
คำว่า
‘กุเรื่อง’ ในสังคมไทย
มีที่มาอย่างไร หลายคนพอจะทราบ
และอีกหลายคนยังไม่รู้
คำว่า กุเรื่อง ถูกเรียกขึ้นมากกว่า
100 ปีแล้ว
โดยใช้คำว่า "กุ" ซึ่งเป็นพยางค์ขึ้นต้นของชื่อ นายกุหลาบ มาเป็นศัพท์สแลง ที่แปลว่าโกหก หรือสร้างเรื่อง
ก.ศ.ร. กุหลาบ หรือ นายกุหลาบ ตฤษณานนท์ (หรือ ตรุษ ตฤษณานนท์ )
เป็นที่รู้กันทั่วไปในแวดวงนักเขียนและวงวรรณกรรมว่า ก.ศ.ร.กุหลาบ เป็นนักวิชาการและนักเขียนอิสระผู้ทำให้หลักฐานอันแท้จริงทางประวัติศาสตร์คลาดเคลื่อนเสียหายไปมิใช่น้อย ด้วยการสร้างหลักฐานเท็จ มีเจตนาดัดแปลงเพิ่มเติมข้อมูลต่างๆ ขึ้นจากเอกสารของทางราชการ แล้วพิมพ์ออกเผยแพร่เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด เป็นประโยชน์ในการสร้างผลกำไรทางธุรกิจให้ตนเอง
ก.ศ.ร. กุหลาบ เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ รวมอายุได้ ๘๗ ปี
จึงเป็นที่เข้าใจกันดีในสมัยนั้นจนปัจจุบัน กับ
คำว่า “เรื่องที่ถูกกุขึ้นมา
เชื่อถือไม่ได้” คำว่า กุ
ก็คือ ก.ศ.ร.
กุหลาบ นั่นเอง …
เมื่อ ก.ศ.ร.กุหลาบ “กุ” เรื่อง พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี