ค้นหาบทความ 🙄





2/01/66

Waking up on the wrong side of the bed | แนะนำหนังสือ

ตื่นเช้ามาแล้วรู้สึกหงุดหงิด (ทั้งๆที่ไม่ได้นอนดึก และไม่ได้กำลังจะมีประจำเดือน) หรือที่ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า (waking up on the wrong side of the bed) เป็นสิ่งที่คนจำนวนมากเคยมีประสบการณ์มาก่อน

waking up


บทความโดย :  fb/เรื่องเล่าจากร่างกาย by หมอเอ้ว ชัชพล

ทำไมตื่นมาหงุดหงิด แล้ววันนั้นจึงแย่ทั้งวัน?
เคยเป็นแบบนี้ไหมครับ ?
ตื่นมาตอนเช้า แล้วรู้สึกหงุดหงิด อารมณ์ไม่ดีตั้งแต่ตื่นนอน
มันรู้สึกได้ว่า วันนี้สงสัยจะมีแต่เรื่องไม่ดีต่างๆเกิดขึ้น
แล้ว สุดท้ายมันก็เป็นอย่างที่คิดจริงๆ


   เช้านี้ ผมเป็นแบบนั้นเลยครับ เลยอยากจะเล่าเรื่องนี้ให้ฟังย่อๆ เผื่อใครเป็นแบบเดียวกัน จะได้เตรียมรับมือกับวันไม่ดีไปด้วยกัน

1  ประสบการณ์ที่ว่าตื่นเช้ามาแล้วรู้สึกหงุดหงิด  ( ทั้งๆที่ไม่ได้นอนดึก และไม่ได้กำลังจะมีประจำเดือน) หรือที่ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า ( waking up on the wrong side of the bed) เป็นสิ่งที่คนจำนวนมากเคยมีประสบการณ์มาก่อน

2  มีงานวิจัย ที่ช่วยยืนยันด้วยว่า อารมณ์ตอนตื่นนอนของเรา สามารถมีผลต่อ การทำงานของสมองวันนั้นทั้งวันได้ด้วย

3  เมื่อสมองทำงานได้ไม่ดี  วันนั้นจึงมักจะเต็มไปด้วย ความจำที่ผิดพลาด การตัดสินใจที่ผิดพลาด เล็กๆน้อยๆเต็มไปหมด สุดท้ายวันนั้นจึงมักจะกลายเป็นวันแย่ๆ

      เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว วันไหนที่ตื่นมาตอนเช้า แล้วไม่ค่อยสดชื่น อารมณ์ไม่ค่อยดี อาจจะต้องตระหนัก มีสติ และคอยเตือนตัวเองไว้ตลอดทั้งวันว่า วันนี้เราไม่เต็มร้อย เช่น 
ก่อนจะขับรถออกจากบ้านก็อาจจะตั้งสติ แล้วเตือนตัวเองว่าวันนี้เรา เสี่ยงจะหงุดหงิดระหว่างขับรถได้ง่ายกว่าปกติ หรือถ้าวันนั้นต้องทำงานใหญ่ ต้องตัดสินใจอะไรๆที่สำคัญ อาจจะต้องระวังให้มากกว่าปกติ เป็นต้น
       ส่วนสาเหตุ ของการตื่นมาแล้วหงุดหงิด ไม่สดชื่นนั้น มีมากมายหลากหลาย   

  • อาจจะเป็นจากการนอนที่ไม่ดี มีภาวะอุดตันทางเดินหายใจขณะหลับ แต่นั่นไม่ใช่เรื่องที่เราจะคุยกัน  ( ใครสนใจเรื่องนี้ ลองกูเกิ้ลหา "ภาวะ sleep apnea"
  • อาจเป็นจากการที่เราอดนอนมาหลายวัน จนติดหนี้การนอน นอนเยอะแล้วก็ยังใช้หนี้ไม่หมดแต่นั่นไม่ใช่เรื่องที่เราจะคุยกัน
ที่อยากจะคุยมันเป็นเรื่องของการตื่นจากนาฬิกาปลุกครับ

เรื่องมันมีอยู่ว่า ... ปกติ การหลับของเรามันจะแบ่งเป็นช่วงๆ หรือเรียกว่าเป็น stage ซึ่งแต่ละขั้นที่ว่า มันมีความลึกของการหลับไม่เท่ากัน ( ลึกมากรู้ตัวยาก ลึกน้อยรู้ตัวง่าย )
ถ้าให้เห็นภาพคือ จะเหมือนการดำพุดดำว่ายในน้ำ เริ่มจากตื้นๆก่อน คือระดับ 1 จากนั้นก็ลึกลงไปในระดับ 2-3 (แต่ก่อนแยกเป็น 3 และ 4 หลังๆเรียกรวมเป็น 3 อย่างเดียวไปเลย) จากนั้นก็จะมีระยะพิเศษ ที่เรียกว่า REM ซึ่งย่อมาจากคำว่า rapid eye movement ... ซึ่งแปลตรงตัวก็ได้ว่า ระยะที่ตากลอกไปมาอย่างรวดเร็ว ถ้าเราอดทนมากพอแล้วแอบมองดูเปลือกตาคนข้างๆระหว่างนอนหลับ เมื่อเขาเข้าระยะนี้ เราจะเห็นตา (ที่อยู่ใต้เปลือกตา) กลอกไปมา

     ที่นักวิทยาศาสตร์แยกการหลับออกมาเป็นขั้นๆนี้   ไม่ใช่อะไรครับ  ตอนแรกที่เริ่มศึกษาเกี่ยวกับการนอนหลับ เขาทดลองวัดคลื่นสมองไปด้วย แล้วพบว่า คลื่นสมองระหว่างนอนแต่ละช่วงมันไม่เหมือนกัน 

     เขาก็เดาว่า ในการหลับที่เห็นเงียบๆไปนั้น จริงๆแล้วมันมีการทำงานของสมองที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วง  แต่คำอธิบายว่า แต่ละช่วงสมองทำอะไรนั้น แรกๆนักวิทยาศาสตร์เขาก็ไม่รู้เหมือนกัน
(ตอนนี้พอรู้ละ แต่เรื่องมันยาว ไว้ผมจะเขียนออกมาเป็นหนังสือก็แล้วกันนะครับ)

ประเด็นมันอยู่ตรงนี้ครับ

      ขั้นของการหลับนั้น ปกติมันจะวนไปเรื่อยๆ เช่น 1-2-3-2 แล้วก็ REM  คือ เหมือนกับว่า ขั้นที่ 2 เป็นฐานที่มั่นหลัก จะหลับลึกต้องผ่าน 2 ก่อน จะหลับตื้นลงก็มาผ่าน 2 จะเข้า REM ก็ผ่าน 2 ก่อน วนไปวนมาเช่นนี้เรื่อยๆ รอบนึงก็จะกินเวลาประมาณ 90 นาที 

ดังนั้น  จะเห็นว่า เมื่อนาฬิกาปลุกดัง กริ๊งงงงงง ขึ้น 

... มันก็เหมือนกับว่า มีคนเอื้อมมือลงไปกระชากเราขึ้นมาจากน้ำอย่างรวดเร็ว !!!

ถ้าเวลานั้นเราหลับอยู่ในระดับลึก ตื่นมาเราจะมึนๆ ถ้าเราอยู่แถวตื้นๆ เราจะตื่นง่าย รู้ตัวเร็ว

โดยทั่วไป  ถ้าเรานอนเพียงพอมาตลอด หลังจากนอนไปแล้ว 6-7 ชั่วโมง เราจะว่ายวนเวียนอยู่ในระดับตื้นๆ เยอะหน่อย โอกาสที่นาฬิกาจะดังตอนเราอยู่น้ำตื้นก็มาก แต่ถ้าเราอดนอนมาหลายวัน หรือ นอนไปได้ไม่กี่ชั่วโมง เรามีแนวโน้มจะวนเวียนอยู่ในระดับลึกๆ โอกาสที่จะถูกปลุกตอนกำลังหลับลึกก็จะมาก โอกาสตื่นมางัวเงียก็จะมาก ... 

ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเราใช้ปุ่ม snooze หรือปุ่ม ขออีก 10 นาที เป็นไปได้ว่า ช่วง 10 นาที่นั้น เราอาจจะกำลังดำดิ่งลึกลงไปอีกรอบ และเมื่อนาฬิกาดังขึ้นอีกครั้ง เราก็มีโอกาสที่จะถูกปลุกตอนกำลังหลับลึก  


โดยสรุป   จะเห็นว่า การใช้ปุ่ม snooze นั้น มีโอกาสทำให้เรางัวเงียกว่าเดิม 

วิธีแก้ที่พอจะเป็นไปได้นะครับ

1    นอนให้พอ อันนี้ชัดเจน ไม่ต้องอธิบายมาก

2   นอนให้เป็นเวลาเดิม บ่อยๆ ซ้ำๆ สมองเราจะจำได้ แล้วเมื่อใกล้ถึงเวลาตื่น มันจะวนเวียนอยู่แถวระดับตื้นๆรอ

3  อาจใช้วิธีที่จะช่วยให้เราตื่นขึ้นได้ช้าๆ เช่น เปิดม่านกว้างหน่อย พอให้มีแสงแยงตาตอนเช้าๆ หรือ
ปลุกด้วยเสียงเพลงที่ไม่ดังมาก พอให้รบกวนการหลับทีละน้อย แล้วเราค่อยๆรู้ตัว

4  .... อืม... ยังคิดไม่ออกเหมือนกันครับ เอาเป็นว่า ถ้าเข้าใจหลักการแล้ว ก็พอจะไปปรับใช้ได้เอง  หรือใครมีวิธีดีๆก็แนะนำมาได้นะครับ


หวังว่าจะมีประโยชน์และขอให้ทุกคนรู้สึกสดชื่นตลอดทั้งวันนะครับ


บทความโดย : เรื่องเล่าจากร่างกาย by หมอเอ้ว ชัชพล



https://www.facebook.com/notes/4143183555698958/


  สั่งซื้อ หนังสือ ทางออนไลน์  


หนังสือแนะนำ : เซทหนังสือ เรื่องเล่าจากร่างกาย เล่ม 1-2  

    : หนังสือเล่มนี้จะนำท่านเดินทางไปยังส่วนต่างๆ ของโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยมีคำถาม "ทำไม?" ทำหน้าที่เป็นเหมือนไกด์นำทาง คำถามเหล่านี้เมื่อดูผิวเผินจะเหมือนว่ามันไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่เมื่อการเดินทางของเราสิ้นสุดลง เราจะนำเรื่องราวต่างๆ ที่เราจะได้พบระหว่างทางมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน เพื่อให้เห็นเป็นภาพใหญ่ และเมื่อเราเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้ดีแล้ว เราจะไปดูกันว่าเรื่องเล่าจากร่างกายเหล่านี้ จะช่วยนำทางเราเดินสู่ปัจจุบันและก้าวต่อไปในอนาคตได้อย่างไร | by หมอเอ้ว ชัชพล

     


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป



 

คุณอาจสนใจ

เครื่องดื่มมหัศจรรย์ เพื่อสุขภาพที่ดี


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  



“ จุลินทรีย์ โพรไบโอติก ที่มีอยู่ในชาหมัก คอมบูชะ ( Kombucha ) สามารถแก้ไขปัญหาของระบบทางเดินอาหาร และลำไส้”

KOMBUCHA ORIGINAL 101 / by Scoby Do it 💖
    เครื่องดื่มชาหมักเพื่อสุขภาพ คอมบูชา หรือ คอมบูชะ ( Kombucha ) Scoby do it คือ เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้ “จุลินทรีย์” ที่อยู่ในชาหมักที่เกิดจากการหมักชา จะมี สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้ 

   >> ดูเพิ่มเติม 




5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (6) การจัดเก็บ (2) การเมือง (48) การศึกษา (127) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (2) เกี่ยวกับสัตว์ (12) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (14) ครู (6) ความเชื่อ (11) ความรู้ (145) คอมมิวนิสต์ (31) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (15) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (27) ทะเล (3) ทัศนะ (47) ทำบุญ (5) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรรมชาติ (7) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (2) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (36) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (51) ประท้วง (7) ประเทศไทย (172) ประวัติศาสตร์ (147) ปรัชญาชีวิต (20) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (1) ผลิต (3) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (11) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (6) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (23) โรค (5) โรคระบาด (3) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (9) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (1) ล้านนา (3) ลาว (4) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (3) วัฒนธรรม (1) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (4) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (36) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (13) สุภาพจิต (5) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (36) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand