คำว่า “โพสพ” หรือที่ท้องถิ่นอยุธยาเรียกว่า “แม่ประสพ” นักนิรุกติศาสตร์สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า “ไพศรพณ์” เป็นชื่อเรียกท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวัณซึ่งเป็นหนึ่งในจตุโลกบาลทั้ง ๔
แม่โพสพ คือ เทพีแห่งต้นข้าว...
ชาวนา เชื่อกันว่า แม่โพสพ เป็นเทวดาผู้หญิงที่คอยดูแล และคุ้มครองต้นข้าวให้เจริญงอกงาม และพิทักษ์รักษามนุษย์ให้อยู่เย็นเป็นสุข หากปฏิบัติดีต่อแม่โพสพ ก็จะทำให้เกิดความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ แต่หากใครปฏิบัติไม่ดี ก็จะได้รับผลตรงกันข้าม
บางท้องถิ่น ก็ออกเสียง หรือเขียนสะกด ที่แตกต่างกันออกไป อาทิ ไพสพ , โภสพ , ไพสบ , ประสพ ,โคสก ก็มี ... ส่วนทางปักษ์ใต้ นอกเหนือจากจะนับถือแม่โพสพซึ่งเป็นเทวดาผู้หญิงแล้ว ยังนับถือเทวดาผู้ชายคือ พ่อโพสพ ด้วย บ้างก็เรียก พ่อโพสีกับแม่โพสพ
คำว่า “โพสพ” หรือ ในคำเรียกท้องถิ่นอยุธยาเรียกว่า “แม่ประสพ” นักนิรุกติศาสตร์ สันนิษฐานว่า น่าจะมาจากคำในภาษาสันสกฤตที่ว่า “ไพศรพณ์” เป็นชื่อเรียก ท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวัณ ซึ่งเป็นหนึ่งในจตุโลกบาลทั้ง ๔ ที่คนไทยนับถือว่าเป็นอสูรอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ที่มีหน้าที่รักษาทิศอุดร และดูแลขุมทรัพย์ของแผ่นดิน
ชื่อท้าวกุเวรในพากย์บาลีว่า เวสฺสวณ พากย์สันสกฤตว่า ไวศฺรวณ เขียนรักษาศัพท์แบบไทยๆ เป็น ไพศรพณ์ (ว แผลงเป็น พ) แล้วลดรูปลงเป็น ไพศพณ์ แล้วถอดรูปการันต์ลงเหลือ ไพศพ ในทำเนียบศักดินาโบราณมีตรา “พระไพสพราช” เป็นตราประจำตำแหน่งเสนาบดีเกษตราธิการแต่ลายในตราเป็นรูปโคทรงเครื่องยืนบนแท่น ซึ่งที่มาของชื่อตรานี้น่าจะได้แก่ พฤษภราช หรือ อุสุภราช อันมีความหมายว่า วัว
ข้อมูลและเรียบเรียง โดย : Sense&Scene
Tweet