ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ลมที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศของไทย คือ ลมประจำปี ลมประจำฤดู และลมประจำเวลา การนำลมมาใช้ประโยชน์ ผลิตไฟฟ้าด้วยลม จะต้องอาศัยเครื่องจักรกลสำคัญ คือ
“กังหันลม” เพื่อการเปลี่ยน พลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลม เป็นพลังงานกล ก่อนนำไปใช้ประโยชน์ ที่สำคัญคือ พลังงานลม ใช้ได้ไม่มีวันหมด และเหนือสิ่งอื่นใดที่สำคัญยิ่งคือ กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากลม ยังไม่ปล่อยของเสียที่เป็นอันตรายต่อ สภาพแวดล้อม อย่างเช่นกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากวิธีอื่นๆ
ความเร็วลม ที่เหมาะแก่การใช้ผลิตไฟฟ้า เฉลี่ยทั้งปี ควรไม่น้อยกว่าระดับ 6.4 – 7.0 เมตรต่อวินาที ที่ความสูง 50 เมตร จึงจะสามารถ ผลิตไฟฟ้าจาก กังหันลม ได้ดี ภูมิประเทศที่มีความเร็วลมเหมาะสมได้แก่บริเวณฝั่งทะเลแถบยุโรป เหนือ หรือช่องเขาในอเมริกา
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ลมที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศของไทย คือ ลมประจำปี ลมประจำฤดู และลมประจำเวลา
- ลมประจำปี เป็นลมที่พัดอยู่เป็นประจำตลอดทั้งปีในภูมิภาคส่วนต่างๆ ของโลกมีความแตกต่างกันไปในแต่ละเขตละติจูดของโลก เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในบริเวณเขตศูนย์สูตรอิทธิพลของลมประจำปีจึงไม่มีประโยชน์ในการนำมาใช้
- ลมประจำฤดู เป็นลมที่พัดเปลี่ยนทิศทางตามฤดูกาล เรียกว่า ลมมรสุม ได้แก่
- ลมมรสุมฤดูร้อน พัดในแนวทิศใต้ และตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม
- ลมมรสุมฤดูหนาว พัดในแนวทิศเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์
- ลมประจำเวลา เป็นลมที่เกิดขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศระหว่าง 2 บริเวณในระยะเวลาสั้นๆ ได้แก่ ลมบก , ลมทะเล , ลมภูเขา และลมหุบเขา บริเวณที่อยู่ตามชายฝั่งจะได้รับอิทธิพลของลมบก ลมทะเลสูงมาก
ภูมิประเทศของประเทศไทย มีความเร็วลมเฉลี่ยของประเทศอยู่ในระดับปานกลาง – ต่ำ คือ ต่ำกว่า 4 เมตร/วินาที
กังหันลมแบ่งออกตามแกนหมุนของกังหันลม เป็น 2 ชนิด ได้แก่
- กังหันลมแกนหมุนแนวตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุน และใบพัดตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ
- กังหันลมแกนหมุนแนวนอน (Horizontal Axis Wind Turbine) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ โดยมีใบพัดเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลม
ข้อดี – ข้อจำกัด ของการผลิตไฟฟ้า
จาก กังหันลม (Wind Power Plant)
ข้อดี
- เป็นแหล่งพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ ไม่มีต้นทุน
- เป็นแหล่งพลังงานที่ไม่มีวันหมดสิ้น
- เป็นพลังงานสะอาด
- ไม่กินเนื้อที่ ด้านล่างยังใช้พื้นที่ได้อยู่
- มีแค่การลงทุนครั้งแรก ไม่มีค่าเชื้อเพลิง
- สามารถใช้ระบบไฮบริดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ กลางคืนใช้พลังงานลมกลางวันใช้พลังงานแสงอาทิตย์
- ภาครัฐให้การสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมแก่ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก/รายเล็กมาก โดยกำหนดอัตราส่วนเพิ่มการรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานลม 2.50 บาทต่อหน่วย หากเป็นโครงการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้อัตราเพิ่มพิเศษอีก 1.50 บาทต่อหน่วย เป็น 4.00 บาทต่อหน่วย ระยะเวลา 10 ปี
ข้อจำกัด
- ลมในประเทศไทยมีความเร็วค่อนข้างต่ำ
- พื้นที่ที่เหมาะสมมีจำกัด
- ขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศ บางฤดูอาจไม่มีลม
- ต้องใช้แบตเตอรี่ราคาแพงเป็นแหล่งเก็บพลังงาน
- ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับศักยภาพลมในประเทศ และขาดบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญ
ข้อมูลโดย : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน , http://reca.or.th/
Tweet