ค้นหาบทความ 🙄





4/06/68

ไต้หวัน มีสถานะเป็นประเทศหรือไม่ ? และ Sinophobia คืออะไร ?

คำเตือน :: บทความนี้ ไม่เหมาะกับผู้มีอาการ *ซิโนโฟเบีย ( Sinophobia ) .... ผู้มีอาการนี้ กรุณาเลื่อนผ่าน และหาบทความอื่นอ่าน ครับ ....   ( หากไม่รู้ว่า ซิโนโฟเบีย คืออะไร ท้ายบทความ มีคำตอบ ]   




ไต้หวันมีสถานะเป็นประเทศหรือไม่?
หรือเป็นส่วนนึงของจีน ?
โพสต์นี้จะพาไปหาคำตอบครับ.... 

    ย้อนกลับไปในปี  ค.ศ.1912 ราชวงศ์ชิง ถูกโค่นล้ม และมีการสถาปนาสาธารณรัฐจีน ( Republic of China/ROC) ขึ้นมาแทน

     หลังจากนั้น   จีนผ่านเหตุการณ์ปราบรามขุนศึก แตกแยกทางความคิด จนนำมาสู่ สงครามกลางเมืองระหว่างพรรคก๊กมินตั๋ง และพรรคคอมมิวนิสต์ ....

      เป็นเหตุให้ ญี่ปุ่นบุกจีน  เพราะญี่ปุ่นประเมินว่า จีนกำลังอ่อนแอ จากสงครามภายใน.... 

     พรรคก๊กมินตั๋ง และพรรคคอมมิวนิสต์  รบกันจนกระทั่ง จอมพลเจียง ไคเชก ถูกลูกน้องตัวเอง ที่ชื่อว่า นายพล จาง เสวียนเหลียง จับตัวไป  แล้วบังคับให้ร่วมมือกับ  เหมาเจ๋อตุง รบกับญุี่ปุ่น พรรคก๊กมินตั๋ง และพรรคคอมมิวนิสต์ จึงพักรบกันชั่วคราว  เพื่อหันไปรบกับ ญี่ปุ่น ...

     หลังจากญี่ปุ่นยอมแพ้  อันเป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง  .... พรรคก๊กมินตั๋ง และพรรคคอมมิวนิสต์  ก็หันกลับมารบกันต่อ 

     เมื่อมีการก่อตั้งสหประชาชาติ ในตอนนั้น  สาธารณรัฐจีน (Republic of China/ROC)   ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก โดยได้เป็น 1  ใน 5 สมาชิกถาวร ในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ  ( United Nations Security Council หรือ UNSC)

*** ( 5 ชาติสมาชิกถาวร UNSC ใช้สิทธิ "ยับยั้ง" (veto) มติของ UNSC ได้ แม้ว่าอีก 14 ชาติที่เหลือ ใน UNSC จะโหวตเห็นด้วยกับมตินั้นๆก็ตาม)


       สงครามกลางเมืองในจีน  ดำเนินต่อไป.....  จนในที่สุด   พรรคคอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายชนะ และ สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China/PRC) ขึ้นมาแทนที่ สาธารณรัฐจีน (Republic of China/ROC)  โดยมีปักกิ่ง  เป็นเมืองหลวง

      จอมพลเจียง ไคเชค หนีไปยังเกาะไต้หวัน และ ประกาศตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐจีน (Republic of China/ROC) บนเกาะไต้หวัน ปกครองจีนทั้งหมดจากไต้หวัน มีเมืองหลวงที่ เมืองไทเป ....

     ส่วนพรรคคอมมิสนิสต์จีน  ที่ตอนนี้ยึดครองจีนแผ่นดินใหญ่ได้หมดแล้วประกาศว่า 
    "...ไต้หวันเป็นส่วนนึงของจีน...." 


      ในตอนนั้น นานาชาติ ให้การรับรอง สาธารณรัฐจีน (Republic of China/ROC) ของจอมพลเจียงบนเกาะไต้หวัน  ให้เป็นรัฐบาลที่ชอบธรรมของจีนและเป็นตัวแทนของจีน ในองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เช่น UN ฯลฯ 

จุดปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี ค.ศ .1971  

    เมื่อสหประชาติ  มีมติที่ 2758 ขับไต้หวัน  (Republic of China/ROC) ออก แล้วนำ สาธารณรัฐประชาชนจีน ( People's Republic of China/PRC ) เข้ามาแทน  ด้วยคะแนนเสียง 76 ต่อ 35 งดออกเสียง 17 เท่ากับเป็นการรับรอง รัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ให้เป็นตัวแทนของจีนโดยถูกต้อง ลดสถานะของไต้หวันลงเป็นส่วนหนึ่งของจีน ... 

     ถึงตอนนี้   ในเวทีระหว่างประเทศ ไต้หวันไม่ได้รับการยอมรับในฐานะ "ประเทศ"  อีกต่อไป   และ ไม่สามารถเข้าร่วมองค์กรระหว่างประเทศใดๆ ในฐานะสมาชิกได้ ถ้ามีจีนเป็นสมาชิกอยู่  หรือ ไต้หวันต้องออกหากจีนจะเข้าร่วม

    ประเทศอื่นๆ  ที่เคยรับรองไต้หวัน มีสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับไต้หวัน ต่างทยอยกันยุติความสัมพันธ์ แล้วหันไปสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนแทน รวมไปถึง 35 ประเทศที่เคยโหวตคัดค้านจีนเข้ามาแทนไต้หวันในที่ประชุมสหประชาชาติก่อนหน้านั้นด้วย ...


ปัจจุบัน  ไต้หวันเหลือประเทศที่รับรองไต้หวัน ในฐานะประเทศ มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันอย่างเป็นทางการอยู่เพียง 10+ ประเทศ

  • ปี ค.ศ. 1991   ไต้หวันพยายามขอเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ โดยจะเลี่ยงไปใช้ชื่อ Republic of Taiwan  ... >  แต่ถูกปฎิเสธ
        การพยายามเข้าเป็นสมาชิก UN โดยจะเลี่ยงไปใช้ชื่อ Republic of Taiwan เท่ากับการอ้างสิทธิ์เป็นรัฐบาลที่ปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ก่อนหน้าสิ้นสุดลงไปด้วย
  • ปี ค.ศ. 1992   มีการประชุมกันระหว่างจีน-ไต้หวัน ทั้ง 2 ฝ่าย เห็นด้วยในหลักการ "มีแค่จีนเดียว" แต่ใครล่ะ คือ  รัฐบาลของจีนเดียว  นั้น ตกลงกันไม่ได้ ?! 

ปัจจุบันไต้หวันเป็นประเทศแบบ "ไม่เป็นทางการ"  คือไม่มีสถานะภาพ ไม่ได้รับการยอมรับ รับรอง ในฐานะ "ประเทศ" ในเวทีสากล


ไต้หวัน   มีรัฐบาลบริหารในรูปแบบของประเทศๆ หนึ่ง เข้าเกณท์ eight criteria for independent country 5 จาก 8 ข้อ แต่ไม่ได้การยอมรับ ไม่ได้รับการรับรองสถานภาพฯ ประเทศส่วนใหญ่ให้การรับรองจีนที่มีไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน ตามหลักการ "จีนเดียว"

ประเทศไทยเราเอง  และ  สหรัฐ รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ฯลฯ ก็ให้การรับรองจีน และหลักการจีนเดียว ใครรับรองหลักการจีนเดียว  ก็หมายความว่า   ไม่มีไต้หวันที่เป็นประเทศอิสระ มีแต่ไต้หวันที่เป็นส่วนหนึ่งของจีน 

    ประเทศเหล่านี้จึงไม่สามารถมีสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับไต้หวันในระดับรัฐต่อรัฐ

ไต้หวันไม่ได้รับการปฎิบัติในฐานะ "ประเทศ"

      สำนักงานในต่างประเทศของไต้หวัน  ที่เป็น"สถานทูต" จึงต้องเลี่ยงไปเรียกว่า "สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป" ผู้ที่ทำหน้าที่ทูตฯ  ของไต้หวัน  ก็ต้องเลี่ยงไปเรียกว่า "ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานฯ" ประจำประเทศนั้นๆ

       นั่นก็เป็นเพราะ  ไต้หวันไม่มีสถานะเป็นประเทศๆ หนึ่ง จึงไม่สามารถเรียกว่า สถานทูต และ ทูต ได้ ... ประเทศไทยเรา สหรัฐ ฯลฯ ก็มีสำนักงานตัวแทนที่ว่านี้ของไต้หวัน

        เราจึงเห็นในอีเว้นต์นานาชาติใหญ่ๆ   เช่นโอลิมปิก ฯลฯ  ไต้หวันเข้าร่วมได้  แต่ต้องเลี่ยงไปใช้ชื่อ Chinese Taipei แทน และ ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ธงชาติ และเพลงชาติของไต้หวันเอง ....


  ด้านไต้หวันเอง  ก็พยายามจะเข้าไปเป็นสมาชิกองค์กรระหว่างประเทศ และ เปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศอื่นในฐานะ "ประเทศ" ประเทศหนึ่ง แต่ไม่ได้รับการตอบรับเพราะ ....
  • จีนเป็นสามชิกถาวร ในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาติ ใช้สิทธิ์วีโต้ได้

  •  ไม่มีใครอยากขัดใจจีน เพื่อเกาะเล็กๆ อย่างไต้หวัน ยกเว้นสหรัฐที่มีเรื่องของ "sphere of influence" "balance of power" ในภูมิภาคนี้ และ เป็นเรื่องของการควบคุม"เส้นทางเดินเรือ" ฯลฯ ในภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของสหรัฐโดยตรงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

  • ผลประโยชน์ที่จะได้จากจีนมากกว่าไต้หวันเยอะ 

  • จีนขึ้นชื่อมาก  ในเรื่องไม่ก้าวก่ายกิจการภายในของใคร  และในทางกลับกัน จีนก็ไม่ยอมให้ใครมาก้าวก่ายกิจการภายในของตน 
เรื่องของไต้หวัน  จีนจะถือเป็นเรื่องกิจการภายใน ที่จีนให้ความสำคัญมาก ใครก้าวก่าย จะถูกจีนตอบโต้อย่างรุนแรง ...... รุนแรงจนบางคนอาจจะรู้สึกว่า "overreact"  -ฯลฯ


ด้านจีน   เค้าพอใจกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่นานาชาติให้การรับรองจีนเดียว ไต้หวันจึงเป็นส่วนนึงของจีน ภายใต้นโยบายจีนเดียว 1 ประเทศ 2 ระบบ

....  ตราบใดที่  ไต้หวันไม่ลุกขึ้นมาประกาศ หรือ ทำการใดๆ   "อย่างเป็นทางการ" ว่า  ไต้หวันเป็นประเทศอิสระ   ไม่ใช่ส่วนนึงของจีน จีนก็จะปล่อยให้เป็นแบบนี้ไปก่อน ซึ่งไต้หวันเองก็ไม่เคยทำอะไรอย่างเป็นทางการจริงๆจังๆ มีแต่เฉี่ยวไปเฉียดมา ....

และ ผลการสำรวจจากชาวไต้หวันเอง "ส่วนใหญ่"  ก็ต้องการให้คงสถานะแบบนี้ไปก่อน   คือ ไม่แยก ไม่รวมกันให้ชัดไปเลย  จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงค่อยตัดสินใจอีกที  ในอนาคต ....


     ทั้งนี้การเมืองไต้หวัน   แบ่งออกเป็นสองขั้วใหญ่ๆ  ระหว่างพรรคก๊กหมินตั๋ง ที่มีท่าทีประณีประนอมกับจีน และ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าของ ปธน.ไช่ อิงเหวิน ที่มีท่าทีต้องการแยกตัวออกไป

ทุกครั้งที่พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าชนะการเลือกตั้ง ความสัมพันธ์ระหว่าง จีน-ไต้หวัน ก็จะตึงเครียดขึ้นมา


ปัจจุบัน   เป็นการดำรงตำแหน่ง ปธน.สมัยที่สองของ ไช่ อิงเหวิน ความสัมพันธ์ระหว่าง จีน-ไต้หวัน จึงตึงเครียดยาวนานกว่าที่ผ่านๆ มา

       การส่งเรือรบเข้าไปแล่นผ่านน่านน้ำ   ที่จีนอ้างสิทธิโดยสหรัฐ ที่จีนถือว่าเป็นการยั่วยุ มันมีมานานแล้ว ไม่ใช่เค้าเพิ่งจะทำ แต่เมื่อก่อน จีนไม่มีศักยภาพด้าน "hard power" มากพอ  ที่จะท้าทายสหรัฐ  โดยการส่งเรือรบ เครื่องบินรบ แล่นผ่านน่านน้ำ น่านฟ้า ไต้หวัน หรือ ทำการซ้อมรบใกล้ๆ  กองเรือสหรัฐและพันธมิตร ฯลฯ เหมือนทุกวันนี้ ....


อนึ่ง  จีนกับไต้หวันใช้ภาษาจีนกลางเป็นภาษาราชการเหมือนกัน ต่างกันที่ตัวอักษร จีนใช้อักษรตัวย่อ ไต้หวันใช้อักษรตัวเต็ม 


ปัจจุบันจีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไต้หวัน





เก็บตก ความหมาย....
อาการ *ซิโนโฟเบีย(Sinophobia) คืออะไร ?


       ซิโนโฟเบีย (Sinophobia) เป็นศัพท์ประดิษฐ์เพื่ออธิบายกระแสต่อต้านจีนที่ไม่มีเหตุผลอะไรมากมาย หรือ “ Anti-Chinese sentiment” โดยที่ใครที่ติดไวรัสชนิดนี้แล้วจะมีอาการดังต่อไปนี้ มีความรู้สึกต่อต้านจีน ต่อต้านคนจีน ต่อต้านประเทศจีนโพ้นทะเล และต่อต้านวัฒนธรรมจีน มีความรู้สึกที่เป็นลบ ไม่ชอบ และหวาดกลัว เกลียด ชิงชัง และดูถูก มีอคติต่อจีน (ไม่ว่าจะเป็นจักรวรรดิจีนในอดีต หรือคอมมิวนิสต์จีน หรือพวกลี้ภัยจีน หรือกระทั่งนักท่องเที่ยวจีน) อย่างแรง โดยไม่มีเหตุผล ....




Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  


 






 

คุณอาจสนใจ

5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (5) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (21) กรุงศรีอยุธยา (12) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (7) การขาย (1) การจัดเก็บ (3) การปกครอง (3) การเมือง (63) การลงทุน (1) การศึกษา (144) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (3) เกี่ยวกับสัตว์ (16) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (11) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (15) ครอบครัว (8) ครัว (1) ครู (6) ความเฉลียวฉลาด (8) ความเชื่อ (16) ความรู้ (181) คอมมิวนิสต์ (34) คำภีร์ (2) คำสอน (13) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (54) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (16) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (19) แต่งงาน (1) ไต้หวัน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (28) ทะเล (3) ทัศนะ (65) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (4) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรณี (1) ธรรมชาติ (12) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (11) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (3) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (39) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (4) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บาลีวันละคำ (5) บุคคล (43) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (7) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (61) ประท้วง (7) ประเทศไทย (182) ประธานาธิบดี (2) ประวัติศาสตร์ (151) ปรัชญาชีวิต (22) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (2) ผลิต (3) ผัก (1) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (3) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (2) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (12) พราหมณ์ (1) พิธีกรรม (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (10) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (14) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (5) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภัยพิบัติ (3) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (13) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มหาสมุทร (1) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) แมลง (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูเครน (1) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (4) รองเท้า (2) รอบโลก (4) ระบบนิเวศน์ (1) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (2) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (6) รัฐประหาร (7) รัสเซีย (13) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (3) เรื่องเก่า (82) เรื่องเล่า (24) โรค (5) โรคระบาด (5) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (11) โรงเรียน (17) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ละคร (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (3) ล้านนา (3) ลาว (4) ลิง (1) เลือกตั้ง (9) โลก (8) โลกร้อน (4) วัฒนธรรม (2) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (2) ศาสนา (38) ศิริราช (5) ศิลปะ (5) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (51) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (13) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (46) สัตว์ปีก (1) สายสังคม (3) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (4) สุขภาพ (14) สุภาพจิต (6) สุสาน (1) เสรีภาพ (1) ไสยศาสตร์ (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) หนู (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (40) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (3) อาหาร (15) อาหารจานโปรด (8) อิตาลี (3) อินเดีย (9) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) marxism (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social science (3) social views (122) Sompob Pordi (8) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand