ค้นหาบทความ 🙄





6/07/66

แนะนำ หนังสือที่บอกเล่าประวัติศาสตร์อเมริกาย้อนไปถึงยุคค้าทาส | รูทส์ - Roots

| หนังสือ ที่ได้รับความสนใจไปทั่วโลก  ได้รับรางวัลพูลิทเซอร์ ด้วยข้อมูลการเขียนที่ ละเอียดแม่นยำ และกระตุ้นให้ชาวโลกได้ตระหนักถึง ความโหดร้ายทารุณของคนขาว ที่กระทำกับคนแอฟริกันราวกับไม่ใช่มนุษย์ และเรื่องราวความโหดร้ายนี้เกิดขึ้น ในประเทศสหรัฐอเมริกา


Roots ลูกทาส


"รูทส์ - Roots" ลูกทาส

— รีวิว โดย : กัปตันนัท-ธราพงษ์ รุ่งโรจน์

       วันนี้ 17 ตุลาคม 2022 )  ผมไปงานหนังสือแห่งชาติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์มาครับ ซึ่งศูนย์สิริกิติ์ที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ งดงามและยิ่งใหญ่มากๆ สมเกียรติกับคำว่า "ศูนย์ประชุมแห่งชาติ" และสมพระเกียรติพระนามของพระราชชนนีพันปีหลวงอย่างยิ่ง 

        จะขอเล่าโดยสั้นๆแต่เพียงว่า วันนี้ ผมได้หนังสือมาหลายเล่มมาก แต่เล่มที่ผมอยากจะมา แนะนำให้เพื่อนๆ ได้รู้จักคือ "รูทส์ - Roots" ครับ เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นจากเรื่องจริงของชีวิตชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันตระกูลหนึ่ง ผู้เขียนรูทส์คือ นายอเล็กซ์ ฮาลีย์ (Alex Haley)  เป็นลูกหลานรุ่นที่ 7 ของบรรพบุรุษซึ่งเป็นชาวแกมเบีย นามว่า "คุนต้า คินเต้" ที่ถูกลักพาตัวจากแผ่นดินเกิด ถูกจับล่ามโซ่เอาตัวขึ้นเรือค้าทาส และเอามาขายที่รัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1767 หรือราวๆ 250 ปีที่แล้ว

 ถ้าจะเทียบยุคกับประเทศไทย ก็คืออยู่ในปลาย ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง 

     นายอเล็กซ์ผู้นี้ ใช้เวลาถึง 12 ปี  ในการค้นคว้าสืบเสาะหาตัวของต้นตระกูลของเขา เขาทำจนถึงขนาดนั่งเครื่องบินไปจนถึงหมู่บ้านของบรรพบุรุษที่แกมเบีย เพื่อนำเรื่องราวมาเขียนออกเป็นหนังสือขนาดหนา 1400 หน้า 

      เมื่อตีพิมพ์ออกมาในปี 1976 "รูทส์" กลายเป็นหนังสือที่ได้รับความสนใจไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งได้รับรางวัลพูลิทเซอร์ เพราะนายอเล็กซ์หาข้อมูลได้ละเอียดแม่นยำ และกระตุ้นให้ชาวโลกได้ตระหนักถึงความโหดร้ายทารุณของคนขาวที่กระทำกับคนแอฟริกันราวกับไม่ใช่มนุษย์ และเรื่องราวความโหดร้ายนี้เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา

"รูทส์" เป็นหนังสืออมตะเล่มหนึ่งของโลก โด่งดังจนมีการสร้างเป็นรายการทีวี ถึงสองครั้ง คือในปี 1977 กับปี 2016 ซึ่งในเมืองไทยก็มีการนำมาฉายในชื่อว่า "ทาสทรนง"

Roots2016PromotionalPoster


สิ่งที่ผมสนใจประการหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ 
คือ ... 

      ผมสงสัยว่า นายอเล็กซ์ ซึ่งเป็นลูกหลานรุ่นที่ 7 นั้น เขาสืบเสาะจนรู้ได้อย่างไร ? ว่า บรรพบุรุษของเขาชื่อ "คุนต้า คินเต้" เป็นชาวแกมเบีย เพราะการหาจนรู้ได้ขนาดนั้น เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์มาก เพราะแม้ว่าอเมริกาจะมีการบันทึกข้อมูลอะไรไว้บ้าง แต่การบันทึกชื่อทาส และที่กำเนิดของทาสนั้นคงจะไม่มีการบันทึกไว้เป็นแน่  ... และ ยิ่งเป็นทางฝั่งประเทศแกมเบียเมื่อ 250 กว่าปีก่อนนั้น เชื่อได้ว่า ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแน่นอน ...  

       ซึ่งนายอเล็กซ์เขาก็เล่าเรื่องนี้ไว้ในท้ายเล่มครับ ... 

      เรื่องของเรื่องเกิดจากว่า นายอเล็กซ์เขาไปนั่งคุยกับคุณยายของเขา ซึ่งคุณยายก็เล่าว่าคุณเทียดของคุณยายนั้น เป็นทาสที่ถูกจับตัวมาขายเพื่อใช้งานที่รัฐเวอร์จิเนีย ...  คุณเทียดของคุณยายนั้น ชื่อว่า "คุนต้า คินเต้" เรียกกีต้าร์ว่า "โค" เรียกแม่น้ำเวอร์จิเนียว่า "แคมบี้ โบลองโก้" และถูกจับตัวไปในขณะที่เข้าไปตัดไม้เพื่อนำมาทำเป็นกลอง

       อเล็กซ์เกิดความสนใจในข้อมูลเล็กๆเหล่านี้ ... จึงเริ่มสืบเสาะว่า มีชนเผ่าใดในแอฟริกาบ้าง ที่เรียก กีต้าร์และแม่น้ำด้วยศัพท์คำเดียวกับคินเต้ ... 

       อเล็กซ์ ได้รับการแนะนำ ให้ไปพบศาสตราจารย์ชาวอเมริกัน 2 คน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมแอฟริกัน ซึ่งอเล็กซ์ ก็พูดออกเสียงศัพท์ต่างๆ ตามสำเนียงที่คุณยายพูด และคำตอบจากศาสตราจารย์ ก็ทำให้อเล็กซ์ ถึงกับตะลึง !!!

       ท่านศาสตราจารย์ทั้งสองบอกว่า สำเนียงดังกล่าวเป็นภาษา "แมนดิงคาส์" ซึ่งเป็นภาษาของชนเผ่าหนึ่งในประเทศแกมเบีย 

 โดย คำว่า "โค" น่าจะมาจากคำว่า "โครา" เป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากฝาน้ำเต้า ขึงด้านหน้าด้วยหนัง มีด้ามจับเป็นคอยาว มีสายดีดเป็นเสียงต่างๆถึง 21 สาย รูปร่างกล้ายกับกีต้าร์

  คำว่า "แคมบี้ โบลองโก้"  นั้นน่าจะมาจากสองส่วน คือ "แคมบี้" มาจาก "แกมเบีย" ส่วนคำว่า "โบลองโก้" นั้นเป็นภาษาแมนดิงคาส์แปลว่า "สายน้ำที่ไหลไป" 

เมื่อได้ความดั่งนี้แล้ว  อเล็กซ์และพวกก็สืบหาข้อมูลต่อไปจนพบว่า ที่แกมเบียนั้นในบางพื้นที่ยังมีการตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อบรรพบุรุษผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน ซึ่งเขาก็พบว่า มีหมู่บ้านเก่าแก่อายุหลายร้อยปีชื่อ "คินเต้-คุนดาห์" และ "คินเต้-คุนดาห์ จานเนยาห์" อยู่ใกล้ๆกัน ...

เมื่ออเล็กซ์เดินทางด้วยเครื่องบิน ไปถึงแกมเบีย ก็ได้ทราบว่า ในหมู่บ้านโบราณเก่าแก่ที่อายุหลายร้อยปีนั้น เขาจะมีผู้เฒ่าซึ่งกึ่งๆ ว่าเป็นนักปราชญ์ของหมู่บ้าน มีหน้าที่จดจำเรื่องราวดั้งเดิมของหมู่บ้านไว้ทั้งหมด ไม่ว่าใครจะแต่งงานกับใคร มีลูกหลานชื่ออะไร มีชะตากรรมอย่างไร …ราวกับเป็น "ห้องสมุดที่มีชีวิต"

ผู้เฒ่านี้มีชื่อตำแหน่งว่า "กริออทส์"

       อเล็กซ์พร้อมกับล่าม เดินทางรอนแรมไปจนถึงหมู่บ้านแห่งนี้เพื่อไปนั่งฟัง "กริออทส์" เล่าเรื่องราว ของต้นตระกูลผู้ก่อตั้งหมู่บ้านอยู่ยาวเป็นชั่วโมง และจู่ๆ กริออทส์ก็เล่าถึงสาแหรกของตระกูลคินเต้ว่า ตระกูลนี้มีลูกชาย 4 คน คนโตชื่อว่า "คุนต้า"  ซึ่งหายตัวไปเฉยๆ ขณะที่เดินทางเข้าไปตัดต้นไม้ในป่าละเมาะ… 

         อเล็กซ์ได้ฟังดังนั้น ก็รู้สึกว่าเลือดในตัว นั้นเย็นเฉียบ เขาควักกระเป๋าเสื้อหยิบสมุดพกที่บันทึกเรื่องราวที่เขาจดจากคำพูดคุณยายออกมา แล้วส่งให้ล่ามอ่าน .. 

        ล่ามรับบันทึกนั้นไปอ่าน แล้วแปลออกมาเป็นภาษาแมนดิงคาส์ ล่ามก็แสดงอาการตกใจแล้วลุกขึ้นยืน

      ขณะที่แปลรายละเอียด เรื่องที่สอดคล้องกัน จากฝั่งคุณยายอเล็กซ์ อย่างน่ามหัศจรรย์ คนในหมู่บ้านต่างพากันดีใจที่ได้พบกับลูกหลานของต้นตระกูล แม่ของเด็กหลายๆคน พากันเอาลูกอ่อนมาให้อเล็กซ์อุ้ม เพื่อเป็นการยอมรับว่า อเล้กซ์นั้นคือส่วนหนึ่งของเผ่าพันธุ์บรรพบุรุษของเขา ..

      เมื่อเดินทางกลับมาถึงอเมริกา อเล็กซ์ ก็ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เพื่อยืนยันความถูกต้อง ( อ่านได้ในท้ายหนังสือรูทส์ครับ ) จนกระทั่งพบว่า นี่คือเรื่องจริง และนำไปสู่การค้นพบว่าเรือที่นำ "คุนต้า คินเต้" จากแผ่นดินแกมเบียมาขายเป็นทาสที่อเมริกานั้น เดินทางมาถึงเมืองแอนนาโพลิส รัฐแมรี่แลนด์ในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ.1767

ชะตากรรมของ คุนต้า คินเต้  นั้น

    ประสบแต่ความทารุณโหดร้ายที่คนผิวขาวกระทำกับเขามาตลอด ผมอ่านผ่านๆ ไปก็รู้สึกเศร้าใจ ถึงความเหี้ยมโหดที่เกิดขึ้นจริง 

      คุนต้านั้น เคยพยายามหลบหนีจากความเป็นทาส แต่ก็ถูกไล่ล่า จากพวกรับจ้างล่านิโกร จนกระทั่งคุนต้าต้องถูกตัดฝ่าเท้าออกไปครึ่งหนึ่ง !!!

กฎหมายต่างๆในรัฐเวอร์จิเนีย ก็แสนจะทารุณกับทาส แค่เพียงทาสถือไม้กระบอง ก็ต้องถูกโบย 20 ที
คุนต้า มีลูกสาวหนึ่งคนชื่อ "คิสซี่" ซึ่งคุนต้า เป็นผู้สอนภาษาแมนดิงคาส์ ให้ลูกสาวสุดที่รักในระหว่างที่เดินจูงมือกันอยู่ในฟาร์ม คุนต้าชี้ไปตามสิ่งต่างๆ รอบตัว และสอนให้เรียกสิ่งเหล่านั้นตามภาษาเกิดของพ่อ รวมถึงเล่าให้ลูกฟังว่า พ่อถูกจับมาเป็นทาสได้อย่างไร .. 

      เมื่อคิสซี่เติบโตขึ้น และได้เรียนภาษาอังกฤษ คิสซี่ในวัย 16 ปี ก็ถูกส่งไปเป็นทาสของอีกครอบครัวหนึ่งในรัฐนอร์ธแคโรไลน่า ซึ่งที่นี่เองคิสซี่ก็มีบุตรชายกับเจ้านายซึ่งเป็นคนขาว 

ลูกชายของคิสซี่ชื่อว่า "จอร์จ" 

       และคิสซี่ ก็เล่าเรื่องของคุนต้าให้ลูกฟังมาตลอดจนกระทั่งจอร์จจำได้ขึ้นใจ ... 

จอร์จผู้นี้นี่เอง ที่เป็นคุณตา ของคุณยายอเล็กซ์ อีกที และในยุคของจอร์จนี่เอง ที่เริ่มจะได้เป็นอิสระจากความเป็นทาส 
…เรื่องราวของสาแหรก 7 ชั่วอายุคน ที่เริ่มต้นจากทาสหนุ่มวัย 17 ชาวแกมเบีย ถักทอกลายเป็นหนึ่งในหนังสือที่สำคัญมากๆของโลก…


หนังสือ "รูทส์ - Roots"

รายละเอียดหนังสือ
  • ISBN : 9786165146050 (ปกแข็ง) 
  • ขนาด : 168 x 232 x 10 มม.
  • น้ำหนัก : 2185 กรัม
  • เนื้อในพิมพ์ : ขาวดำ
  • ชนิดกระดาษ : กระดาษถนอมสายตา
  • สำนักพิมพ์ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), บจก.
  • เดือนปีที่พิมพ์ : 2018
  • ชื่อเรื่องต้นฉบับ : Roots


 


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป



 

คุณอาจสนใจ

เครื่องดื่มมหัศจรรย์ เพื่อสุขภาพที่ดี


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  



“ จุลินทรีย์ โพรไบโอติก ที่มีอยู่ในชาหมัก คอมบูชะ ( Kombucha ) สามารถแก้ไขปัญหาของระบบทางเดินอาหาร และลำไส้”

KOMBUCHA ORIGINAL 101 / by Scoby Do it 💖
    เครื่องดื่มชาหมักเพื่อสุขภาพ คอมบูชา หรือ คอมบูชะ ( Kombucha ) Scoby do it คือ เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้ “จุลินทรีย์” ที่อยู่ในชาหมักที่เกิดจากการหมักชา จะมี สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้ 

   >> ดูเพิ่มเติม 




5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (6) การจัดเก็บ (2) การเมือง (48) การศึกษา (127) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (2) เกี่ยวกับสัตว์ (12) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (14) ครู (6) ความเชื่อ (11) ความรู้ (145) คอมมิวนิสต์ (31) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (15) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (27) ทะเล (3) ทัศนะ (47) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรรมชาติ (7) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (2) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (36) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (51) ประท้วง (7) ประเทศไทย (172) ประวัติศาสตร์ (147) ปรัชญาชีวิต (20) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (1) ผลิต (3) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (6) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (3) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (9) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (1) ล้านนา (3) ลาว (4) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (1) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (4) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (36) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (13) สุภาพจิต (5) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (36) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand