"สังขานต์" คือ คำเดียวกับ "สงกรานต์" ในภาษาสันสกฤต แปลว่า "ก้าวล่วงแล้ว" วันสังขานต์ล่องในภาษาล้านนา ตรงกับภาคกลาง คือ วันมหาสงกรานต์ ถือเป็นวันสิ้นสุดของปีเก่า
นอกจากนี้ยังมีขบวนแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองคือ พระพุทธสิหิงค์ และพระเสตังคมณี ไปตามถนนต่างๆ และเปิดโอกาสให้ประชาชน เข้ากราบนมัสการและสรงน้ำ
วันในสังขานต์ล่องนี้ ในเมืองเชียงใหม่ จะมีพิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์
เทศกาล"ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง"หรือเทศกาลสงกรานต์ จ.เชียงใหม่ ในวันสังขานต์ล่อง (๑๓ เมษายน) ถือว่าเป็นวันสิ้นสุดของปีและส่งท้ายปีเก่า ชาวเมืองจะได้ยินเสียงประทัดกันตั้งแต่เช้ามืด เสียงประทัดที่ดังนี้ก็เพื่อขับไล่ตัวเสนียดจัญไร มีการทำความสะอาดบ้าน ปัดกวาดหิ้งพระ สรงน้ำพระพุทธรูป (๑) pic.twitter.com/uZZnQREZKt
— 𝘔𝘪𝘴𝘤.𝘛𝘰𝘥𝘢𝘺 |🇹🇭 (@miscthailand) 11 เมษายน 2565
ข้อมูลอ้างอิง / รูปภาพ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ / https://www.finearts.go.th/
ภาพ บุญเสริม สาตราภัยพุทธศักราช ๒๔๙๗
หนังสือสารคดีเล่มนี้ ได้รวบรวมความเป็นมา เกี่ยวกับการเล่าขานถึงตำนาน ผีแม่นาก จากทุกสถานที่ จากหลายยุคสมัย เพื่อมาประติดประต่อเรื่องราว และพิสูจน์ว่าตำนานที่เล่าขานนี้มีมูลความจริงหรือไม่! รวบรวมเรื่องราวและเล่าถึงรายละเอียดต่างๆ อย่างละเอียดลออ โดย เอนก นาวิก มูล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2563