สนามหลวง หรือที่เรียกกันแต่เก่าก่อนว่า ทุ่งพระเมรุ ตามคำเรียกขาน ด้วยเหตุเพราะพื้นที่นี้ ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ สำหรับ จัดพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศ์ … นับตั้งแต่
เริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัย “รัชกาลที่ ๑” และได้ถูกเปลี่ยนชื่อจาก ทุ่งพระเมรุ เป็น ท้องสนามหลวง เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๘ ในสมัย รัชกาลที่ ๔สนามหลวง หรือ ทุ่งพระเมรุ เป็นที่โล่งๆ ไม่มีสิ่งปลูกสร้างถาวรใดเกิดขึ้น พื้นที่แห่งนี้ ตั้งอยู่ระหว่าง พระบรมมหาราชวัง (เรียกว่าวังหลวง) และ พระราชวังบวรสถานมงคล (เรียกว่าวังหน้า) ขนาดของพื้นที่สนามหลวง หรือ ทุ่งพระเมรุ นี้ ไม่ได้มีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง ซึ่งมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดที่เราเห็นในปัจจุบันเท่านั้นเอง จนเมื่อใน สมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ปรับขยายสนามหลวง จากเดิม ขยายไปยังพื้นที่ พระราชวังบวรสถานมงคล (เรียกว่า “วังหน้า” ) โดยการ รื้อแนวกำแพงด้านทิศตะวันออกของ พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และ เพื่อให้เกิดความร่มรื่น ทรงโปรดฯ ให้ปลูกต้นมะขาม จำนวน 365 ต้น ไว้โดยรอบท้องสนามหลวง และตัดถนนโดยรอบ
การทำนาที่ “ทุ่งพระเมรุ” ? ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ไทยกับญวนมีเรื่องวิวาทกันเกี่ยวกับดินแดนเขมร จึงโปรดฯ ให้มีการทำนาที่ “ทุ่งพระเมรุ” เพื่อที่จะให้ญวนเห็นว่าไทยเป็นบ้านเมืองที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร มีเสบียงอาหารพร้อม ที่จะทําสงครามกับญวนได้เต็มที่ เพราะแม้แต่ข้างพระบรมมหาราชวังก็มีการทํานากัน
สนามหลวง เคยเป็น สนามแข่งม้า และ สนามกอล์ฟ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
สนามหลวงหลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี ๒๔๗๕ …
ในสมัย “รัชกาลที่ ๗”
พระราชพิธีแต่เดิม ซึ่งเคยถือปฏิบัติสืบต่อมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่น พระราชพิธีสนามต่างๆ พระราชพิธีตรียัมพวาย พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ก็ถึงกับหยุดชะงักลง บางพระราชพิธี สูญสิ้นไป ไม่นำมาปฏิบัติต่อไปอีกเลย จนกระทั่ง บางพระราชพิธีได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ใช้ท้องสนามหลวงเป็นพื้นที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ
ตลาดนัดสนามหลวง เกิดขึ้นในปี ๒๔๙๑
ในสมัย “รัชกาลที่ ๙” พื้นที่สนามหลวง ได้ถูกจัดขึ้นเป็น ตลาดนัด ขายสินค้าต่างๆ โดยเบื้องต้น จะเป็นสินค้า จาก พืชสวน พืชไร่ ของเกษตรกร และเริ่มมีสินค้าอื่นๆที่หลากลายมากยิ่งขึ้น เช่น ตลาดนัดหนังสือ นับว่าเป็นแห่งแรก และแห่งเดียวที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย มีทั้งหนังสือเก่าและใหม่ ตำราเรียนต่างๆ ตลาดนัดสนามหลวง เปิดขายเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ผ่านไปเป็นเวลา 30 ปี รัฐบาลโดย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ต้องการใช้สนามหลวงเป็นสถานที่งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี จึงมี ย้าย ตลาดนัดสนามหลวง ไปตั้งที่ บริเวณสวนจตุจักรด้านใต้ เรียกว่า “ตลาดนัดสวนจตุจักร” ในปี ๒๕๒๕
วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๒๐ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียน “สนามหลวง” สนามขนาดใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่ ๗๔ ไร่ ๖๓ วา เป็นโบราณสถาน ลงในราชกิจจานุเบกษา
สนามหลวง นั้นมีความเป็นมา อยู่คู่กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นสมบัติของชาติของประชาชนทั้งประเทศ และได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีหรือประเพณีตามเทศกาลอยู่ตลอดมา เช่น พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จัดงานวันขึ้นปีใหม่ งานเทศกาลสงกรานต์ งานวันเฉลิมพระชนมพรรษา และงานสำคัญๆ ในอดีตอีกมาก เช่น งานสมโภชรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระ-ราชดำเนินกลับจากทวีปยุโรป งานพิธีประกาศสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ-เกล้าเจ้าอยู่หัว หรืองานฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษในรัชกาลปัจจุบัน ตลอดจนเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเล่นและชมกีฬาว่าวในฤดูร้อน จึงสมควรรักษาสนามหลวงไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป
ค้นหาเรื่องราวเพิ่มอีกเกี่ยวกับ สนามหลวง
ตลาดนัดหนังสือ สนามหลวง : https://www.sarakadeelite.com/pic-talks/sanam-luang-in-the-past
ภาพและเรื่องราวเก่า ของสนามหลวง : http://topicstock.pantip.com/chalermkrung/topicstock/2010/09/C9646730/C9646730.html
https://www.trip.com/travel-guide/Bangkok/SanamLuang-77036
https://www.baanjomyut.com/library_2/sanam_luang/index.html
Smart Wallet bi-fold
100% Handstitcing Made with 💖
กระเป๋าสตางค์หนังแท้ ที่ใช้กรรมวิธี การตัดเย็บด้วยมือ ( Hand-stitcing 100% ) จากวัสดุหนังแท้ ชนิดฟอกฝาด ที่มีคุณลักษณะ ของความแข็งแกร่ง ทำให้มีอายุการใช้งานสูง ดีไซน์การออกแบบที่เน้นความเรียบง่ายกระทัดรัด ช่อง full-lengthbillfold อยู่ด้านนอก
>> ดูเพิ่มเติม
Tweet