคำว่า “กฐินสามัคคี” คือเริ่มต้นด้วยการแย่งกันเป็นเจ้าภาพ แล้วจบลงด้วยการรวมตัวเป็นเจ้าภาพร่วมกัน-เจ้าภาพเดียว
ดังนั้นจึงเกิดความคิด ทุกรายรวมกันเป็นรายเดียว เป็นเจ้าภาพเดียว เท่ากับได้ทอดกฐินหมดทุกราย
นี่คือความหมายเดิมแท้ของคำว่า “กฐินสามัคคี” คือเริ่มต้นด้วยการแย่งกันเป็นเจ้าภาพ แล้วจบลงด้วยการรวมตัวเป็นเจ้าภาพร่วมกัน-เจ้าภาพเดียว
ถ้าทำแบบนี้ เงินก็ยังหาได้ กฐินก็ไม่เสียหลัก ...
แต่ที่ทำกันทุกวันนี้ไม่ได้เป็นแบบนี้ !!!
แบ่งกฐินเป็นกองๆ เป็นคณะๆ เพื่อที่จะได้หาเงินได้มากขึ้น ถึงเวลาถวาย ก็กองใครกองมัน คณะใครคณะมัน น้อมนำเข้าไปถวาย หาเงินได้มาก แต่เสียหลักของกฐิน นี่คือโทษที่มีมูลรากมาจากคติ “กฐินข้าคือเงิน”
โทษอีกอย่างหนึ่งของการตีค่ากฐินเป็นเงิน -เป็นโทษที่นึกไม่ถึง-ก็คือ เท่ากับเป็นการกีดกันคนจนไม่ให้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพทอดกฐินนั่นเอง
คนจน ทำได้อย่างเดียวคือบริจาคเงินตามมีตามเกิด ร่วมสมทบเป็นบริวารกฐิน แต่จะเป็นเจ้าภาพทอดกฐินเองไม่ได้ เพราะมี “กำแพงเงิน” ขวางทางไว้ พอจะไปจองกฐิน ถูกทัก-มีเงินเท่าไร วัดนี้เงินไม่ถึงไม่รับจอง จนแล้วยังไม่เจียมตัว สะเออะจะเป็นเจ้าภาพ ฯลฯ
แม้ไม่พูดออกมาตรงๆ ใจก็คิด ที่ใจคิดก็เพราะถูกครอบงำด้วยคติ - กฐินคือเงิน ทอดกฐินต้องมีเงิน
ถ้าไม่ช่วยกันแยกเงินออกจากกฐิน แต่ยังพากันเห็นกฐินเป็นเงินอยู่อย่างนี้ ในที่สุดกฐินของพระพุทธองค์ก็จะเพี้ยนจนไม่เหลือเนื้อเดิม
ปีหนึ่งมี ๑๒ เดือน กฐินมีเวลาทอดเพียง ๑ เดือน เราทอดกฐินในความหมายเดิม คือถวายผ้าให้สงฆ์ ได้บุญบริสุทธิ์ ทั้งยังรักษากฐินของพระพุทธองค์ให้เป็นกฐินบริสุทธิ์ได้ด้วย เราก็ยังมีเวลาอีกตั้ง ๑๑ เดือนที่จะช่วยกันหาเงินเข้าวัดได้สบายๆ
เจ้าภาพรายใด วัดไหน ทอดกฐินหาเงินเข้าวัดด้วย และไม่ทำให้กฐินเสียหลักด้วย ขอกราบอนุโมทนาสาธุมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
ผู้คนที่มองเห็นกฐินเป็นเงิน เราคงห้ามไม่ได้ แต่ที่พอจะทำได้ก็คือ ขอร้องขอแรงให้ช่วยกันศึกษาหาความรู้เรื่องกฐิน-และทุกเรื่องที่เป็นหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา -ศึกษาไปให้ถึงต้นเรื่องต้นเค้าเดิม จนได้ความรู้ที่ถูกต้องว่าเรื่องเดิมเป็นอย่างไร แล้วช่วยกันเผยแผ่ความรู้นั้นให้แพร่หลายต่อไป
คนที่รู้และเข้าใจแล้ว เมื่อเห็นสิ่งที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน จะได้มองออกบอกถูกว่า ตรงกันหรือต่างกัน กับของเดิมอย่างไร ? ต่อจากนั้น ก็จะสามารถกำหนดท่าทีของตัวเองได้ว่าควรทำอย่างไร หรือไม่ควรทำอย่างไร ...
เวลานี้จุดอับ จุดอ่อน หรือจุดบอดของพวกเราชาวพุทธก็คือ ไม่มีอุตสาหะที่จะศึกษาเรียนรู้ไปให้ถึงต้นเรื่องต้นเค้า แต่ใช้วิธีจับเอาเฉพาะที่เห็นที่ทำกันในปัจจุบัน แล้วตัดสินผิดถูกไปตามความเห็นของตัวเอง เรื่องเพี้ยนๆ จึงเกิดขึ้น คงอยู่ และดำเนินต่อไปไม่จบสิ้น
เมื่อก่อน โครงสร้างการบริหารงานคณะสงฆ์ของเรามีองค์การศึกษา และองค์การเผยแผ่ ซึ่งนับว่าเหมาะสมมาก คือ องค์การศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรเรียนรู้หลักพระธรรมวินัย องค์การเผยแผ่ทำหน้าที่ส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรเผยแผ่ความรู้ที่ได้มาไปสู่สังคม ...
พอเปลี่ยนมาเป็นมหาเถรสมาคม องค์การทั้งหลายที่เคยมีก็สลายตัว ตัวบุคคลที่รับผิดชอบงานก็พร่ามัว การลงมือทำงานก็เลือนราง..
ขอให้ช่วยกันศึกษาหาความรู้ ก็เหมือนพูดกับลม
ขอให้ช่วยกันเผยแผ่ความรู้ที่ได้มาไปสู่สังคม ก็เหมือนพูดกับอากาศ
แม่ทัพนายกองของเรามีครบ
แต่งเครื่องรบพร้อม
แต่ไม่ออกรบ ใครจะทำไม
พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย
๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๕
๑๘:๓๑