ชื่อเรียกวิชาดาบแขนงหนึ่งของไทย ( สยาม) เชื่อกันว่าตกทอดมาจากครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หัวใจของวิชาการฝึกฝน และ เคล็ดวิชา คือ ท่าฟันคือท่ารับ ท่ารับคือท่าฟัน ท่ารุกคือท่ารับ ท่ารับก็คือท่ารุก เขาฟันเราไม่รับ เขารับเราไม่ฟัน จะฟันต่อเมื่อเขาไม่รับ จะรับต่อเมื่อหลบหลีกไม่พ้น
กฎวิชาอาทมาฏ
มีเรื่องต้องหนี หนีไม่ได้ให้สู้ สู้ได้อย่าให้เจ็บ เจ็บได้อย่าให้ตาย
จากท่ากุม (ท่าตั้งต้น) แตกไปอีก ๓ ท่า : คลุมไตรภพ ตลบสิงขร และย้อนฟองสมุทร
จาก ๓ ท่า แตกท่าลูกไม้ไปได้อีก ๑๒ ท่า และยังสามารถแตกท่าทางไปได้อีกนับไม่ถ้วน ขึ้นอยู่กับความสามารถ
ปฏิภาณและไหวพริบ ของผู้ใช้ การต่อสู้ที่ต้องใช้ทักษะชั้นสูง ผู้ที่มีความสามารถเป็นที่รู้จัก คือ ขุนรองปลัดชู แห่งแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ ที่นำกองรบเพียง ๔๐๐ นาย ต่อสู้กับข้าศึกพม่าราว ๒๐,๐๐๐ นาย จนสิ้นใจในสนามรบ เป็นที่มาของชื่อวัดสี่ร้อย ของ อ.วิเศษชัยชาญ ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรชนผู้กล้า
"วิชาดาบอาทมาฏเป็นของสมเด็จพระนเรศวรฯ เป็นวิชาที่รวดเร็ว รุนแรง และอันตรายมาก คนที่จะหัดได้ต้องมีจรรยาบรรณ ห้ามไปทะเลาะเบาะแว้งกับใคร เพราะอาจตีเขาตาย โดยเฉพาะวิชาตัดข้อตัดเอ็น ซึ่งเป็นวิชาสูงสุดของอาทมาฏ คือไม่มีการฟันดาบ แต่มุ่งฟันข้อต่อของร่างกาย"
Admin Bee
Author & Editor
ความรู้รอบตัวสั้นๆ 🌱 Miscellaneous บทความขนาดสั้น เบ็ดเตล็ด เกร็ดความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับ สังคม , ทัศนะ - Social Views , ประวัติศาสตร์ , วัฒนธรรม ,ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แนะนำหนังสือ