ฤทธิ์ "ทกซูรี" ทำกรุงปักกิ่งเผชิญฝนตกหนักที่สุด
31 ก.ค. 2566 ,18:09น.
กรุงปักกิ่ง ของจีน เผชิญฝนตกหนักสุดในปีนี้ หลังส่วนที่หลงเหลือจากพายุไต้ฝุ่น “ทกซูรี” เคลื่อนผ่าน ทำให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงสูงต้องอพยพหลายหมื่นคน ปริมาณฝนเฉลี่ยในกรุงปักกิ่งช่วงข้ามคืนที่ผ่านมาอยู่ที่ 140.7 มิลลิเมตร ขณะที่ปริมาณฝนสูงสุดวัดได้ 500.4 มิลลิเมตร ที่เขตฝางซาน โดยคาดว่าพื้นที่ทางตะวันตกและทางใต้จะมีฝนตกหนักขึ้นในวันนี้ ล่าสุด มีรายงานผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 2 คน และอีกหลายร้อยคนต้องติดน้ำท่วมอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ แม้จะมีคนสั่งอพยพประชาชนกว่า 30,000 คน ออกจากบ้านเรือนเมื่อคืนที่ผ่านมาแล้วก็ตาม
กล้องวงจรปิดจับภาพดินโคลนถล่มใน ยูนนาน ขณะเดียวกันทางการจีนเตรียมรับมือ พายุไต้ฝุ่นขนุน ซึ่งเป็นไต้ฝุ่นลูกที่ 3 ที่จะพัดถล่มต่อจากพายุไต้ฝุ่นทกซูรี ซึ่งก่อให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน ในหลายพื้นที่ของจีน
แต่พระราชวังต้องห้าม (หรือ ชาวจีนเรียกว่า พระราชวังกู้กง) สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชื่อดัง ใจกลางกรุงปักกิ่ง หมดปัญหาเรื่องนี้ ...
เพราะ ภายในพระราชวัง มีระบบการระบายน้ำติดตั้งอยู่ แม้จะเก่าแก่ อายุถึง 600 ปี แต่ยังคงยอดเยี่ยม และใช้การได้ดี
ระบบระบายน้ำ ที่ยอดเยี่ยม ภายในพระราชวังต้องห้าม นี้ ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ ยุคราชวงศ์หมิง (ปี ค.ศ. 1368-1644) หรือ ราว 600 ปี ล่วงมาแล้ว
- มีคูน้ำยาวเป็นระยะทาง 15 กิโลเมตร โดยเป็นคูน้ำแบบ "ซ่อนตัว" อีก 13 กิโลเมตร
- น้ำฝนทั้งหมด จะไหลสู่ แม่น้ำสีทอง ชั้นใน ( Inner Golden River) ที่เชื่อมกับคูน้ำรอบพระราชวัง ได้แก่ แม่น้ำสีทองชั้นนอก และระบบน้ำจงไห่-หนานไห่
- โครงสร้าง ของพื้น รากฐานของพระราชวัง มีลักษณะเดียวกับภูมิประเทศของปักกิ่ง กล่าวคือ มีความลาดเอียง และยกสูงที่ทิศเหนือ ลดต่ำลาดลงทางทิศใต้ ยกสูงที่แกนกลาง ลดต่ำที่สองฟาก ลักษณะภูมิประเทศเช่นนี้ ทำให้เหมาะต่อการระบายน้ำตามธรรมชาติ ได้เป็นอย่างดี
หนังสือ ประวัติศาสตร์จีน
: HISTORY OF CHINA Boxset
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ ว่าด้วยประวัติศาสตร์จีน นับแต่ยุคบรรพกาล หรือก่อนประวัติศาสตร์โดยศึกษาข้อมูลจากหลักฐานโบราณคดีที่ปรากฏ ผ่านการรวบรวมและเรียบเรียงจากนักประวัติศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่การนำเอาตำนานและเรื่องเล่าที่สืบทอดต่อกันมาในวิถีของชาวจีนมาตีความและทำความเข้าใจ ทำให้เห็นพัฒนาการของสังคม วิถีชีวิต สภาพภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศที่ส่งผลต่อการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงของคนในแผ่นดินจีน จนกระทั่งมาถึงราชวงศ์แรกนั่นก็คือ ราชวงศ์ซัง >> คลิ๊กเพื่อสั่งซื้อ
Cultures of Fermented
by Scoby Doit
Tweet