หนึ่งในสมรภูมินองเลือดสุดโหด ในหน้าประวัติศาสตร์ สงครามเกาหลีเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายหลังจากที่ประเทศเกาหลีถูกแบ่งด้วยเส้นขนานที่ 38 ออกเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
187th US Regimental Combat Team in Korea, May 1951. (Photo Credit: Keystone / Getty Images)
- กองทัพเกาหลีเหนือ ได้เปิดสงครามด้วยการบุกโจมตีเกาหลีใต้ แบบสายฟ้าแลบ
ในขณะที่เกาหลีใต้นั้นยังไม่มีกองทัพที่มีขีดความสามารถพอในการทำสงครามต่อสู้ .. รัฐบาลเกาหลีใต้ในขณะนั้นจึงได้ร้องขอไปยังกองกำลังสหประชาติ หลังได้รับคำร้องขอ ประเทศในกลุ่มสหประชาชาติ ได้ส่งทหารเข้าร่วมรบหลายประเทศ รวมไปถึงประเทศไทย ที่ส่งทั้งกำลังทหารเข้าร่วมรบ และความช่วยเหลือด้านอาหารให้กับเกาหลีใต้
ระหว่าง สงครามเกาหลี มีสมรภูมิการรบเกิดขึ้นมากมาย และสำหรับกองทัพไทยที่ส่งทหารเข้าร่วมนั้น หนึ่งในสมรภูมิสำคัญคือการรบที่ เนินพ็อคช็อป () ที่ซึ่ง “กองพันพยัคฆ์น้อย” ของประเทศไทย ได้ไปสร้างวีรกรรมเอาไว้จนเป็นที่เลื่องชื่อจนมาถึงปัจจุบัน
เนินเขาพอร์คชอป เป็นเนินเขาสูงประมาณ 255 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นพื้นที่ที่สามารถควบคุมเส้นทางหลักที่จะเข้าสู่เมือง ชอวอน และเป็นพื้นที่สูงข่มบริเวณแม่น้ำอิมจิน ซึ่งสามารถเดินทางไปยังกรุงโซล (เมืองหลวงของเกาหลีใต้) และกรุงพยองยาง (เมืองหลวงของเกาหลีเหนือ) ได้
เนินเขาพอร์คชอปจึงกลายเป็นภูมิประเทศสำคัญ ที่ทั้งสองฝ่ายต้องห้ำหั่นแย่งกันเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ของตนเอง ในขณะนั้น กองพันทหารราบอิสระ กรมผสมที่ 21 (กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ในปัจจุบัน) ภายใต้การบังคับบัญชาของ พันโท เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้รับคำสั่งให้รักษาเนินเขาพอร์คชอปไว้
และในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2495 เสียงระเบิดลูกแรกดังขึ้นจากปืนใหญ่ขนาด 155 มม. ของฝ่ายกองกำลังคอมมิวนิสต์ ที่ได้เปิดฉากยิงใส่ทหารไทย ที่ประจำการอยู่บนเนินพอร์คช็อป และถึงแม้จะมีการดัดแปลงที่มั่นไว้เพื่อรับมือการโจมตีจากข้าศึกแล้วก็ตาม แต่ด้วยการยิงถล่มจากปืนใหญ่ของข้าศึก ทำให้ฐานที่มันของทหารไทยเสียหายอย่างหนัก แต่ทว่า ขวัญกำลังใจของทหารไทย ยังดีเยี่ยม ภายใต้การดูแลของผู้บังคับบัญชา จากนั้นกองกำลังคอมมิวนิสต์ได้ทำการบุกเข้าตีเนินเขาพอร์คชอปเป็นระรอกแรก ทหารไทยได้ต่อสู้ อย่างสุดความสามารถจนสามารถเอาชนะข้าศึกไปได้ ...
การรบดำเนินไปอย่างยาวนานถึง 10 วัน จนถึงคืนวันที่ 10 พฤศจิกายนเวลา 23.00 น. ข้าศึกยกกำลังเข้าตีเนินพอร์คชอปครั้งที่ 5 เป็นระรอกที่หนักที่สุด
กองกำลังคอมมิวนิสต์ได้ทุ่มเทกำลังมากที่สุด เพื่อทำการเข้าตีครั้งใหญ่ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ระดมยิงปืนใหญ่และลูกระเบิดอย่างหนัก พร้อมระดมทหารราบเข้าตีจากทุกทิศทาง ฝ่ายทหารไทยต้องร้องขอปืนใหญ่จากจากกรมทหารราบที่ 9 สหรัฐฯ ให้ช่วยยิงสกัดกั้น และได้ยิงต่อสู้กับทหารกองกำลังคอมมิวนิสต์อย่างดุเดือด แต่ด้วยกำลังพลจำนวนมาก ข้าศึกจึงสามารถเล็ดลอดเครื่องกีดขวางจนบุกเข้ามาถึงฐานที่มั่นได้ แต่ทหารไทยก็ไม่ยอมแพ้ เข้าต่อสู้กับข้าศึกในระยะประชิดถึงขั้นใช้ดาบปลายปืน การรบดำเนินไปอย่างดุเดือดยาวนานกว่า 2 ชม. จนกระทั่งเวลา 01.30 น .ของวันที่ 11 พฤศจิกายน 2495 เสียงปืนจึงสงบลง กองกำลังคอมมิวนิสต์ไม่สามารถยึดเนินพอร์คชอปที่ทหารไทยรักษาไว้ได้ จึงได้ถอนตัวออกไปในที่สุด ผลการรบเนินพอร์คชอปนี้ทหารไทยสูญเสีย 23 นาย บาดเจ็บ 76 นาย
จากการรบครั้งนั้น พ.ท. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้รับเหรียญกล้าหาญระดับ Legion Of Merit จากสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นยังมีทหารในหน่วยได้รับเหรียญกล้าหาญระดับ Silver Star 12 นาย และระดับ Bronze Star อีก 26 นาย
ตลอดระยะเวลาของสงครามเกาหลี ที่กินเวลาตั้งแต่ 22 ต.ค. 2493 ถึง 23 มิ.ย. 2515 ประเทศไทยส่งทหารรวมทั้งสิ้น 23 ผลัด จำนวน 11,776 นายเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลเพื่อช่วยป้องกันอธิปไตยให้ประเทศเกาหลีใต้ ทำให้เกาหลีใต้ซาบซึ้งในการกระทำของทหารไทย และได้สร้างอนุสาวรีย์ทหารไทย (Thai Soldier Monument) ที่เมืองโปซอน จังหวัดคยองกี และได้จัดพิธีรำลึกเพื่อเป็นเกียรติทุกๆ ปีมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้นประเทศเกาหลีใต้ยังได้เปิดฟรีวีซ่า ให้คนไทยทุกคนสามารถเดินทางเข้าประเทศเกาหลีได้นานถึง 90 วัน โดยไม่ต้องขอวีซ่าอีกด้วย เพื่อตอบแทนมิตรภาพที่ประเทศไทยช่วยเหลือเกาหลีใต้ในยามสงคราม นอกจากนี้ทางรัฐบาลเกาหลีใต้ได้มีนโยบายผ่านทางสถานทูตเกาหลีใต้ในประเทศไทย ให้ติดต่อเสาะหาบรรดาทหารผ่านศึกเกาหลี ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และเสียชีวิตไปแล้ว เพื่อให้ความช่วยเหลือดูแลสิทธิ์สวัสดิการต่างๆ รวมไปถึงมอบทุนการศึกษาให้แกบุตรหลานทหารผ่านศึกเหล่านี้โดยร่วมกับสมาคมทหารผ่านศึกเกาหลีในพระบรมราชูปภัมป์
ข้อมูลอ้างอิง : SMART Soldiers Strong ARMY
https://www.warhistoryonline.com
![](https://emojipedia-us.s3.amazonaws.com/source/skype/289/honeybee_1f41d.png)
สั่งซื้อ หนังสือ ทางออนไลน์
UNKNOWN WARRIORS 333 มาจากชื่อหน่วยบังคับบัญชา ของทหารไทยในสงครามลาวครั้งนั้น คือ “กองบัญชาการ ผสม 333″ หรือเรียกย่อๆ ว่า “บก.ผสม 333″ ส่วนคําว่า “นิรนามในที่นี้หมายถึงสงครามในลาวเป็นสงครามลับ เพราะมีข้อตกลงเจนีวาระบุว่า ห้ามประเทศ อื่นใดเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของลาว