ค้นหาบทความ 🙄





7/06/65

กำแพงใบเสมา ของ มธ.ท่าพระจันทร์ และ ม.ศิลปากร

กำแพงของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีลักษณะเป็นใบเสมา เช่นเดียวกับกำแพงของ ม.ศิลปากร วังท่าพระ ด้วยเพราะเป็นเขตพื้นที่ของพระราชวัง การประดับใบเสมา

กำแพงใบเสมา

    
   กำแพงใบเสมา เป็นงานสถาปัตยกรรมที่แสดงให้เห็นถึงฐานานุศักดิ์ของผู้เป็นเจ้าของสถานที่ ว่าเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศระดับเจ้าฟ้าขึ้นไป ซึ่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เป็นตำแหน่งพระอุปราช จึงอยู่ในระเบียบดังกล่าวนี้ 

    เช่นเดียวกัน ม.ศิลปากร วังท่าพระ ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของเจ้านายระดับสูงหลายพระองค์มาก่อนเช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทับ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ร.๓) เป็นต้น 

ม.ศิลปากร วังท่าพระ



  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๗  โดยมีชื่อเดิมว่า “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” (มธก.) 

     ที่ดินผืนนี้ โดยย้อนกลับไปถึงการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีของอาณาจักรสยาม แทนกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้เสด็จปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ และได้ทรงสถาปนาเจ้าพระยาสุรสีห์พระอนุชาเป็น  พระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท หรือ วังหน้า และได้ทรงพระราชทานที่ดินมีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงตอนตะวันตก อนุสาวรีย์ทหารอาสา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน เป็นบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคลหรือที่ประทับวังหน้า ได้มีกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ๖ พระองค์ประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล โดยที่กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ประทับที่พระราชวังแห่งนี้ เป็นองค์สุดท้ายจนเสด็จทิวงคต 

    ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการ "ยุบตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล" และสถาปนาตำแหน่งสมเด็จพระโอรสาธิราช สยามมงกุฏราชกุมารขึ้นแทนใน พ.ศ. ๒๔๒๙  

    ต่อมา พระราชวังบวรสถานมงคล ได้กลายเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จวบจนถึงปัจจุบัน 

      หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕  คณะราษฎรขึ้นมามีอำนาจการปกครอง ได้นำพระราชวังหลายแห่ง มาเป็นสถานที่ราชการ อาทิ วังสวนกุหลาบเป็นทำเนียบรัฐบาล และที่พักของผู้บัญชาการทหารบก วังปารุสกวัน และส่วนหนึ่งของบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งเดิมเป็นที่ดินของทหาร ๔๙  ไร่ก่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ ๒๗ มิ.ย. พ.ศ. ๒๔๗๗ 



Source:

หนังสือมือสอง สภาพดี หนังสือเก่า เก็บสะสม หายาก 


นามานุกรมธรรมศาสตร์ 77 ปี 77 คำ

     เป็นหนังสือ ที่บอกเล่าเรื่องราวใน อดีต และปัจจุบันของมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ เหตุการณ์ ความทรงจำ สิ่งพิมพ์นักศึกษา หน่วยงาน คำขวัญแห่งยุคสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งศูนย์ธรรมศาสตร์ทั้งสี่แห่ง ได้แก่ ท่าพระจันทร์ รังสิต พัทยา และลำปาง

     การคัดเลือกคำทั้ง 77 คำ แม้จะไม่ครอบคลุมทุกเรื่องของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้ก่อตั้งมาครบ 77 ปี ในปีนี้ ( 2554) และมีหลายคำ แม้จะมีคนเคยรู้จัก บางคำอาจลืมเลือนไปแล้ว หรือบางคำรู้อย่างไม่ชัดเจน บางคนก็ไม่เคยรู้มาก่อน....
หลายคำ ... ต้องการตอกย้ำความทรงจำและตระหนักรู้ แต่ทุกคำต้องการสื่อความหมายถึงจิตวิญญาณความเป็นชาวธรรมศาสตร์ ซึ่งโดยเนื้อแท้ แล้วสะท้อนให้เห็นการแสวงหาเสรีภาพ และประชาธิปไตย ของยุคสมัยเสมอมา นามานุกรมธรรมศาสตร์ 77 ปี 77 คำ จึงต้องการบอกผู้อ่านทั้งชาวธรรมศาสตร์ และสาธารณชน ให้รู้จัก ธรรมศาสตร์ที่แม้จะมีหลากมิติและมุมมอง แต่ก็ล้วนบ่งบอกจิตวิญญาณความเป็นธรรมศาสตร์อย่างชัดเจน...

 


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  


 






 

คุณอาจสนใจ

5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (5) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (12) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (7) การจัดเก็บ (3) การปกครอง (1) การเมือง (55) การศึกษา (131) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (3) เกี่ยวกับสัตว์ (15) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (11) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (15) ครัว (1) ครู (6) ความเชื่อ (12) ความรู้ (159) คอมมิวนิสต์ (34) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (17) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (28) ทะเล (3) ทัศนะ (51) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (4) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรณี (1) ธรรมชาติ (10) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (3) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (38) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (7) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (54) ประท้วง (7) ประเทศไทย (178) ประธานาธิบดี (1) ประวัติศาสตร์ (150) ปรัชญาชีวิต (21) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (2) ผลิต (3) ผัก (1) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภัยพิบัติ (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (10) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (6) รัฐประหาร (7) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (81) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (4) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (10) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ละคร (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (3) ล้านนา (3) ลาว (4) ลิง (1) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (2) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (5) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (13) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (38) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (13) สุภาพจิต (6) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) หนู (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (37) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (15) อาหารจานโปรด (8) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) marxism (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand