แต่ดินที่สกปรกกลับมอบความอุดมสมบูรณ์"
ข้อคิดคมคาย ที่เขียนโดย หงจื้อเฉิง (洪自誠 - Hóng Zìchéng)
ในสมัยราชวงศ์หมิงของจีน
🔴 “ 水至清则无鱼,人至察则无徒 ”
“น้ำใสเกินไป ปลาจะไม่อยู่, คนช่างจับผิดเกินไป ย่อมไม่มีมิตร”
หงจื้อเฉิงจึงยกอุปมาแบบธรรมชาติ เช่น
🔴 “ 水清则无鱼,泥浊反而滋养万物 ”
“น้ำใสไร้ปลา ดินโคลนกลับอุ้มชีวิตไว้ได้”
"น้ำที่ใสกระจ่างไม่อาจทำให้ปลาอยู่รอดได้"
เปรียบเหมือนความบริสุทธิ์ หรือความสมบูรณ์แบบ ที่มากเกินไป ซึ่งในบางบริบท อาจไม่เอื้อต่อการดำรงอยู่ หรือการเติบโต เช่น หากน้ำใสสะอาดจนไม่มีตะกอน หรือแพลงก์ตอน เลย ....ปลาก็อาจจะไม่มีอาหารกิน หรือสภาพแวดล้อมที่ไร้ซึ่งความท้าทายหรือข้อบกพร่อง อาจทำให้สิ่งมีชีวิตอ่อนแอ และไม่สามารถปรับตัวได้เมื่อเจอสถานการณ์จริง...
"แต่ดินที่สกปรกกลับมอบความอุดมสมบูรณ์ให้"
เปรียบได้กับ สิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบ มีมลทิน หรือมีความซับซ้อน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว กลับเป็นแหล่งกำเนิดของชีวิต และความเจริญงอกงาม ดินที่ (แลดูเหมือน) "สกปรก" ในที่นี้ หมายถึงดิน
ที่มีอินทรียวัตถุ มีแร่ธาตุ และสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ปะปนอยู่ ซึ่งทั้งหมดนี้ คือ องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ ....
บางครั้ง หรือหลายครั้ง ชีวิตก็ไม่ได้ต้องการ "ความสมบูรณ์" แบบไร้ที่ติเสมอไป .... บางครั้งความไม่สมบูรณ์แบบ ความหลากหลาย หรือแม้แต่สิ่งที่เรามองว่า "สกปรก" หรือ "มีตำหนิ" กลับเป็นสิ่งที่จำเป็นและสร้างประโยชน์ได้มากกว่า ....
การพิจารณาสิ่งต่างๆ ควรมองและพินิจอย่างรอบด้าน ไม่ตัดสินเพียงแค่ รูปลักษณ์ภายนอก ควร "เปิดใจ" ยอมรับความซับซ้อน และ ความไม่สมบูรณ์แบบของชีวิต ซึ่งแท้จริงแล้ว มันอาจนำมาซึ่งการเรียนรู้และความอุดมสมบูรณ์ที่แท้จริงได้ ...