ค้นหาบทความ 🙄





3/20/65

เรื่องศาสนาอันตรธาน และเรื่องทำนายปัตถเวน

เรื่องศาสนาอันตรธาน เป็นการอธิบายถึง ความเสื่อมของศาสนา เรื่องทำนายปัตถเวนเป็นการอธิบายถึงความเสื่อมของสังคม ใคร่ขอแนะนำให้อ่านหรือศึกษาไว้เป็นหลัก


religion-is-gone

ความคิดความเห็นของคน
โดย พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย

    ใครเป็นอย่างนี้บ้างครับ ?  - เวลารับรู้ ความคิด ความเห็นของคน จากการคุยกัน การอ่าน การฟัง มีอยู่บ่อยๆ ที่เราสงสัยว่า ทำไมเขาจึงคิดอย่างนั้น ? อะไรทำให้เขาคิดอย่างนั้น ? โดยเฉพาะความคิดเห็นเกี่ยวกับศาสนา และสังคม

     คนรุ่นใหม่ที่อายุยังน้อย อาจไม่รู้สึกว่าใครคิดอะไรมองอะไรแปลกประหลาด ทั้งนี้เพราะสิ่งที่ตนสัมผัสอยู่ในชีวิตประจำวันเป็นของร่วมสมัย คือ มองอะไรคิดอะไรก็คล้ายๆ กันไปหมด แต่ถ้าคนรุ่นใหม่คนนั้นมีบุญ อายุยืนไปจนถึงเป็นคนแก่หรือคนสูงอายุ คราวนี้แหละ จะเริ่มรู้สึกว่า ผู้คนในสังคมคิดอะไรทำอะไรแปลกๆ ....  ถึงตอนนั้น ถ้าไม่มีหลักอะไรไว้บ้างก็จะเริ่มหงุดหงิดกับความคิดของผู้คน - ผมก็เคยรู้สึกแบบนั้น

แต่โชคดีที่พอจะมีหลักคิด

       มีอยู่ ๒ เรื่อง ที่ใคร่ขอแนะนำให้อ่านหรือศึกษาไว้เป็นหลัก นั่นคือ

เรื่องศาสนาอันตรธาน และเรื่องทำนายปัตถเวน

  • เรื่องศาสนาอันตรธาน เป็นการอธิบายถึงความ เสื่อมของศาสนา
  • เรื่องทำนายปัตถเวนเป็นการอธิบายถึงความเสื่อมของสังคม

    พระสูตร ที่อธิบายถึงความเสื่อมของสังคม ที่ควรศึกษาไว้ด้วย คือ จักกวัตติสูตร  พอได้หลักแล้ว เห็นการกระทำ และความคิดของคนในปัจจุบัน ก็จะเข้าใจหรือพอเข้าใจได้ หรืออาจจะอุทานกับตัวเองว่า " อ้อ มันอย่างนี้นี่เอง ..."  ขอยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษาสักเรื่องหนึ่ง ..

     ตั้งคำถามว่า ระหว่าง พระที่ปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน กับ พระที่ช่วยเหลือสังคม ท่านชอบพระแบบไหนมากกว่ากัน  ?

      คนสมัยนี้ จะบอกว่า พระที่ช่วยเหลือสังคมดีกว่า...

    เหตุผลคือ พระที่ปฏิบัติเพื่อไปนิพพาน เป็นพระที่ "เอาตัวรอดไปคนเดียว" สังคมไม่ได้ประโยชน์อะไรด้วย
ฟังความคิดเห็นแบบนี้แล้ว ถ้าเรามีหลัก หรือจับหลักได้ เราก็จะเข้าใจได้ทันทีว่า ..

    = ผู้ที่มีความเห็นแบบนี้ ไม่เคยรู้ หรือไม่เข้าใจเป้าหมายของการออกบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา หรือจะว่าเข้าใจคลาดเคลื่อนก็ได้

พระ-ถ้าจะช่วยสังคม จะต้องบวชทำไม ?  เดิมก็เป็นชาวบ้านอยู่แล้ว อยู่เป็นชาวบ้านก็ช่วยสังคมได้มิใช่หรือ


     ถ้าใครแย้งอย่างนี้ เขาก็จะอ้างเหตุผลว่า "บวชเป็นพระช่วยได้มากกว่า" เพราะ เมื่อเป็นพระ ย่อมมีคน " ศรัทธาเลื่อมใส " เป็นผู้นำทำอะไร คนก็พร้อมที่จะสนับสนุน หากเป็นชาวบ้านธรรมดา คนไม่สนับสนุนเหมือนเป็นพระ

     ดูแต่ครูบาศรีวิชัย เป็นตัวอย่าง ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดาจะพาชาวบ้านสร้างทางขึ้นดอยสุเทพสำเร็จหรือ ที่ทำได้ก็ เพราะเป็นพระ ....  เพราะฉะนั้น พระจึงควรช่วยสังคม ไม่ใช่ตั้งหน้าจะไปแต่นิพพาน ..

     ถึงตอนนี้จะควรจะตั้งคำถามให้ลึกเข้าไปอีกชั้นหนึ่งว่า เพราะเหตุอะไรกันเล่า ? เป็นพระแล้วจึงมีคนศรัทธาเลื่อมใสพร้อมที่จะสนับสนุน ?

      ถามสั้นๆ - คนศรัทธาเลื่อมใสพระเพราะอะไร ?

      ตรงนี้แหละที่เราควรจะฉุกคิดได้  เป็นชาวบ้านธรรมดาเหมือนๆ กัน ไม่มีคนศรัทธา แต่พอเป็นพระ มีคนศรัทธา คนศรัทธาพระที่ตรงไหน ?  และตรงนี้แหละถ้ามองไม่ออก ก็จะบอกไม่ถูก หรือบอกผิดไปด้วย คือ คนศรัทธาก็ศรัทธาแบบผิดๆ คนที่เห็นว่าเพราะบวชพระจึงมีคนศรัทธา ก็จะเอาความศรัทธานั้นไปอ้างผิดๆ ตามไปด้วย ...

เรื่องนี้ ผมเคยอธิบายมาแล้ว แต่ไม่เบื่อที่จะอธิบายอีก ...

คือ - เดิมทีโลกนี้ก็ไม่มีพระภิกษุสงฆ์  คนเกิดมา ก็เป็นชาวบ้าน ไม่ได้เป็นพระภิกษุสงฆ์มาตั้งแต่เกิด ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วทรงแสดงธรรมคำสอนและแสดงวิธีที่จะบรรลุถึงพระนิพพาน ก็มีคนที่ฟังแล้วมีศรัทธา ออกบวชตามพระพุทธเจ้าเพื่อปฏิบัติธรรม -ปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุพระนิพพาน  นี่คือเป้าหมายของการบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา

คำขอบวชในพิธีอุปสมบทของชายไทยเคยมีคำว่า “นิพพานะสัจฉิกะระณัตถายะ”  ซึ่งแปลว่า  ..
“เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน”
อยู่ด้วยอย่างชัดเจน

     คำนี้เพิ่งมาถูกตัดออกเมื่อราวๆ ครึ่งศตวรรษที่ผ่านมานี่เอง เมื่อชักจะรู้สึกกันว่า ปัจจุบันนี้ ผู้ขอบวชไม่ได้บวชเพราะ "ตั้งใจจะไปนิพพานจริงๆ"  ถ้ายังมีข้อความนี้ก็เหมือนกับพูดโกหกกัน ...
( แต่ได้ยินว่า บางวัดบางสำนักยังมีคำนี้ปรากฏอยู่ในคำขอบวชด้วย )

      ฝ่ายคนที่มีศรัทธาแต่ยังไม่พร้อมที่จะออกบวช ก็ยินดีพอใจ ที่จะสนับสนุนคนที่ออกบวช ถอดหัวใจออกมาพูดก็เหมือนพูดว่า "-เออ เอ็งเก่ง ข้ายังไม่พร้อม แต่ข้าจะช่วย เรื่องชีวิตความเป็นอยู่ไม่ต้องห่วง ตั้งหน้าปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพานไปเถอะ... "   นี่คือเหตุผลที่ถูกต้องที่ชาวบ้านศรัทธาเลื่อมใสพระ

พระบวชเพื่อจะไปพระนิพพาน ชาวบ้านยินดีด้วย จึงศรัทธาเลื่อมใสสนับสนุนพระ... หลักการที่ถูกต้องเป็นอย่างนี้

แต่ทุกวันนี้ผิดเพี้ยนเบี่ยงเบน บวชแล้วช่วยเหลือสังคมดีกว่าบวชแล้วไปพระนิพพาน-คนรุ่นใหม่ว่าอย่างนี้

     แล้วเราก็พากันจับเอาจุดที่เบี่ยงเบนนั้น มานิยมชมชื่น พร้อมกับมีเหตุผลร้อยแปด ใครเถียงแย้งเป็นอย่างอื่นก็แพ้หมด ผิดหมดด้วย ..

บวชแล้วไปนิพพาน เห็นแก่ตัว
บวชแล้วทำอย่างอื่น-เช่นช่วยสังคม ดีมากๆ

  •   ใครที่เข้าใจไปว่า -บวชแล้วไปนิพพาน เห็นแก่ตัว-ถ้าฉุกคิดสักนิดก็จะรู้ว่าเข้าใจผิดถนัด

พระพุทธเจ้าท่านบรรลุพระนิพพานเมื่ออายุ ๓๕ แล้วทำงานรับใช้มวลมนุษยชาติจนเสด็จดับขันธปรินิพพานเมื่ออายุ ๘๐ ท่านไม่ได้ทิ้งสังคมไปไหน ..

    พระอรหันตสาวกเป็นอเนกอนันต์ บรรลุพระนิพพานแล้วก็ยังอยู่กับสังคม ทำประโยชน์ให้สังคมกันทุกองค์
มีพระอัญญาโกณฑัญญะองค์เดียวที่ทำงานช่วยสังคมอยู่เพียงระยะหนึ่งแล้วทูลขออนุญาตไปอยู่ป่าหิมพานต์ เนื่องจากท่านอายุมาก ไม่คล่องตัวเหมือนตอนแรกๆ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระอรหันตสาวกทั้งหลายทำงานรับใช้สังคมได้อย่างสะดวกใจ ไม่ต้องมามัวเกรงใจท่าน เนื่องจากท่านอาวุโสกว่าพระอรหันต์ทั้งหมดในเวลานั้น

    ยืนยันได้ว่า ผู้บรรลุพระนิพพานไม่ใช่คนเอาตัวรอด ไม่ใช่คนเห็นแก่ตัว ตรงกันข้ามเป็นกลุ่มคนที่ทำงานรับใช้สังคมกันมากที่สุด โดยใช้ทรัพยากรของสังคมน้อยที่สุด แต่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

    บรรลุพระนิพพานเป็นคนเห็นแก่ตัว เอาตัวรอดไปคนเดียว - ถูกวาดภาพให้เข้าใจผิดจนถึงระดับโลก นั่นคือ จัดแจงเรียก พระพุทธศาสนาเถรวาทว่า “หีนยาน” หมายความว่า ยานที่คับแคบ ใจแคบ ไปได้แต่ตัวคนเดียว ไม่ช่วยคนอื่น ไม่ช่วยสังคม

     พวกเราส่วนมากก็พลอยยอมรับความเข้าใจผิดๆ แบบนี้ไปกับเขาด้วย


   ข้อเท็จจริงกลายเป็นว่า ผู้ปฏิบัติธรรมจนบรรลุพระนิพพานแล้ว กลับทำงานช่วยเหลือผู้อื่น -ช่วยเหลือสังคมได้อย่างมหาศาล เพราะตัวเองถึงจุดหมายปลายทางแล้ว หวนกลับมาช่วยผู้อื่นได้อย่างเต็มที่ ไม่มีอะไรจะต้องห่วง ... ไม่ใช่ว่าถึงปลายทางแล้วหายลับไปจากโลกอย่างที่ถูกวาดภาพผิดๆ

   พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกเป็นอเนกอนันต์ทำงานช่วยเหลือสังคมเป็นประจักษ์พยานอยู่โต้งๆ ทำไมจึงมองไม่เห็นข้อเท็จจริง

     ไปเอาภาพ-เถรวาทไปนิพพานเอาตัวรอดไปคนเดียว-มาจากไหน?

     ผู้ที่ยังไม่บรรลุพระนิพพานจะช่วยมนุษย์ที่ยังไม่บรรลุให้ไปพระนิพพานได้ด้วยวิธีไหนจึงอ้างได้ว่าเป็นยานขนาดใหญ่พาคนไปได้มากๆ - ก็ช่วยกันไปเถิด เราไม่ได้ขัดขวางโต้แย้งอะไร

     แต่ที่บอกชาวโลกว่า - เถรวาทไปนิพพานเอาตัวรอดไปคนเดียวนั้น ต้องขอแย้งว่า เข้าใจผิดอย่างยิ่ง
แต่พระต้องช่วยสังคมในฐานะเป็นพระภิกษุสงฆ์ คือทำงานของพระ  ไม่ใช่เอางานของชาวบ้านมาทำหรือทำงานแทนชาวบ้าน  ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องปรับวิธีคิดหรือมุมมองให้ถูก ถ้ามองคนละมุมหรือมองผิดมุม ก็จะขัดใจกัน

ขอให้พิจารณาจากหลักการในพระไตรปิฎกต่อไปนี้ --

พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ภิกษุที่บวชเข้ามาในพระศาสนาแล้วไปไม่ถึงเป้าหมายปลายทางของพระศาสนา เกิดจากเหตุหลายประการ-อุปมาเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ แต่ลอยไปไม่ถึงทะเลเพราะเหตุหลายประการ-หนึ่งในเหตุหลายประการก็คือ “มนุสฺสคฺคาโห ถูกมนุษย์จับไว้”
.....................................
กตโม จ ภิกฺขุ มนุสฺสคฺคาโห ฯ
ดูก่อนภิกษุ ถูกมนุษย์จับไว้เป็นไฉน?

อิธ ภิกฺขุ คิหีหิ สํสฏฺโฐ วิหรติ สหนนฺทิ สหโสกี
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้าอยู่กับพวกคฤหัสถ์

สุขิเตสุ สุขิโต
เขาสุขก็สุขด้วย

ทุกฺขิเตสุ ทุกฺขิโต
เขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย

อุปฺปนฺเนสุ กิจฺจกรณีเยสุ อตฺตโน โยคํ อาปชฺชติ ฯ
เขามีกิจกรณีย์เกิดขึ้น ก็เอาตัวเข้าร่วมไปกับเขาด้วย

อยํ วุจฺจติ ภิกฺขุ มนุสฺสคฺคาโห ฯ
ดูก่อนภิกษุ นี้เรียกว่าถูกมนุษย์จับไว้

.....................................
ที่มา: ปฐมทารุขันธสูตร สังยุตนิกาย สฬายตนวรรค
พระไตรปิฎกเล่ม ๑๘ ข้อ ๓๒๒-๓๒๔
.....................................

     ทัศนะที่เห็นว่า พระที่ช่วยสังคมดีกว่าพระปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพานนี้ ก็เท่ากับคำประกาศเตือนว่า ศาสนาอันตรธานเริ่มต้นในยุคสมัยเรานี่แล้ว

     ทั้งนี้เพราะในเรื่องศาสนาอันตรธาน ท่านบรรยายไว้ว่า ภิกษุในอนาคตจะมีครอบครัว มีธุรกิจ มีบุตรภรรยาเหมือนชาวบ้าน เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร?

เป็นได้อย่างนี้ --

     ... แรกๆ ก็เข้าไปช่วยชาวบ้าน เขาขาดคนไถนา ก็ไปช่วยเขาไถนา เขาขาดคนเกี่ยวข้าว ก็ไปช่วยเขาเกี่ยวข้าว สรุปว่าเขาขาดคนทำอะไร พระก็เข้าไปช่วยเขาทำ ชาวบ้านก็ชื่นชมว่า พระช่วยชาวบ้านดีแท้ เห็นว่าพระทำงานเหมือนชาวบ้าน เป็นเรื่องดี เป็นเรื่องปกติไปทีละเล็กทีละน้อย จนในที่สุด ... พระทำอะไร มีอะไร เป็นอะไร เหมือนที่ชาวเขาทำเขามีเขาเป็น ชาวบ้านก็เห็นว่าเป็นเรื่องปกติไปหมด ....

เพราะฉะนั้น ภิกษุในอนาคตมีครอบครัว มีธุรกิจ มีบุตรภรรยาเหมือนชาวบ้าน ชาวบ้านจึงเห็นว่าเป็นเรื่องปกติ !!!

มันก็เริ่มต้นไปจากทัศนะที่ว่า - พระช่วยชาวบ้านเป็นเรื่องดีแท้-นี่เอง """

    เราท่านทุกวันนี้อยู่ไม่ทันได้เห็นสภาพเช่นนี้หรอก หลายท่านอาจแย้งว่า -มันจะเป็นแบบนั้นได้ยังไง พระมีลูกมีเมียเป็นพระได้ยังไง ..

ก็ทำนองเดียวกับ-ถ้าให้คนไทยเมื่อ ๒๐๐ ปีที่แล้ว ฟื้นขึ้นมาเห็นพระทุกวันนี้ทำนั่นทำนี่  ( เช่นพระขับรถไปไหนมาไหนเหมือนชาวบ้าน เป็นต้น ) เขาก็จะต้องบอกว่า มันเป็นแบบนี้ได้ยังไง พระทำยังงี้เป็นพระได้ยังไง-ฉันใดก็ฉันนั้นนั่นแล

......................

ทั้งหมดที่เขียนมานี้ก็เพื่อชวนคิดเท่านั้น  ถ้าเราคิดถูก เห็นถูก เราก็จะวางท่าทีต่อเรื่องนั้นๆ ได้ถูก ไม่ไปทำ ในสิ่งที่ไม่ควรทำ และไม่ละเลยเพิกเฉยต่อสิ่งที่ควรทำ


พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย
fb : ทองย้อย แสงสินชัย
๑๙ มีนาคม ๒๕๖๕
๑๗:๔๘

 
 


Admin Bee

สนับสนุน Misc.Today

นี่คือ ลิ้งค์พันธมิตร หรือที่เรียกว่า affiliate link ซึ่งหมายความว่า... หากคุณคลิ๊กลิ้งค์นี้ และซื้อผลิตภัณฑ์ อะไรก็ได้ ฉันจะได้ค่าคอมมิชชั่นเล็กน้อย สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนเว็บไซด์ และช่วยให้กำลังใจเราต่อไป



 

คุณอาจสนใจ

เครื่องดื่มมหัศจรรย์ เพื่อสุขภาพที่ดี


  ชาหมักคอมบูชะ Scoby doit  



“ จุลินทรีย์ โพรไบโอติก ที่มีอยู่ในชาหมัก คอมบูชะ ( Kombucha ) สามารถแก้ไขปัญหาของระบบทางเดินอาหาร และลำไส้”

KOMBUCHA ORIGINAL 101 / by Scoby Do it 💖
    เครื่องดื่มชาหมักเพื่อสุขภาพ คอมบูชา หรือ คอมบูชะ ( Kombucha ) Scoby do it คือ เครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการหมัก มีสรรพคุณทางยา โดยมี “จุลินทรีย์ โพรไบโอติก Probiotics” ที่เป็นพระเอกของเครื่องดื่มชนิดนี้ “จุลินทรีย์” ที่อยู่ในชาหมักที่เกิดจากการหมักชา จะมี สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เบาหวาน มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้ 

   >> ดูเพิ่มเติม 




5 บทความ ยอดนิยม ในรอบ 30 วัน

🟡 โพสต์แนะนำ

คริสเตียนไซออนนิสท์ คือใคร ? - Christian Zionist

ช่วงนี้ ผมติดตามหาข้อมูลเกี่ยวกับ อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์เสียมาก เพราะผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การที่เราจะ...

Popular Posts

แนะนำหนังสือ


  BOOKs OF THE DAY








ผู้สนับสนุน







Xiaomi Kingsmith Walking Pad

 Xiaomi Kingsmith Walking Pad R1 Pro/ R2 ลู่เดิน/วิ่งไฟฟ้า พับเก็บได้ สำหรับการออกกำลังกายภายในบ้าน >> คลิ๊กดูเพิ่มอีก


ป้ายกำกับ / Tag labels

2475 (1) กฎหมาย (4) กฐิน (2) กรรม (5) กระเป๋า (3) กรุงเทพฯ (19) กรุงศรีอยุธยา (11) กล้องถ่ายภาพ (7) กลอน (4) กลาโหม (9) การเกษตร (6) การจัดเก็บ (2) การเมือง (47) การศึกษา (125) กิจกรรมกลางแจ้ง (2) กีฬา (3) เกษตร (2) เกี่ยวกับสัตว์ (12) ไกลกังวล (1) ขงจื้อ (1) ขนม (2) ขอมไม่ใช่เขมร (6) ข้าว (3) ข่าวสาร (22) ขิง (1) เขมร (10) โขน (2) คณะราษฎร (10) คติธรรม (1) คนเล่านิทาน (14) ครู (6) ความเชื่อ (10) ความรู้ (144) คอมมิวนิสต์ (31) คำภีร์ (2) คำสอน (11) เครื่องบิน (7) เงินตรา (4) จอมพล ป. พิบูล (1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม (13) จีน (53) ช้าง (1) ชายแดนใต้ (5) ญี่ปุ่น (15) ดนตรีไทย (1) ดอกไม้ (1) เด็ก (5) เดนมาร์ก (1) ต้นไม้ (4) ตลาดนัด (1) ตำรวจ (2) เตา (1) เตือนภัย (15) แต่งงาน (1) ทรัพยากร (2) ทวิตเตอร์ (1) ทหาร (9) ท่องเที่ยว (27) ทะเล (3) ทัศนะ (47) ทำบุญ (4) ทำอาหาร (5) เทคโนโลยี (13) โทรศัพท์มือถือ (2) ธนบัตร (1) ธนาคาร (4) ธรรมชาติ (7) ธรรมในคำกลอน (1) ธรรมะ (6) ธรรมาธิปไตย (2) ธุรกิจ (10) นราธิวาส (3) นวดไทย (1) นักบิน (1) นักเรียน (4) นางใน (1) นาซี (1) นายกรัฐมนตรี (2) น้ำมัน (1) นิทานพื้นบ้าน (1) นิยาย (3) นิวเคลียร์ (1) เนปาล (1) แนะนำสินค้า (36) โนรา (1) ในหลวง ร.10 (1) ในหลวงรัชกาลที่ 9 (15) บริการ (3) บริหาร (3) บ่อน (1) บัตรเครดิต (2) บัตรประชาชน (1) บุคคล (42) บุญ (3) บุหรี่ (1) เบตง (1) แบรนด์ไทย (5) โบราณวัตถุ (13) โบราณสถาน (6) โบสถ์ (2) ประชาธิปไตย (50) ประท้วง (7) ประเทศไทย (170) ประวัติศาสตร์ (147) ปรัชญาชีวิต (20) ปรีดี (2) ปลูกต้นไม้ (3) ปูติน (1) ผลไม้ (1) ผลิต (3) ผิวสี (1) แผ่นดินไหว (1) ฝรั่งเศส (6) พม่า (6) พยาบาล (1) พระเจ้าตากสินมหาราช (2) พระนเรศ (1) พระพุฒาจารย์ (1) พระพุทธเจ้า (1) พระราชกรณียกิจ (4) พระสงฆ์ (10) พราหมณ์ (1) พิบูลสวัสดี (1) พิพิธภัณฑ์ (9) พุทธทาส (1) พุทธศาสนา (9) เพชรบุรี (3) เพลง (8) เพลงผ้า ปรพากย์ (1) แพทย์ (4) ฟาโรห์ (1) ไฟ (4) ไฟฉาย (1) ไฟฟ้า (1) ภาคใต้ (6) ภาคอีสาน (1) ภาษา (9) ภาษิต (1) ภูเขาไฟ (1) ภูมิปัญญา (19) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ (1) มวยไทย (5) มาเลเซีย (1) มุมไบ (2) มุสลิม (2) แม่ (1) ไม้ไผ่ (1) ยา (1) ยิว (3) ยูนนาน (1) เยาวชน (1) เยาวราช (1) รถเมล์ (3) รองเท้า (2) ระเบิด (3) รัชกาลที่ ๒ (1) รัชกาลที่ ๔ (3) รัชกาลที่ ๕ (7) รัชกาลที่ ๖ (1) รัชกาลที่7 (8) รัชกาลที่ ๘ (5) รัฐประหาร (6) รัสเซีย (12) ราชาศัพท์ (1) รามเกียรติ์ (1) เรือ (2) เรื่องเก่า (80) เรื่องเล่า (22) โรค (5) โรคระบาด (3) โรงงาน (1) โรงพยาบาล (9) โรงเรียน (16) โรฮิงญา (1) ลอนดอน (1) ลัทธิ (2) ลัทธิมาร์กซ์ (1) ล้านนา (3) ลาว (4) เลือกตั้ง (9) โลก (5) โลกร้อน (2) วัฒนธรรม (1) วัด (14) วันแม่ (1) วันสำคัญ (5) วิทยาศาสตร์ (9) วิทยุ (2) วิหาร (4) เวียดนาม (4) ไวรัล (1) ศัพท์ (1) ศาสนา (36) ศิริราช (5) ศิลปะ (4) ศิลปาชีพ (1) เศรษฐกิจ (3) สงขลา (1) สงคราม (50) สถานีรถไฟ (1) สนามบิน (2) สเปน (1) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร (2) สมัยเมจิ (1) สยาม (12) สวนสนุก (1) สวิตเซอร์แลนด์ (2) สังคม (36) สำนวน (8) สิ่งประดิษฐ์ (13) สื่อ (3) สุขภาพ (13) สุภาพจิต (5) สุสาน (1) หนังแท้ (4) หนังสือ (31) หนังสือพิมพ์ (1) ห้องเรียน (4) เหมาเจ๋อตง (2) เหรียญ (1) อเมริกา (36) ออสเตรีย (1) อังกฤษ (6) อาชีพ (1) อาหาร (16) อาหารจานโปรด (9) อิตาลี (3) อินเดีย (8) อิสราเอล (3) อียิปต์ (1) อีสาน (1) แอปพลิเคชัน (4) ไอร์แลนด์ (1) cpr (1) deep state (1) democracy (1) Diarymisc (3) facebook (1) handmade (1) leather (1) metaverse (1) nomad (6) Nuclear (1) OPENUP (1) powerbank (1) shopee (1) Social media (2) social views (114) startup (1) UNESCO (4) xiaomi (1)


Miscellaneous | Misc.Today 🌱 . ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand