กลุ่มนักศึกษาฝ่ายซ้ายชาวกัมพูชา ที่ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลให้มาศึกษาต่อที่ฝรั่งเศส ในช่วงทศวรรษที่ 1950 พวกเขาได้ร่วมกันจัดตั้งขบวนการคอมมิวนิสต์ขึ้นในฝรั่งเศส
และได้แยกย้ายกลับไปกัมพูชาเพื่อสร้างฐานอำนาจแข่งกับกลุ่มของนโรดม สีหนุ (ฝ่ายกษัตริย์) และกลุ่มอำนาจของลอนนอล (ฝ่ายสาธารณรัฐ) จุดเริ่มต้นของ ประวัติศาสตร์แห่งการนองเลือดโดยขบวนการเขมรแดง ได้เริ่มต้นขึ้นจากจุดนี้ !!!“จงโกรธแค้น ลุกขึ้นปฏิวัติ
ทำลายสิ่งที่เป็นอยู่ แล้วสร้างใหม่”
วาทะกรรม การปลุกระดม โดยใช้พลังมวลชน เยาวชน เป็นเครื่องมือแนวทางของลัทธิคอมมิวนิสต์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นคอมมิวนิสต์โซเวียต หรือ เหมาอิสต์
ปี พ.ศ. 2518 รัฐบาลลอนนอลได้ถูกโค่นล้มโดยกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์แห่งกัมพูชา หรือที่รู้จักกันในนาม “เขมรแดง” (Khmer Rouge) ในครั้งแรกที่เขมรแดงเข้ายึดกรุงพนมเปญได้นั้น ประชาชนต่างรู้สึกยินดีเพราะคิดว่าการมาของกลุ่มเขมรแดงจะนำพาความสงบมาให้ประเทศ ตามนโยบายของเขมรแดงที่ต้องการ โดดเดี่ยวทางการทูตของตนเอง แต่ทว่าสิ่งที่ตามมากลับตรงกันข้าม !!!
เมื่อประเทศกัมพูชาตกอยู่ภายใต้อำนาจของ “พลพต” (Pon Pot)
ผู้มีแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์สุดโต่ง เขามีความเชื่อว่า
ระบบสังคมนิยมจะทำให้กัมพูชากลับมารุ่งเรืองอีกครั้งเหมือนในอดีต
โดยประเทศควรจะอยู่อย่างสันโดษ ไม่พึ่งพาวิทยาการทันสมัยใด ๆ
ขอแค่มีอาหารเพียงพอก็อยู่ได้ เขาจึงกวาดล้างเหล่าปัญญาชนทั้งหลาย
ซึ่งมีทีท่าว่าจะตั้งตนเป็นปฏิปักษ์กับแนวคิดของเขา ไม่ว่าจะเป็น หมอ
พยาบาล ครู นักเขียน ศิลปิน ข้าราชการจากรัฐบาลก่อนหน้า และอีกหลาย ๆ อาชีพ
ถึงขั้นกล่าวกันว่า “คนใส่แว่นสายตา”
ที่ดูเหมือนเป็นผู้มีความรู้จะถูกฆ่าอย่างไร้เหตุผล
เพราะเขาต้องการให้กัมพูชา “มีแต่ชนชั้นกรรมาชีพ”
เพื่อสร้างปัจจัยการผลิตสู่ประเทศ
และเสริมสร้างฐานอำนาจตนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
ผู้คนที่ถูกหลอก ด้วยวาทะกรรม "ความเท่าเทียม" โดยให้ออกจากเมือง ถูกพามาใช้แรงงานเป็นเกษตรกรเยี่ยงทาส
โดยไม่มีการหยุดพักและแทบไม่มีอาหารในการบริโภค
เขมรแดงได้ปฏิบัติต่อประชาชนเหล่านี้อย่างป่าเถื่อนและเลวร้าย
ตลอดสี่ปีที่กัมพูชาตกอยู่ภายใต้การปกครองของเขมรแดง
มีผู้เสียชีวิตทั้งจากการถูกฆ่า อาการป่วย และการทำงานหนักเป็นจำนวนมหาศาล
จนเป็นที่มาของการกำเนิด “ทุ่งสังหาร” และ “คุกตวลสเลง”
อันเลื่องชื่อเรื่องความโหดเหี้ยมอำมหิต
ชนิดแทบไม่มีใครอยากเชื่อว่านี่คือสิ่งที่มนุษย์กระทำกับเผ่าพันธุ์ตนเอง
บทความพิเศษ เกี่ยวกับ “ทุ่งสังหาร” และ “คุกตวลสเลง”
S-21 ประตูสู่ความหลุดพ้น ตอนที่ ๑
หากคุณเคยได้เรียนรู้ หรือได้ยินประวัติศาสตร์ของ เขมรแดง ในช่วงเวลาหนึ่ง คุณอาจจะยังไม่สามารถเข้าใจได้ถึงการสูญสิ้นของ “อิสรภาพ เสรีภาพ และภราดรภาพ” … ตามหัวข้อเรื่อง จนกว่าคุณจะได้ไปเยือน Security Office 21 (S-21) หรือ พิพิธภัณฑ์ตวลสเลง ( Tuol Sleng Genocide Museum ) สถานที่จองจำ , สอบสวน , ทรมาน และบีบคั้นผู้บริสุทธิ์นับหมื่นชีวิต
S-21 ถึง ทุ่งสังหาร ประตูสู่โลกหน้า ตอนที่ ๒
หลังจากที่ นายพล พล พต ได้รับอำนาจในวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๘ สิ่งแรกที่รัฐบาลของพลเอก พล พต ทำคือ การกวาดต้อนประชาชนชาวกัมพูชาที่อาศัยอยู่ในกรุงพนมเปญออกไปสู่ชนบท ท่ามกลางความยินดีปรีดาของประชาชนชาวกัมพูชาที่คิดว่า การปฏิวัติของผู้นำเขมรแดงในครั้งนี้ จะทำให้ชีวิตดีขึ้น !!!?? มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทุกคนต่างได้รับความเท่าเทียมกัน ต่างคนต่างส่งเสียงยินดี โห่ร้องอย่างมีความสุขไปทั้งเมือง แต่หารู้ไม่ว่าภายใน ๓ ชั่วโมงนับจากนั้น ภาพของนรกก็มาเยือนทุกคนอย่างที่ไม่ทันได้ตั้งตัว !!!!
จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องศึกษาอดีต เพื่อให้รู้เท่าทันกลุ่มผู้ไม่หวังดีที่พยายามยัดเยียดวาทกรรม “ทำลายสิ่งที่เป็นอยู่ แล้วสร้างใหม่” ให้กับเยาวชนแล้วหลอกใช้พวกเขาเป็นเครื่องมือ ซึ่งแนวทางเหล่านี้คือสิ่งที่ขบวนการคอมมิวนิสต์ได้เคยสร้างความพินาศย่อยยับให้เกิดขึ้นมาแล้ว และสุดท้ายบันทึกการเคลื่อนไหวทางการเมืองของไทยในปัจจุบัน จะเดินทางซ้ำรอยประวัติศาสตร์แห่งการสูญเสียในอดีตหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับทุกคนว่าจะเขียนให้มันเดินไปในทิศทางใด
ข้อมูลโดย https://www.luehistory.com
https://www.bagindesign.com/
คลิ๊ก เพื่อ >> ค้นหาเกี่ยวกับ คอมมิวนิสต์