ค้นหาบทความ 🙄





6/14/63

ซื้อรถยนต์สักคัน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?

สวัสดีครับ สำหรับ Diary Misc. วันนี้ จะมาเขียนเรื่อง ถอยซื้อรถยนต์สักคัน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?

      แอดมินเชื่อว่า มากกว่าร้อยละ 90% (ของคนที่ไม่เคยมีรถยนต์ส่วนตัว) ย่อมอยากจะมีรถยนต์สักคันไว้ใช้อย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลของแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป  ซึ่งมีข้อมูลหนึ่ง สำหรับคนไม่เคยมีรถยนต์ส่วนตัวใช้ อาจจะยังไม่รู้หรืออาจจะรู้บ้างเล็กๆน้อย และก็มักจะมองข้ามข้อมูลนี้ไปในขั้นตอนการพิจารณาตัดสิน ซื้อ หรือผ่อน รถยนต์ส่วนตัวไว้ใช้  นั่นก็คือ ค่าใช้จ่ายของ “รถยนต์” 

ค่าใช้จ่ายของ “รถยนต์” มีอะไรบ้าง มาดูกันครับ

1 ค่าใช้จ่าย เงินดาวน์
2 ค่างวดผ่อนชำระ
3 ค่าประกันภัยรถยนต์
4 ค่าประกันภัย พรบ.
5 ค่าภาษี
6 ค่าเชื้อเพลิง
7 ค่าบำรุงรักษา
8 ค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ

แอดมินรวบรวมได้ 8 ข้อ คราวนี้ เราลองมาถอดค่าใช้จ่ายทั้ง 8 ข้อ นี้ ว่ามีอะไรบ้าง และพร้อมยกตัวอย่าง การผ่อนรถยนต์ 1 คัน ราคา 540,000 บาท แล้วกัน … ดาวน์ 30% ผ่อนชำระสัก 36 งวด ( 3 ปี ) ควบคู่กันไป จะได้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น


1 ค่าใช้จ่ายเงินดาวน์


ดาวน์น้อย ผ่อนนาน บานตะไท

ดาวน์มาก ผ่อนน้อย ค่อยๆไป

ดาวน์ 0% ผ่อนหนักและนาน พาลวิงเวียน คล้ายจะเป็นลม


 ( ไม่ค่อยคล้องจองหรอก แต่จะพยายามเทียบเคียงให้เห็นภาพก็เท่านั้นเองครับ)

   
    โดยปกติ สัดส่วน ราคาดาวน์รถยนต์ จะถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐานคือ 30% ของราคารถยนต์ นั่นก็เพราะจะได้เหลือค่างวดเบาบางลงไป นั่นเองครับ จากตัวอย่าง ดาวน์ไว้ 30% คือ 162,000 บาท คือ คุณจะต้องมีเงินก้อนนี้รอไว้เลยครับ กฎเหล็กคือ ควรจะเป็นเงินเก็บออม ไม่ใช่เงินที่กู้ยืมมานะครับ ไม่งั้นพังนะครับ

    คราวนี้ ตั้งแต่ข้อ 2 เป็นต้นไป ต้องพิจารณาให้ดีๆนะครับ เพราะจะเป็นภาระทุกระยะ ไม่ว่าจะระยะสั้น ระยะยาว หรือ ระยะที่พ้นการผ่อนชำระแล้วก็ตาม

2 ค่างวดผ่อนชำระ : ภาระอันแสนยาวนาน 3 ปี

   จากตัวอย่าง จะมีค่างวด ผ่อนชำระ คำนวณจากราคารถยนต์ ดาวน์ 30% และดอกเบี้ยที่ 5% ไว้ที่ 12,000 บาท ( 36 งวด หรือ 3 ปี ) นั่นก็เท่ากับว่า เวลาเงินเดือนออก ค่าใช้จ่ายนี้ จะต้องพร้อมจ่ายออกไป ( อยากให้นึกในใจนะครับ ว่าเราเงินเดือนเท่าไหร่ … จ่ายตรงนี้ไปแล้ว เหลือเท่าไหร่ พอกินพอใช้อย่างอื่นมั้ย … หากพอ หรือ ปริ่มๆ เอาน่า ไหวน่า … ก็อ่านข้อต่อไปครับ )

ค่าใช้จ่ายขณะนี้

12,000 บาท / เดือน +


3 ค่าประกันภัยรถยนต์

    สิวๆ 1 ปีจ่ายครั้งเดียว น้องเซลล์ ใจดี แถมฟรีประกันภัยให้ตอนซื้อแล้ว จะกลัวอะไรล่ะ   ครับ …. เชื่อว่า โปรโมชั่นฟรีประกันภัยชั้น 1 นี่ มีให้เกือบทุกค่ายแหละครับ แต่ 1 ปี นะครับ ไม่ใช่ 3 ปี หรือตลอดไป เอาล่ะ อย่างน้อยๆ ก็น่าจะช่วยลดภาระได้บ้างล่ะ …. ไหนๆ ว่ามา ต้องจ่ายเท่าไหร่ ?

    จากขนาดรถยนต์ และราคารถ เลือกประกันชั้น 1 ไปเลย ค่าใช้จ่ายต่อปี จะอยู่ราวๆ 12000 บาท แล้วกัน หารออกมาเป็นค่าใช่จ่ายรายเดือนแล้ว จะอยู่ราวๆ 1200 บาท/เดือน

ค่าใช้จ่ายขณะนี้

ค่างวด 12,000 บาท +
ค่าประกันภัย 1,200 บาท +
>> รวม 14,000 บาท / เดือน


5 ค่าภาษีรถยนต์ ประจำปี …

    ฉันจ่าย Vat 7% แล้ว นะ 5555 ยังจะต้องจ่ายภาสงภาษี อะไรอีกล่ะ

     คำนวณอัตราอายุรถยนต์ 1-5 ปี ตามประเภทและขนาดรถยนต์ที่ยกตัวอย่าง จะ มีภาษีอยู่ที่ 1650 บาท/ปี หารเฉลี่ยออกมาเป็นรายเดือน = 137 บาท/เดือน … จัดไป สิวๆ ชานมไข่มุก ยังแพงกว่าอีก

ค่าใช้จ่ายขณะนี้

ค่างวด 12,000 บาท +
ค่าประกันภัย 1,200 บาท +
ค่าประกัน พรบ. 50 บาท +
ค่าภาษีประจำปี 137 บาท +
>>>  รวม 14,187 บาท / เดือน

6 ค่าเชื้อเพลิง : ( น้ำมัน หรือแก๊ส )

     วันๆ ก็ขับไปทำงาน เช้ากลับเย็น นานๆที ก็อาจจะขับไปเที่ยวต่างจังหวัด ไม่บ่อยหรอก … ไม่เท่าไหร่ม้างง

    ด้วยขนาดเครื่องยนต์ของรถ จากที่ยกตัวอย่าง กรณีใช้งานทุกๆวัน หรืออาจจะขับระยะไกล ปีละไม่กี่ครั้ง ตัวเลขนี้ อาจจะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละคน ค่าตัวเลขนี้ ขอยกตัวอย่าง ประมาณ 5000 บาท/เดือน ครับ ให้แบบต่ำๆ เอาไว้ก่อน ประมาณว่า ขับแค่ไปทำงาน เช้ากลับเย็น เสาร์อาทิตย์ ขับเที่ยวระยะใกล้ๆ

ค่าใช้จ่ายขณะนี้

ค่างวด 12,000 บาท +
ค่าประกันภัย 1,200 บาท +
ค่าประกัน พรบ. 50 บาท +
ค่าภาษีประจำปี 137 บาท +
ค่าเชื้อเพลิง 5000 บาท +
>>>> รวม 19,187 บาท / เดือน

7 ค่าบำรุงรักษา :

    คนป่วยยังต้องกินยา หาหมอกันเลย แม้เครื่องยนต์จะเป็นเครื่องจักร ก็ต้องได้รับการดูแลรักษากันบ้าง ไม่มีอะไรอยู่ยั้งยืนยง หรอก …..

    รถยนต์ใช้งาน ก็ย่อมต้องมีการสึกหรอกันบ้าง โดยปกติรอบเวลาการดูแลรักษาจะอยู่ระหว่าง 6-12 เดือน /ครั้ง หรือ ทุกๆการใช้งาน 10,000 กิโลเมตร จากรถยนต์ที่ยกตัวอย่าง เป็นรถยนต์ใหม่ป้ายแดง ในข้อนี้ อาจจะไม่พบปัญหาที่ต้องซ่อมบำรุงมากนัก ซึ่งอาจจะมีแค่ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง หรือเปลี่ยนยางรถยนต์ ดังนั้น ผมจะคำนวณค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไว้ 8000 บาท /ปี หารเฉลี่ย ออกเป็นรายเดือน = 666 บาท

ค่าใช้จ่ายขณะนี้
ค่างวด 12,000 บาท +
ค่าประกันภัย 1,200 บาท +*
ค่าประกัน พรบ. 50 บาท +
ค่าภาษีประจำปี 137 บาท +
ค่าเชื้อเพลิง 5000 บาท +
ค่าบำรุงรักษา 666 บาท +
>>>>>รวม 19,853บาท / เดือน
*ค่าประกันภัยชั้น 1 ฟรี ในปีแรก


      มาถึงตรงนี้ ขอพักหายใจหายคอกันหน่อย ….. ถามตัวเองว่า ไหวมั้ย ? แน่นอน คำตอบของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ตามแต่รายได้ หรือรายรับ ที่ไม่เท่ากันนั่นเอง ….


     จะมาลองดูข้อสุดท้าย กันมั้ยครับ ซึ่งค่าใช้จ่ายข้อนี้ บอกก่อนเลยว่า แตกละคน จะไม่เหมือนกัน หรือเหมือนกันบ้าง นิดๆหน่อย

8 ค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ … / แฝง อะไรอีกล่ะ ไม่หมดอีกเหรอ …

    หลายๆคน อาจจะคิดไม่ถึง ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้กันเท่าไหร่ครับ หลายต่อหลายคน ที่พอจะผ่านด่าน 7 ข้อ ที่ผ่านมาแล้ว และมาตกม้าตายในข้อที่ 8 ในสถานะปริ่มๆ นี่แหละ มีอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายแฝง

8.1 ค่าตกแต่งรถยนต์ …..

      แหมะ ออกรถใหม่ทั้งที ก็อยากจะแต่งให้มันสวยๆ เริ่ดๆ หน้าตาเดิมๆ ออกมาจากโชว์รูม มันก็ดูซ้ำๆ นะ ขับไป 2-3 เดือน รถเราก็เหมือนกับคนอื่นๆ เต็มถนนเลย เอาไง ดี ใส่ชุดแต่งเพิ่มดีกว่า ใส่ สปอยเลอร์ , ใส่คิ้วล้อ ให้หล่อๆ , ลงท่อคู่ด้วยเป็นไง , ครอบกระจังหน้างาม ๆ , คิ้วกระจกด้วย , เดี๋ยวๆ ใส่ไฟ action Break กระพริบๆ ด้วย เจ๋งดี , ล้อเดิมก็เช้ยยเชย เปลี่ยนใส่ล้อแม็กซ์ ด้วย ฯลฯ

ค่าล้างรถ

     จากประสบการณ์ ที่ได้พบเห็นมา คือ เมื่อออกรถยนต์ มาใหม่ๆ มักจะล้างรถเอง เพียง 2-3 เดือนแรกเท่านั้น … สุดท้าย ก็ต้องไปพึ่งคาร์แคร์ และต้องมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยๆประมาณ 200-300 บาท/ครั้ง แล้วแต่ออฟชั่น ที่เลือก ความถี่ของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ลุยมากลุยน้อยไม่เท่ากัน รักษาความสะอาดรถ มากน้อย ก็ไม่เท่ากัน …. และข้อนี้ หลายคนไม่เคยคำนึงถึงเลยว่า การที่เราพักอยู่คอนโด หรืออพาร์เม้นท์ นั้น บางแห่งไม่เอื้อเลย ต่อการล้างรถด้วยตัวเอง …

ค่าทางด่วน ค่าจอดรถ

     บร๊ะ …. จุกจิก หยุมหยิม อะไรดีแท้ ข้อนี้หลายคนก็ลืมนึกถึงกันไปนะครับ บ้านอยู่มีนบุรี ทำงานที่พระราม 9 วิ่งเส้นปกติ รถก็ติด ขึ้นทางด่วนเลยดีกว่า !!! หากคุณยังไม่เคยจ่ายค่าทางด่วนด้วยตัวเอง ก็ต้องศึกษาหาข้อมูลกันหน่อยล่ะครับ ว่า ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ตกอยู่ที่เท่าไหร่ ? ไม่น้อยเลยนะครับนี่บอกเลย


ค่าจอดรถ ….

     โดยส่วนใหญ่ รถจอดอยู่บ้าน คงไม่มีค่าใช้จ่าย ( หากคุณอยู่อพาร์ทเม้นท์ หรือคอนโด บางแห่ง มีค่าจอดรถด้วย นี่ ลำบากหนักเลยนะครับ ) แต่การขับรถไปทำงานที่ office เนี้ย บางบริษัทฯ ก็ออกค่าจอดให้พนักงาน แต่เชื่อเหอะ ไม่ทุกที่หรอกครับ บางบริษัทฯ เช่าพื้นที่ในตึกสำนักงาน ที่จอดรถมีจำกัด และแน่นอน หากต้องการพื้นที่เพิ่ม ย่อมจะต้องจ่ายเพิ่มด้วยเช่นกัน นั่นล่ะครับ ค่าใช้จ่ายตรงนี้ หลายคนหลงลืม หรือไม่ลืม แต่คิดไม่ถึงว่า เดือนๆ หนึ่ง ต้องจ่ายเพิ่มอีกเท่าไหร่ ? นี่ยังไม่นับรวมสถานบริการอื่นๆ ที่มีการเรียกเก็บค่าจอดรถอีกด้วยนะครับ มากบ้างน้อยบ้าง ก็ตามแต่วิถีการใช้ชีวิตของเรา

    สรุปเอาไว้คร่าวๆ ตรงนี้ เลยนะครับ ว่า ภาระค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้รถยนต์ส่วนตัว คุณจะต้องเตรียมเงินเอาจ่ายสิ่งเหล่านี้ โดยประมาณ 19000 บาท/เดือน ( สำหรับ 3 ปีแรก ) และ อีก ประมาณ 7800 บาท/เดือน สำหรับ ปีที่ 4 เป็นต้นไป … นั่นเอง ….





Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป



 

คุณอาจสนใจ

เครื่องดื่มมหัศจรรย์ เพื่อสุขภาพที่ดี


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  



“ จุลินทรีย์ โพรไบโอติก ที่มีอยู่ในชาหมัก คอมบูชะ ( Kombucha ) สามารถแก้ไขปัญหาของระบบทางเดินอาหาร และลำไส้”

KOMBUCHA ORIGINAL 101 / by Scoby Do it 💖
    เครื่องดื่มชาหมักเพื่อสุขภาพ คอมบูชา หรือ คอมบูชะ ( Kombucha ) Scoby do it คือ เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้ “จุลินทรีย์” ที่อยู่ในชาหมักที่เกิดจากการหมักชา จะมี สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้ 

   >> ดูเพิ่มเติม 




5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (6) การจัดเก็บ (2) การเมือง (48) การศึกษา (127) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (2) เกี่ยวกับสัตว์ (12) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (14) ครู (6) ความเชื่อ (11) ความรู้ (145) คอมมิวนิสต์ (31) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (15) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (27) ทะเล (3) ทัศนะ (47) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรรมชาติ (7) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (2) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (36) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (51) ประท้วง (7) ประเทศไทย (172) ประวัติศาสตร์ (147) ปรัชญาชีวิต (20) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (1) ผลิต (3) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (6) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (3) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (9) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (1) ล้านนา (3) ลาว (4) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (1) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (4) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (36) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (13) สุภาพจิต (5) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (36) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand