4/07/68

สรุปสั้นๆ เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ มาตรวัด "ขนาด" แผ่นดินไหว

 
   ขนาดแผ่นดินไหว  ( Earthquake magnitude ) คือ ระดับพลังงาน ที่โลกปลดปล่อยออกมาจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในรูปของแรงสั่นสะเทือน ซึ่งนำเสนอครั้งแรกในปี พ.ศ. 2478 โดย ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ (Richter C.F.) นักแผ่นดินไหวชาวเยอรมัน





   ขนาดแผ่นดินไหว ไม่สามารถแปลงไปลงตรงอื่นได้

      เวลาเราพูดเรื่องขนาดแผ่นดินไหว จะหมายถึง เรานินทาขนาดของเขาที่จุดศูนย์เกิดเท่านั้น เช่น เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ที่เกาะสุมาตรา แล้วที่กรุงเทพฯ คิดเป็นขนาดเท่าไหร่ อย่างนี้ ไม่ด้ายยยยย

   ขนาดแผ่นดินไหวใหญ่เกิน 10.0   ได้  สูตรคำนวณไม่ได้ปิดกั้น

       แต่ ...   ในช่วงที่เรามีชีวิตอยู่ ธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ยังทำได้ไม่เคยถึง  ถ้าลองได้มีอุกาบาตโหม่งโลกจังๆ   โอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า 10.0 ก็มี ....

   ขนาดแผ่นดินไหวติดลบก็ได้ ?   

       ด้วยความละเอียดของเครื่องมือตรวจวัดในปัจจุบัน  เราสามารถตรวจวัดแอมพลิจูด คลื่นไหวสะเทือน ได้ละเอียดถึง 0.01 มิลลิเมตร  ....  ซึ่งอาจเกิดจากก้อนอิฐหล่นจากโต๊ะลงพื้น และถ้าคำนวณขนาดแผ่นดินไหว  จะมีขนาด  -2    (จากสูตร log (0.01) = -2)  .... 

   ปัจจุบันเราเลิกใช้คำว่า ริกเตอร์ (Richter) 

       ปัจจุบันเราเลิกใช้คำว่า ริกเตอร์ หลังขนาดแผ่นดินไหว เพราะตัวเลข 7.5 8.1   ฯลฯ นั้นเป็น สเกล ที่ไม่ต้องมีหน่วยวัด มาห้อยท้าย   และ  " ริกเตอร์ ก็เป็นชื่อคน"  {{{{ คือ นาย 
ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ Richter C.F. }}}    ไม่ใช่หน่วยชั่ง-ตวงวัด     เช่น สเต็กจานนี้สุกระดับ rare หรือ medium rare หรือ well done หรือจะเป็นความแข็งของแร่  ที่อ้างอิงตาม มาตราโมส์ (Mohs’ scale) เพชรแข็ง 10 คอรันดัม แข็ง 9 ควอซ์ต แข็ง 7 เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนเป็นสเกลเหมือนๆ กัน ... 

   เมื่อก่อนที่ใช้ ริกเตอร์ ห้อยท้าย เพราะให้เกียรติความเป็นคนแรกๆ

     
นาย ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ Richter C.F.  คือคนแรก ที่คิดวิธีวัดและคำนวณขนาดแผ่นดินไหวออกมาเป็นตัวเลข แต่ปัจจุบันมีอีกหลายวิธีคำนวณที่คิดมาจากนักแผ่นดินไหวหลายๆ คน แล้วก็ใช้ได้ดีไม่แพ้สูตรของ นายริกเตอร์   เช่น มาตรา mb Ms Mw .....  ดังนั้นเพื่อกันความสับสนว่า  ริกเตอร์   เป็นหน่วย และให้เกียรตินักแผ่นดินไหวท่านอื่นๆ  (บ้าง)  การรายงานขนาดแผ่นดินไหวในปัจจุบัน  จึงตัดคำว่า ริกเตอร์ ทิ้งไป


   เมื่อ ตัดคำว่า ริกเตอร์ ทิ้งไป จะฟังโล้นๆ  ไปมั้ยนะ ?? 

      พอได้ตัดคำว่า ริกเตอร์ ทิ้งไป บางท่านก็เกรงว่า  การรายงานขนาดแผ่นดินไหวจะฟังโล้นๆ 
จึงนำคำว่า แมกนิจูด (magnitude) มาห้อยท้ายตัวเลขแทน   ซึ่งก็ไม่ได้อีกเหมือนเดิม

... เพราะ (โปรดฟังอีก
ครั้งหนึ่ง)  ....   ตัวเลขขนาดแผ่นดินไหวนั้นเป็น สเกล  ไม่มีหน่วยวัดห้อยท้าย และ แมกนิจูด จริงๆ แล้วก็เป็นแค่คำทับศัพท์ ที่แปลได้ว่า ขนาด ( ของเหตุการณ์ใด ๆ )

.... ดังนั้น ลองนึกภาพตาม ถ้าต้องพูดและแปลความหมายจากข้อความนี้ 

      “แผ่นดินไหวขนาด 7.0 แมกนิจูด” แปลไทยเป็นไทยอีกที  คือ  

       “แผ่นดินไหวขนาด 7.0  ขนาด”  ฟังแล้ว วริ๊งงงงงเลย ไม่ดีๆๆ


หมายเหตุ

      ขนาด (size) คือ ขนาดวัตถุ เช่น กล่องใบนี้มีขนาด (size) ใหญ่   .... ส่วน ขนาด (magnitude) คือ ขนาดเหตุการณ์ เช่น เหตุการณ์ดินถล่มครั้งนี้มีขนาด (magnitude) ใหญ่ โดยที่ ขนาด หรือ แมกนิจูด (magnitude) ใช้กับภัยพิบัติอื่นๆ ก็ได้ เขาใช้กัน แต่ส่วนใหญ่มักนิยมใช้กับแผ่นดินไหว จนหลายคนคิดว่า แมกนิจูด เป็นเรื่องของแผ่นดินไหว

บทความโดย : fb/ มิตรเอิร์ธ - mitrearth

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand