ค้นหาบทความ 🙄


 

8/07/66

ทองคำของไทยหนักกว่า 31 ตัน ฝากไว้ในห้องนิรภัยของสหรัฐ

 ... ประเทศไทยมีทองคำน้ำหนักกว่า 31 ตัน ที่เคยฝากไว้ในห้องนิรภัยของสหรัฐ (ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒)  แต่ทวงแล้วทวงอีก สหรัฐอเมริกาปฏิเสธ จะคืนให้ทุกกรณี เพราะปัจจุบันสหรัฐ อยู่ในสภาวะ"ถังแตก" ค่อนข้างแน่ชัด

ทองคำ 31 ตัน

    สงสัยกันบ้างไหมครับ ว่า.... 
ประเทศไทย เอาทองคำไปฝากไว้ที่สหรัฐตั้งแต่ตอนใหน
ถึงได้ "โดนอม" เอาง่ายๆ ...


เรื่องนี้ ผู้เขียนบทความคนแรก กำหนดให้ นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ร้าย จึงมีผู้แชร์กันต่อกระจายมาก   
ในระลอกแรก เคยมาถึงผมนานแล้ว  ผมอ่านแล้วก็ปล่อยวางไป  ทั้งที่ยังข้องใจอยู่ ....

ระลอกใหม่ นี้   มาถี่ๆ อีกครั้ง จากเพื่อนในเฟสบุคหลายท่าน เลยต้องแก้สงสัยของตนเอง ด้วยการค้นคว้า หาคำตอบ จากหนังสือสะสมในบ้านหลายเล่ม ผนวกกับข้อมูลทางอินเทอเน็ตที่เห็นว่าเชื่อถือได้ มาเล่าสู่กันฟัง ...โดย ตัดเอาเรื่องนอกประเด็นในบทความ ดังกล่าวออกไป เพื่อตรงสู่ใจความเลย คือ

  ผู้เขียนกล่าวว่า …..

      ในช่วงนั้น ปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ได้แผ่อิทธิพลครอบงำวงการการเมืองไทย ไม่พ้นแม้แต่สภาผู้แทนราษฎร บีบบังคับให้สภาผู้แทนราษฏร มีมติแต่งตั้งตัวเอง เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่เพียงผู้เดียว ... ปรีดี พนมยงค์และคณะราษฎร จึงกลายเป็นผู้มากบารมี กุมอำนาจบริหารประเทศเบ็ดเสร็จทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายนิติบัญญัติ จะออกกฎหมายอะไรมาก็สามารถกระทำได้ ... ด้วยเหตุเพราะนายปรีดี พนมยงค์ สามารถลงนามได้ทันที มันก็คือ ระบอบเผด็จการแบบกินรวบ โดยไร้การถ่วงดุลใดๆ 

       ในช่วงนั้น ... ได้ใช้อำนาจผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซื้อทองคำแท่งหนัก 1 ล้านออนซ์ ( 31,104 กิโลกรัม หรือ 31.1 ตัน) และยังไม่เพียงเท่านั้น ยังได้โอนเงินปอนด์สเตอริง เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงินดอลล่าสหรัฐในขณะนั้น แล้วได้นำไปเก็บไว้ที่ห้องนิรภัยของประเทศสหรัฐ แม้ทางการไทยในปัจจุบันในทุกยุคที่ผ่านๆมา ได้ทำเรื่องขอทองคำแท่งจากประเทศสหรัฐอเมริกาคืน แต่ก็ได้รับการปฏิเสธและบ่ายเบี่ยงทุกครั้ง ... ซึ่งก็ไม่ต่างจากเยอรมันที่ได้ฝากไว้ รวมน้ำหนักถึง 300 ตัน ... มากกว่าประเทศไทยเป็นสิบเท่าครับ ...  "  

            ผมหาหลักฐานที่เขาใช้ในการเขียนบทความข้างต้นไม่เจอ ???!! 
          (หากใครมีก็ขอให้ช่วยชี้ช่องให้ผมเข้าไปอ่านด้วยครับ ) 

        ส่วนข้อเท็จจริงในเรื่องนี้  เริ่มมาจาก คราวที่ นายปรีดี ดำรงตำแหน่ง เป็นรัฐมนตรีคลัง ในปี พ.ศ.  2481 ได้รื้อฟื้น เรื่องการจัดตั้ง ธนาคารชาติ ขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากต้องเลื่อนโครงการไป ในสมัยรัชกาลที่ 6 เนื่องจากผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 

Gold31tons

      โดยครั้งนี้  ให้ตั้งเป็น สำนักงานธนาคารชาติไทย ขึ้นก่อน แล้วทำธุรกรรมเช่นเดียวกับ ธนาคารพาณิชย์ หลังจากนั้น นายปรีดีได้เสนอผ่านสภา ให้นำเหรียญบาทสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่ห้องมั่นคงในพระบรมมหาราชวัง น้ำหนักรวม 15 ตัน มูลค่า 52.43 ล้านบาท ไปจ้างหลอม ในสหรัฐโดยเอาแต่เนื้อเงินบริสุทธ์  แล้วแต่งตั้ง ให้ธนาคารสยามกัมมาจล (ไทยพาณิชย์) เป็นตัวแทนการขาย และการรับเงินในนามของกระทรวงการคลัง ซึ่งได้บริษัททำเครื่องเงินชื่อ Gorham silversmiths และ Reed & Barton เป็นผู้ซื้อ ได้กำไรมาประมาณ 20 ล้านบาท แล้วโอนเงินไปเข้าบัญชีที่ธนาคาร Provincial London เป็นบัญชีทุนสำรองเงินตรา ที่เหลือ 10 ล้านบาทเศษ เข้าบัญชี เพื่อซื้อทองคำเพิ่มให้เป็นทุนสำรอง ( ตามหนังสือ ธ.ป.ท. ปริทรรศน์ ฉบับที่ 1 ) ในปี 2483 ธนาคารชาติไทยจึงสามารถออกธนบัตรไทยมาหมุนเวียนในประเทศได้..... 
 
        ครั้นเห็นว่า ใกล้จะเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ....
   นายปรีดีคาดการณ์ว่า  เงินปอนด์สเตอร์ลิง ซึ่งไทยใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ "อาจด้อยค่าลงได้ " ...จึงมีคำสั่งให้นำเงินปอนด์ไปซื้อทองคำแท่งมาเก็บสำรองแทน โดยหนังสือคำสั่งระบุว่า “ให้จัดซื้อทองคำในลอนดอน และขนเข้ามาเก็บไว้ในประเทศไทย”

  ปรากฏว่า เงินจำนวนนั้นซื้อทองคำได้ 679 เเท่ง เป็นเนื้อทองคำบริสุทธิ์ 173,818.545 เอานซ์ หรือเท่ากับ 4.92 ตัน 

     ทองคำจำนวนดังกล่าวนี้ ได้ถูกนำมาเก็บไว้ใน ห้องนิรภัยของกรมคลัง ในพระบรมมหาราชวัง รวมกับทองคำที่ซื้อภายในประเทศ จากเหมืองทองคำที่ โต๊ะโม๊ะ อยู่ที่อำเภอสุคิริน นราธิวาส ที่ผลิตได้ทั้งหมด  ไม่ต้องเสียค่าเก็บรักษาให้แก่ต่างประเทศ แต่ก็ยังมีทองคำบางส่วน ที่ยังฝากไว้ในต่างประเทศ โดยยอมเสียค่ารักษา ทั้งที่สหรัฐ , อังกฤษ และญี่ปุ่น ซึ่งในเวลาต่อมาสหรัฐได้นำส่วนหนึ่ง มาใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับสนับสนุนปฏิบัติการ ของเสรีไทยในระหว่างสงคราม
ก่อนหน้าที่จะโจมตีที่เพิร์ลฮาเบอร์ไม่กี่วัน 

       ญี่ปุ่นได้เจรจากับไทย ขอเอาเงินเยนมาแลกเงินบาท เพื่อซื้อข้าวสารไทย นายปรีดี ในฐานะรัฐมนตรีคลัง ไม่ยอมรับเงินเยนญี่ปุ่น ขอให้เอาทองคำมาแลกกับเงินบาทเท่านั้น  ฝ่ายญี่ปุ่นแม้จะไม่พอใจมากนัก แต่ก็ต้องจำยอม  โดยตกลงกันว่า ทองคำส่วนหนึ่งให้ขนเอามากรุงเทพ อีกส่วนนั้นให้ผูกหู ฝากไว้ที่ธนาคารชาติญี่ปุ่น 

        ทว่าหลังจากเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาแล้ว การขนทองคำมากรุงเทพก็ชะงักไป ...

      เมื่อญี่ปุ่นบุกไทย ในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 นั้น 

    นายปรีดีเป็นคนสำคัญในคณะรัฐมนตรี ที่คัดค้านการจะยอม ให้กองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนทัพผ่านประเทศ และคัดค้านการเข้าเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น  แม้จะไม่สำเร็จ แต่เมื่อญี่ปุ่นขอนำเงินเยนมาแลกเงินบาทไป ซื้อเสบียงเลี้ยงกองทัพญี่ปุ่นอีก นายปรีดีก็ขัดขวาง โดยแสดงความเห็นในครม.ว่า ถ้าให้ญี่ปุ่นกู้เงินไปใช้จ่าย โดยเราจะยอมพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้นแล้ว ก็ใช่ว่าจะหยุดเพียงเท่านี้ เขาจะต้องขอกู้เพิ่มอีกเรื่อยๆ จนทำให้เกิดเงินเฟ้อ ส่งผลเสียหายทางเศรษฐกิจร้ายแรง รัฐบาลควรให้ทหารญี่ปุ่นพิมพ์ธนบัตรที่เรียกว่า Invasion Notes ขึ้นใช้ในกองทัพของเขาเองจะดีกว่า เมื่อยุติสงครามแล้ว เราก็ประกาศยกเลิกธนบัตรเหล่านี้เสีย การเงินและการคลังของประเทศก็จะได้ไม่กระทบกระเทือนมากนัก

     จอมพล ป.นายกรัฐมนตรี แย้งว่า ถ้ายอมให้ญี่ปุ่นออก Invasion Notes ก็เท่ากับเป็นการแสดงว่า เราได้เสียเอกราช และอธิปไตยไปแล้ว นายปรีดีได้ถามกลับว่า การที่เรายอมให้ทหารญี่ปุ่นเข้ามาเต็มบ้านเต็มเมือง แล้วบีบบังคับให้เราทำโน่นทำนี่ตามใจเขาน่ะ ไม่ได้แปลว่าเราได้เสียเอกราชอธิปไตยไปแล้วกระนั้นหรือ ?  

     ญี่ปุ่นนั้น มีสายลับคนหนึ่งนั่งอยู่ในคณะรัฐมนตรี  ไม่นานนัก  จอมพล ป. ก็ถูกบีบ ให้สั่งนายปรีดีพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง โดยจัดให้ขึ้นไปเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ร่วมคณะกับ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ถูกมองว่าไร้อำนาจแทน 

     เรื่องนี้จบลง ในวันที่ 16 ธันวาคม 2484 เท่านั้นเอง
     โดยมีมติของสภาผู้แทนราษฎรรองรับ

 
อย่างไรก็ดี   ผลของการทักท้วงทำให้จอมพล ป. สามารถอ้างกับญี่ปุ่นถึงหลักการเดิมที่เคยตกลงกันไว้ว่า  จะชำระหนี้กันด้วยทองคำ 

       ดังนั้น เมื่อญี่ปุ่นขอกู้เงินจากไทยในระหว่างสงครามคราวใด ญี่ปุ่นจะนำทองคำผูกหู ฝากไว้ที่ธนาคารชาติญี่ปุ่น ตามราคาซื้อขายในขณะนั้นทุกครั้ง เมื่อสงครามยุติลงแล้ว รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้แถลงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2492 ว่า

“ ....The U.S. position is that occupation forces found the gold…. for French Indo China and Siam in payment for Japanese purchases, and the gold therefore legally belongs to those countries.... The gold going to Siam would pay for Japanese purchases of rubber, rice, tin and other commodities during the war……..etc.”

ถอดความว่า 

"....  กองทัพอเมริกัน พบทองคำที่เป็นของอินโดจีนฝรั่งเศสและสยาม ซึ่งญี่ปุ่นได้ชำระเป็นค่าสินค้า ดังนั้น ทองคำดังกล่าว จึงเป็นของประเทศเหล่านั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ทองคำที่จะคืนให้สยามนี้ ก็เพื่อชำระค่ายาง ,ข้าว, ดีบุก และสินค้าอื่นๆที่ญี่ปุ่นซื้อไปในระหว่างสงคราม.... etc. ..."

     ทั้งที่ราคาทองคำที่เคยมีราคาบาทละ 20-100 บาท ได้กลายเป็นบาทละ 4,000 บาทไปแล้วในเวลานั้น ...

     เรื่องนี้ อ.พิบูลสงคราม ได้เขียนไว้ในหนังสือบันทึกประวัติของบิดาปกเขียวว่า .

    ... กองทัพญี่ปุ่นขอกู้ไปใช้ประมาณ 1,230,701,083 บาทเท่านั้น นับตั้งแต่ธันวาคม 2484 ถึงมิถุนายน 2488 ในจำนวนนี้ รวมถึงส่วนหนึ่งที่กองทัพญี่ปุ่นได้กู้ยืมไปในสมัยที่นายควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อจากจอมพล ป. พิบูลสงครามด้วย

    อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นก็ได้เปิดเครดิตเป็นเงินเยน ชดใช้ให้เป็นจำนวน 1,106,699,988 เยนที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ที่เหลืออีกจำนวนหนึ่ง 124,001,095 เยน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามก็ได้เอาไปซื้อทองคำ นำมาเก็บไว้เป็นทุนสำรองเงินตราของเรา ....

    สอดคล้องกับ  แถลงการณ์เรื่อง การจ่ายเงินบาท ให้ญี่ปุ่นแลกเปลี่ยนกับเงินเยนในระหว่างสงคราม ลงวันที่ 11 กันยายน 2499 ว่า .... ทยจ่ายเงินบาทแลกเปลี่ยนกับเงินเยนรวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง จ่ายในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม 7 ครั้ง ในสมัยนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี อีก 5 ครั้ง ได้มีการเจรจาซื้อทองคำ (ด้วยเงินเยน)  จากญี่ปุ่นได้เป็นคราวๆ ได้ทองคำรวมกันแล้วเป็น ปริมาณทั้งสิ้น 26,707,485.70 กรัมบริสุทธิ์ หรือเท่ากับ 26.70 ตันเศษ

    ส่วนหนึ่งได้ขนจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาเก็บรักษาไว้ที่กรุงเทพ ที่เหลือฝากไว้ ณ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น เพราะช่วงปลายสงคราม การขนส่งกระทำได้โดยยาก และเสี่ยงอันตรายมาก ทองคำจำนวนนี้ คือ จำนวนที่สหรัฐพบ และจะคืนให้ไทย แต่รัฐบาล (จอมพล ป. 2) ขอให้ช่วยขนไปฝากไว้ ณ ธนาคาร New York Federal Reserve ในสหรัฐอเมริกา แต่จะหนักกี่ตัน ผมหาไม่เจอแล้ว แต่ยังไงๆก็ไม่ถึง 31 ตัน ตามที่กล่าวอ้างแน่นอน


ส่วนประเด็นที่ว่า 

     “….แม้ทางการไทยในปัจจุบัน ในทุกยุคที่ผ่านๆมา ได้ทำเรื่องขอทองคำแท่งจากประเทศสหรัฐอเมริกาคืน แต่ก็ได้รับการปฏิเสธและบ่ายเบี่ยงทุกครั้ง ... "

 ซึ่งกรณีนี้ ก็ไม่ต่างจาก เยอรมัน ที่ได้ฝากไว้ รวมน้ำหนักถึง 300 ตัน ... มากกว่าประเทศไทยเป็นสิบเท่าครับ ...”

      ผมเจอในอินเทอเน็ตว่า   “เยอรมนีนั้น...ได้ทวงทองคำที่ฝากไว้ในคลังสำรองสหรัฐจำนวน 300 ต้น จากจำนวนทั้งหมด 1,500 ตัน เพื่อเอามาเก็บไว้ ณ คลังสำรองที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ตตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 เป็นต้นมา ในปี ค.ศ.2013 คลังสำรอง "New York Federal Reserve" สามารถส่งทองคำกลับไปให้เยอรมนีได้แค่ 5 ตันเท่านั้นเอง  และใน ปี ค.ศ. 2014 ดีขึ้นมาหน่อย คือสามารถทยอยส่งได้อีก 120 ตัน 
     
      แต่โดยสรุปรวมความแล้ว...กว่าจะส่งคืนให้ครบทั้งจำนวน 300 ตัน ตามที่เยอรมนีต้องการ "New York Federal Reserve" ต้องขอต่อรอง ให้ยืดระยะเวลาออกไปประมาณ 7 ปี จากเดิมที่เยอรมนียื่นคำขาด ขอส่งมอบให้ครบภายใน 5 ปี เท่านั้น 

      สุดท้าย...หลังจากเจรจาต่อรองกันไปมา เลยต้องยืดเวลาไปจนถึงปี ค.ศ. 2020 ด้วยลักษณะอาการแบบอิดๆออดๆ ยื้อไปยื้อมา เช่นนี้ นี่เองทำให้เกิด "คำถาม" ตัวโตๆ ถึงทองคำในคลังสำรองของสหรัฐที่ว่ากันว่าเคยมีอยู่สูงสุดในโลกมากถึง 8,133.50 ตันนั้น เอาเข้าจริงๆ แล้ว

...จะเหลืออยู่เท่าหนวดกุ้ง หรือใหญ่โตเท่าโซ่รถไฟกันแน่” ?




แนะนำหนังสือ


อัตชีวประวัติ ปรีดี พนมยงค์ บางหน้าในประวัติศาสตร์ไทย 
| โดย ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร

ในช่วงปลายสงครามใน พ.ศ. 2488 ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ปรารภกับนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ ว่า รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2475 ได้ใช้มาแล้ว 14 ปี แม้ว่าจะได้ยังความเจริญแก่ประเทศชาติเป็นอเนกประการ แต่เหตุการณ์บ้านเมืองก็ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ถึงเวลาแล้วที่ควรจะได้ยกเลิกบทเฉพาะกาล     >>   สั่งซื้อ     







 


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป






 

คุณอาจสนใจ

เครื่องดื่มมหัศจรรย์ เพื่อสุขภาพที่ดี


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  



“ จุลินทรีย์ โพรไบโอติก ที่มีอยู่ในชาหมัก คอมบูชะ ( Kombucha ) สามารถแก้ไขปัญหาของระบบทางเดินอาหาร และลำไส้”

KOMBUCHA ORIGINAL 101 / by Scoby Do it 💖
    เครื่องดื่มชาหมักเพื่อสุขภาพ คอมบูชา หรือ คอมบูชะ ( Kombucha ) Scoby do it คือ เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้ “จุลินทรีย์” ที่อยู่ในชาหมักที่เกิดจากการหมักชา จะมี สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้ 

   >> ดูเพิ่มเติม 




5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (7) การจัดเก็บ (3) การเมือง (51) การศึกษา (130) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (3) เกี่ยวกับสัตว์ (13) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (14) ครัว (1) ครู (6) ความเชื่อ (12) ความรู้ (152) คอมมิวนิสต์ (31) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (16) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (28) ทะเล (3) ทัศนะ (49) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรณี (1) ธรรมชาติ (10) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (3) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (38) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (53) ประท้วง (7) ประเทศไทย (175) ประธานาธิบดี (1) ประวัติศาสตร์ (148) ปรัชญาชีวิต (21) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (2) ผลิต (3) ผัก (1) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภัยพิบัติ (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (7) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (3) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (9) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (2) ล้านนา (3) ลาว (4) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (2) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (5) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (36) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (14) สุภาพจิต (6) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (37) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand