ค้นหาบทความ 🙄






3/24/65

นิทาน [ เรื่องจริง ] เรื่อง "หมากรุก" ตอนที่ ๙ / ๑๐ ส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์การรบ

 
ส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์การรบ

ในยามศึกสงคราม เส้นทางคมนาคมขนส่ง เป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์การรบ จีน รัสเซีย มองไกลนะครับ อยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ คิดอาศัยเส้นทางทางเรืออย่างเดียว ก็เข้าทางเขา


ในยามศึกสงคราม เส้นทางคมนาคมขนส่ง เป็นส่วนสำคัญ

บทความโดย "คนเล่านิทาน"
fb ; https://www.facebook.com/arque.you


นิทานเรื่องจริง
เรื่อง "หมากรุก"
ตอน ๙/๑๐

ส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์การรบ 

จีนไม่ได้วางระบบเส้นทางรางรถไฟอย่างเดียว


       คน และสินค้าไปมาได้ ก็ต้องมีเส้นทางให้น้ำมันและแก๊สส่งไปมาได้ด้วย จีนทำสัญญาสร้างท่อส่งน้ำมันและแก๊ส จากเกือบทุกแหล่งพลังงานในยูเรเซีย มาสู่แหล่งชุมชน และอุตสาหกรรมในจีน ทางส่วนเหนือ ส่วนกลาง และตะวันออกเฉียงใต้ การสร้างเริ่มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน สร้างไปได้ 10 ปี ค.ศ.2009 China National Petroleum Corporation (CNPC) หน่วยงานที่ดูแลด้านพลังงาน ซึ่งเป็นของรัฐ ก็ทำพิธีเปิดท่อส่งน้ำมัน เส้นทางจากท้องน้อยรัสเซีย คาซัคสถาน-จีน ระยะทางสุดท้าย เป็นท่อส่งเส้นทางยาว 1,400 ไมล์ จากทะเลสาปแคสเปียนมาถึงซินเจียง

       CNPC ยังร่วมมือกับท้องน้อยรัสเซียอีกราย คือ เติร์กเมนิสถาน สร้างท่อส่งแก๊สยาว 1,200 ไมล์ ขนานคู่มากับเส้นของ คาซัคสถาน เป็นการนำพลังงานจากภูมิภาคเดียวกันมาสู่จีน เป็นเติร์กเมนเดียวกัน กับที่ไม่ยอมร่วมรายการกับ Nabucco นั่นแหละ

....แบบนี้ อเมริกา ก็หน้าแหก อีกสิ ครั้งที่เท่าไหร่ จำไม่ได้แล้ว มันแยะจัง

      นอกจากนี้ จีนยังสร้างท่อส่งจากอ่าวเบงกอล ผ่านพม่า ข้ามไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เส้นทางยาวถึง 1,500 ไมล์ เพื่อส่งน้ำมัน ที่จีนซื้อจากตะวันออกกลางและพม่า เพื่อเลี่ยงการถูกรัดคอ จากการใช้เส้นทางส่งน้ำมันทางเรือ ผ่านช่องแคบมะละกา ที่ลูกหาบของอเมริกาคุม - ( อาเฮียรอบคอบนะ )  และรายการท่อส่งแก๊สบันลือโลก ระหว่างรัสเซียกับจีน มูลค่า 400 พันล้าน อายุ 30 ปี ที่ Gazprom ของรัสเซีย ที่คุณพี่ปูตินตั้งใจจะส่งให้อาเฮียเพื่อนรักอุ่นทั้งปี ด้วยการส่งแก๊ส ปีละ 38 พันล้านคิวบิกเมตร ท่อส่งนี้เป็นเครือข่ายที่ยาวจากไซบีเรีย ไปถึงแมนจูเรีย

       ระบบท่อส่งของจีน เมื่อรวมกับเครือข่ายท่อส่งของรัสเซีย ที่แผ่กว้างขึ้นบนลงล่างยาวไปถึงยุโรปส่วนต่างๆ และมาต่อกับตะวันออกกลาง เข้าเครือข่ายท่อส่งของอิหร่านแล้ว เครือข่ายท่อส่งของพันธมิตรด้านรัสเซียจีนอิหร่าน ซึ่งตอนนี้น่าจะนับรวมปากีสถาน ที่เขาว่าได้แหกคอก ออกมาจาก "แก๊งใบตองแห้ง" เรียบร้อยแล้ว น่าจะทำให้เห็นว่า การเดินหมากของฝ่ายรัสเซีย จีน บวก อิหร่าน โดยการสร้างเครือข่ายท่อส่ง และระบบขนส่งทางบก สร้างเครือข่ายทางรถไฟความเร็วสูง เป็นการเดินหมากยุทธศาสตร์ที่สร้างการเชื่อมโยง สร้างความเจริญ สร้างรายได้ และสร้างสัมพันธ์ระหว่างกัน ระหว่างผู้ที่อยู่ในบริเวณ World Island... ขณะเดียวกัน ก็เป็นการสร้างพลัง อำนาจต่อรอง และความกดดัน ได้อย่างน่าสนใจด้วย

   และในยามศึกสงคราม เส้นทางคมนาคมขนส่ง เป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์การรบ จีน รัสเซีย มองไกลนะครับ อยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ คิดอาศัยเส้นทางทางเรืออย่างเดียว ก็เข้าทางเขา
.. แต่ยุทธศาสตร์ของฝ่ายรัสเซียจีน ไม่ได้มีเพียงเครือข่ายท่อส่งและราง

ในขั้นตอนที่ 2  ของการสร้างตามยุทธศาสตร์ รัสเซีย จีน ยังสร้างเครือข่ายด้านเศรษฐกิจการค้า ด้วยยุทธศาสตร์จับมือกันรอด จับมือกันรวย ด้วยการสร้าง "เครื่องคานอำนาจ" ทางเศรษฐกิจอีกด้วย

รัสเซีย-จีน ตั้งกลุ่ม SCO เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ในปี ค.ศ.2001 นำโดยจีน รัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กีสถาน ทาจิกีสถาน และอุซเบกีสถาน
     นอกจากนี้ยังมีผู้ร่วมสังเกตุการณ์ เช่นอิหร่าน เบลารุส มองโกเลีย อาฟกานิสถาน ปากีสถาน และอินเดีย และการที่รัสเซียและจีน สร้างราง สร้างท่อส่งข้ามทวีปได้ ส่วนใหญ่ก็เป็นความร่วมมือระหว่าง กลุ่มเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ด้วยกัน โดยเฉพาะจากพวกท้องน้อยทรงเสน่ห์ ที่ตอนนี้ ยังรอดตัวจากการถูกทุบจากอีกฝ่าย  นอกจากนี้ เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.2014 จีนยังประกาศการก่อตั้ง ธนาคารเพื่อการลงทุนพัฒนาสาธารณูปโภคของเอเซีย ( Asian Infrastructure Investment Bank  ) หรือ ไออิบ AIIB มันเป็นทางเลือก สำหรับประเทศที่ต้องการกู้เงินเพื่อมาพัฒนา และผลจากการพัฒนาตกอยู่กับประเทศนั้น ...

--  " ไม่ใช่เดินเข้าไปกู้เงินธนาคารไหน แล้วดันถูกธนาคารที่ให้กู้ ต้มคนกู้จนฉิบหายล้มละลายแทบต้องขายประเทศ อย่างที่ World Bank, IMF ทำกับทั่วโลก กู้ไปกู้มา คนกู้เจ๊งหนักไปกว่าเดิม แล้วจะไปกู้ทำไม ?? "


      ไออิบ AIIB  มี 14 ประเทศมาร่วมด้วย แม้กระทั่งพวกลูกหาบฝั่งอเมริกา เช่น เยอรมัน , อังกฤษ ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ก็มา ( แต่ผม ที่ไม่เชื่อใจพวกตะวันตกง่ายๆ ก็ยังตะขิดตะขวงใจ มาร่วมทำไม (วะ) มันคงมองเห็นโอกาสที่จะใช้หม้อใบใหม่ต้มต่อ  .... แต่ ก้าวสำคัญของจีนคือ แผนการสร้างราง สร้างท่อส่ง และถนน จากจีนทางด้านตะวันตก ไปสุดทางที่กวาดาร์ Gwadar ของปากีสถาน เพื่อเตรียมไว้เป็นท่าเรือ ที่จีนอาจจะใช้ในการทหารได้ในอนาคต

    ... เป็นการมองการณ์ไกล และเป็นการเดินหมากรุก ที่จีนกล้าเล่น เพราะปากีสถาน ก็มีชื่อว่า "เคย" อยู่ในกำมือของอเมริกา ไม่ต่างกับ หมากตุรกี ที่รัสเซียกำลังเล่น ทั้งๆ ที่รู้ว่า ตุรกี ก็มีหลายหัว...



สวัสดีครับ
คนเล่านิทาน

30 ธ.ค. 2558

หมายเหตุ / เครดิต และอ้างอิง

  • บทความโดย "คนเล่านิทาน"
  • หมายเหตุ : เชิญแชร์กันตามสบาย ถ้าไม่ใช่เพื่อการค้า และโปรดให้เครดิตด้วย
  • ภาพประกอบจาก google

คลิ๊กอ่าน ตอนอื่นๆ 🔍
นิทานเรื่องจริง ทั้ง ๑๐ ตอน

โดย : 👨‍🦳 ลุงเล่านิทาน

  BOOKs OF THE DAY


หนังสือ : ความลับระบบเทรด 
Trade Your Way to Financial Freedom

เพราะระบบเทรดมันไม่ใช่เพียงแค่สัญญาณซื้อขาย มันยังประกอบไปด้วยเรื่องสำคัญอีกมากที่เราไม่ได้นึกถึงกัน ทั้งการออกแบบเป้าหมายให้เหมาะสมกับตัวเอง บริบทในชีวิต เลือกสไตล์การเทรดที่ใช่ และเรื่องสำคัญที่สุดอย่างขนาดการเทรด ระบบที่ใช้การโยนเหรียญมั่วๆ อาจสามารถทำเงินได้อย่างต่อเนื่องด้วยซ้ำถ้าออกแบบปัจจัยเหล่านี้ให้ดีพอ     >> ดูเพิ่มเติม



Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  


 






 

คุณอาจสนใจ

5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (7) การจัดเก็บ (3) การปกครอง (1) การเมือง (53) การศึกษา (131) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (3) เกี่ยวกับสัตว์ (14) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (15) ครัว (1) ครู (6) ความเชื่อ (12) ความรู้ (155) คอมมิวนิสต์ (33) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (16) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (28) ทะเล (3) ทัศนะ (49) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรณี (1) ธรรมชาติ (10) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (3) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (38) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (54) ประท้วง (7) ประเทศไทย (176) ประธานาธิบดี (1) ประวัติศาสตร์ (148) ปรัชญาชีวิต (21) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (2) ผลิต (3) ผัก (1) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภัยพิบัติ (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (7) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (4) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (10) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (3) ล้านนา (3) ลาว (4) ลิง (1) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (2) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (5) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (37) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (14) สุภาพจิต (6) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) หนู (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (37) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand