ปลานิล (Tilapia Nilotica) มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่แม่น้ำไนล์ ทวีปแอฟริกา นำเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งปลานิลเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว เนื่องจากสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ทรงเห็นว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระราชหฤทัยในการหาสัตว์น้ำที่ให้โปรตีนสูง ในการที่จะเพาะพันธุ์เพื่อพระราชทานแจกจ่ายให้กับประชาชนไว้บริโภค
ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ ว่า “ปลานิล” โดยทับศัพท์จากชื่อวิทยาศาสตร์ คือ ออกเสียงตามพยางค์ต้นของชื่อพันธุ์ปลา “Nil” จาก “Nilotica” และได้พระราชทานพันธุ์ที่ทรงเพาะเลี้ยงกว่า 1 หมื่นตัว แก่กรมประมง เพื่อนำไปให้สถานีประมงจังหวัดต่าง ๆ เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์แจกจ่ายให้ประชาชนนำไปเลี้ยง พร้อมกับปล่อยลงในแหล่งน้ำทั่วไปให้ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ เพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีนของชุมชนสำหรับการบริโภคต่อไป
ลักษณะทางกายภาพของปลานิล ซึ่งคล้ายกับปลาหมอเทศ แต่ตัวใหญ่กว่า ให้เนื้อมากกว่า มีความนุ่ม กลิ่นคาวน้อยกว่า และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ทำให้เกษตรกรหันมานิยมเลี้ยงปลานิลอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ
Tweet
ลักษณะทางกายภาพของปลานิล ซึ่งคล้ายกับปลาหมอเทศ แต่ตัวใหญ่กว่า ให้เนื้อมากกว่า มีความนุ่ม กลิ่นคาวน้อยกว่า และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ทำให้เกษตรกรหันมานิยมเลี้ยงปลานิลอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ
อ่านเพิ่มเติม >> จากปลานิล 50 ตัว สู่สัตว์น้ำเศรษฐกิจ “หมื่นล้าน” ที่สำคัญของคนไทย