อหิวาตกโรค (Cholera) ในอดีตเรียกว่า “โรคป่วงใหญ่” หรือ “โรคลงราก” เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วง อุจาระเป็นน้ำ และอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า "ลงราก"
ทำให้เกิดอาการท้องร่วงและอาเจียนอย่างรุนแรง จนผู้ป่วยขาดน้ำและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว มีพาหะคือแมลงวัน และการแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำ หรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก
ผู้รับเชื้อสามารถแสดงอาการได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง หรือ ประมาณ 5 วัน ซึ่งหากผู้นั้นแม้ไม่มีอาการ แต่ก็สามารถแพร่เชื้อได้ โรค อหิวาตกโรค สามารถติดต่อผ่านแหล่งน้ำและอาหาร จึงแพร่ระบาดได้เป็นวงกว้าง
การระบาดของ อหิวาตกโรค ทั่วโลก ครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๖๐ – ๒๓๖๗)
โดยมีจุดเริ่มต้นจากอินเดีย
ใน สมัยรัชกาลที่ ๒ ( พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของอหิวาตกโรคเมื่อ จุลศักราช 1182 หรือ พ.ศ. ๒๓๖๓ ซึ่งตรงกับการระบาดทั่วโลก (Pandemic ) ครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๖๐ – ๒๓๖๗) โดยมีจุดเริ่มต้นจากอินเดีย แล้วระบาดมาถึงสยามผ่าน เก
โรคระบาด ในสยาม อหิวาตกโรค ครั้งนี้ ร้ายแรงท
ต่อมาสมัยในหลวง ร.3 ได้เกิดห่าลงในพระนครอีกครั้ง เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2392 ปีระกา แต่ไม่รุนแรงเท่ากับครั้งแรกใน สมัยรัชกาลที่ ๒
ได้เกิดอหิวาตกโรค ระบาดในสยามอีกหลายครั้ง ซึ่งมักจะตรงกับการระบาดครั้งใหญ่ในต่างประเทศทั่วโลก เช่นเดิม จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ เกิดการระบาด ถึง ๒ ครั้ง คือ ปี ๒๔๑๕ และ ใน ปีพ.ศ. ๒๔๒๔ ในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวถึง ๔๘ แห่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า โรงพยาบาลเอกเทศ เพื่อรักษาผู้ป่วยอหิวาตกโรค จนพัฒนาไปสู่การจัดตั้งโรงพยาบาลถาวร คือ โรงศิริราชพยาบาล ในเวลาต่อมา ในเวลานั้นมีแพทย์ชาวตะวันตก , มิชชันนารี , บุคลากรด้านสาธารณสุข จากต่างประเทศ เข้ามาทำงานในสยามจำนวนหนึ่ง โรคห่าจึงมีความรุนแรงที่อยู่ในขอบเขตจำกัด ชาวสยามมีความรู้เรื่องการกินอาหาร เรื่องน้ำดื่มที่ต้องต้มให้สุก ถ่ายอุจจาระถูกสุขลักษณะ ชาวสยามรับทราบเรื่องสุขอนามัยเพื่อการป้องกันโรคห่าได้มากขึ้น