3/14/67

ลอกคราบปรีดี เรื่องตั้งพระมหากษัตริย์

    หลังจากที่ได้ชม แอนิเมชันประวัติศาสตร์เรื่อง  "2475 Dawn of Revolution" จบลง ... เหตุการณ์อื่นๆ ก็เรียงลำดับ เป็นภาพขึ้นมาในใจ หนึ่งในนั้นคือเหตุการณ์นี้  .... "ในหลวงรัชกาลที่ ๘ ขึ้นครองราชย์ได้ ก็เพราะความสนับสนุนของปรีดีและคณะราษฏร ?? 

เรื่องตั้งพระมหากษัตริย์


บทความโดย :  อัษฎางค์ ยมนาค


       จากเหตุการณ์วิปโยคกรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ ๘ ซึ่งปรีดีถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้มีการเคลื่อนไหว สร้างกระแสข่าวจากฝ่ายที่สนับสนุนปรีดี ออกมาในทำนองว่า ....

     "นายปรีดีเป็นผู้สนับสนุนและ เสนอให้อัญเชิญพระองค์เจ้าอานันท์" ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์หลังจากรัชกาลที่ ๗ สละราชสมบัติ ทั้งๆ ที่พระองค์เจ้าอานันท์ อาจจะมิได้อยู่ในลำดับแรกของการสืบราชบัลลังก์ตามกฎมณเฑียรบาล 

    เพราะฉะนั้น ปรีดี จึงไม่มีเหตุอันใดที่จะเกี่ยวข้องกับการสวรรคต ..... ??!!

     โดยปรีดีได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง “ความเป็นไป บางประการในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” ซึ่งให้ข้อมูลสำคัญบางประการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้  โดยเขาได้กล่าวถึง การเลือกพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ หลังจากรัชกาลที่ ๗ สละราชย์เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ ....

ปรีดีเล่าว่า 

     “คณะรัฐมนตรีได้ปรึกษากันในระหว่างเวลา ๕ วัน คือตั้งแต่วันที่ ๒ ถึงวันที่ ๗ มีนาคม เพื่อพิจารณาว่า เจ้านายในพระราชวงศ์จักรีพระองค์ใด สมควรที่รัฐบาลจะเสนอขอความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป” 

     เขากล่าวว่า   การพิจารณาได้ถือเอา “นัย” ของหลักการของกฎมณเฑียรบาล ๒๔๖๗ ถ้าพูดตามภาษาสามัญคือ ในกรณีที่กษัตริย์องค์ก่อน มิได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดไว้ ให้นับลำดับขั้นของการเลือกผู้เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ ดังนี้ ...

   ลูกหรือหลานของกษัตริย์องค์ก่อนตามลำดับยศของมารดา


หากไม่มี ....  ให้เลือกน้องชายร่วมมารดาของกษัตริย์องค์ก่อน ที่อายุมากสุด หากน้องชายดังกล่าวไม่มีชีวิตแล้ว ให้เลือกลูกของน้องชายองค์นั้น ....

(๑) มีการพูดถึง พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ลูกชายของพี่ชายของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ ซึ่งเป็นพี่ชายของกษัตริย์องค์ก่อน(ร.7) 

    ปรีดีเขียนว่า “ตามตัวบทโดยเคร่งครัด กล่าวไว้แต่เพียงยกเว้นผู้…ที่มีพระชายาเป็นคนต่างด้าว”

ซึ่งหมายความว่า ปรีดีคิดว่า พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ มีสิทธิ์ในราชสมบัติ เพราะเป็นลูกของพี่หรือน้องของรัชกาลที่ 7 โดยตรง และยังไม่มีพระชายาเป็นคนต่างด้าว ! 

    แต่ข้อเท็จจริงคือ พูดแบบภาษาสามัญคือ ถ้าใครมีเมียต่างด้าว จะเป็นกษัตริย์ไม่ได้  ”ตามมาตรา ๑๑ (๔) ลูกๆ ทั้งหมดก็เป็นกษัตริย์ไม่ได้  ซึ่งพูดแบบกลับกันก็เท่ากับว่า 

     "ลูกๆเหล่านั้น ที่มีแม่ต่างด้าวเป็นกษัตริย์ไม่ได้“ 


(๒) พระองค์เจ้าวรานนท์ฯ เป็นพระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ ที่เป็นพระเชษฐาร่วมพระราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ แต่รัฐมนตรีเห็นว่าพระมารดาของพระองค์เจ้าวรานนท์ฯเป็นคนธรรมดาสามัญ ซึ่งเป็นหม่อมชั้นรอง  (ไม่ได้เป็นภรรยาเจ้าจากการแต่งตั้ง)  ของสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้น ที่ทรงมีพระชายาเป็นหม่อมเจ้าได้รับพระราชทานเสกสมรสแต่ไม่มีพระโอรส ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจึงได้ผ่านการพิจารณาพระองค์เจ้าวรานนท์ฯ

     ข้อเท็จจริงอีกอย่างคือ ควรสรุปลงที่ว่า เจ้านายสายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ควรถือว่าสิ้นสุดที่พระองค์ เพราะทรงเป็นองค์สุดท้องของพระชนนี ถือว่าพี่ชายหรือลูกของพี่ชายถูก “ผ่าน” มาหมดแล้ว ...

     ซึ่งไม่เป็นความจริง ดังที่ปรีดีเขียนว่า  “ตามตัวบทโดยเคร่งครัดกล่าวไว้แต่เพียงยกเว้นผู้…ที่มีพระชายาเป็นคนต่างด้าว”

     เพราะความจริง  กฎมณเฑียรบาลได้ระบุไว้ชัดเจนว่า  "ถ้ามีมารดาเป็นคนต่างด้าวก็ไม่สามารถเป็นกษัตริย์ได้" 

      ปรีดีเล่าต่อไปว่า เมื่อได้ตัดกรณีจุลจักรพงษ์ และวรานนท์ธวัช ออกแล้ว คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาพระเชษฐา และพระอนุชาต่างมารดาของรัชกาลที่ ๗ และพระโอรสของพระเชษฐาอนุชาเหล่านั้น โดยได้ตัดกรณีกรมพระนครสวรรค์วรพินิตออก เพราะ “เสด็จไปประทับในต่างประเทศตามคำขอร้องของคณะราษฎร .... คณะรัฐมนตรี จึงไม่พิจารณาถึงพระองค์ท่าน และพระโอรสของพระองค์ท่านซึ่งมีอยู่หลายพระองค์” แต่ได้พิจารณากรณีพระโอรสของพระเชษฐาต่างมารดาอีก ๒ พระองค์ คือ ของเจ้าฟ้ามหิดลฯ กับของเจ้าฟ้ายุคลฯ ดังนี้ ...

       ในระหว่างสมเด็จเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์นั้น พระมารดาของสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระบรมราชเทวี ซึ่งทรงศักดิ์สูงกว่าพระมารดาของสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลฯ แต่ในชั้นพระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าแต่ละพระองค์ดังกล่าวนั้น พระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลฯ มีพระมารดาเป็นพระองค์เจ้าหญิง ส่วนพระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ มีพระมารดา คือหม่อมสังวาลย์  (เรียกพระนามในขณะนั้น)   แต่ก็ได้รับพระราชทานเสกสมรสเป็นสะใภ้หลวงโดยชอบแล้ว และสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้นก็ได้ทรงยกย่องให้เป็นพระชายาคนเดียวของพระองค์

       โดยคำนึงถึงสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ที่ได้ทรงทำคุณประโยชน์แก่ราษฎร และเป็นเจ้านายที่บำเพ็ญพระองค์เป็นนักประชาธิปไตยเป็นที่เคารพรักใคร่ของราษฎรส่วนมาก คณะรัฐมนตรีจึงเห็นชอบพร้อมกับเสนอสภาผู้แทนราษฎร ขอความเห็นชอบ ที่จะอัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นทรงราชย์ ....


   จะเห็นว่า แม้ปรีดีไม่ได้กล่าวตรงๆ แต่สามารถตีความจากการเล่าของเขาได้ว่า  ในหลวงรัชกาลที่ ๘ ขึ้นครองราชย์ เพราะการสนับสนุนของคณะราษฎร...


ข้อเท็จจริง คือ ...

       “พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล” ทรงอยู่ในลำดับที่ 1 ในการสืบราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาล อยู่แต่เดิมอยู่แล้ว  ตั้งแต่ในสมัยที่ในหลวงรัชกาลที่ ๗ ยังอยู่ในราชสมบัติ ...

       เพราะรัชกาลที่ ๗ ไม่มีทายาท และไม่มีน้องชาย ลูกๆ ของพี่ชายก็ถูกข้ามไปหมดแล้ว หมดสิทธิ์ในราชสมบัติไปนานแล้ว ...

       ราชสมบัติจึงข้ามกลับไปในสายของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งก็คือ  ลูกชายของเจ้าฟ้ามหิดล ซึ่งก็คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล

       รัฐบาลและรัฐสภา  จึงอัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ...


การที่ปรีดีจะมาลำเลิก ว่า  ตนเป็นผู้สนับสนุนให้ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ จึงเป็นการมิถูกมิควร .... 

       ย้อนกลับไปเพียง ๒ วันหลังการสวรรคตของรัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖ ได้เรียกประชุมพิเศษเจ้านายชั้นสูง โดยทรงยกปัญหาเรื่องตั้งรัชทายาทได้เกิดเป็นเรื่องเร่งร้อนโดยทรงแจ้งต่อที่ประชุมว่า

(๑)   ความมั่นคงของพระราชวงศ์จักรีนี้ ก็คือความมั่นคงของกรุงสยาม
(๒)   พระราชวงศ์จักรีจะมั่นคงอยู่ได้ ก็โดยมีทายาทมั่นคงที่จะได้เปนผู้ดำรงวงศ์ตระกูลต่อไป

         ซึ่งเหตุการณ์เรื่องการตั้งรัชทายาท ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดเป็นเรื่องเร่งด่วนอีกครั้งเมื่อเกิดปฏิวัติ 2475 

กล่าวได้ว่า  ตั้งแต่วินาทีแรกของการยึดอำนาจ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ปัญหา กษัตริย์รัชกาลที่ ๘ ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญ เพราะหากรัชกาลที่ 7 ไม่รับเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ในประกาศคณะราษฎร ที่ปรีดีเป็นผู้ร่าง จึงมีข้อความตอนหนึ่งว่า ...

    "ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงได้ขออัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป ...แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้  นอกจากด้วยความเห็นของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ...   ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธ หรือไม่ตอบภายในกำหนด โดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมาก็จะได้ชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างแบบประชาธิปไตย ...." 

     " กล่าวคือ  ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกขึ้นอยู่ในตำแหน่งตามกำหนดกาลเวลา... " 

หรือ  พูดง่ายๆ คือ คณะราษฎรประกาศขู่ว่า ...

   " ถ้าในหลวงรัชกาลที่ ๗ ไม่ให้ความร่วมมือเป็นประมุขในระบอบใหม่ จะเปลี่ยนประมุขของประเทศเป็นประธานาธิบดี ...." !!!! 


        แต่ในจดหมายฉบับแรก  ที่คณะราษฎร มีถึงพระปกเกล้าฯ กลับมีข้อความตอนหนึ่งดังนี้ ...

    " คณะราษฎรไม่ประสงค์จะแย่งชิงราชสมบัติแต่อย่างใด ความประสงค์อันยิ่งใหญ่ ก็เพื่อจะมีธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จึงขอเชิญใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทกลับคืนสู่พระนคร ทรงเป็นกษัตริย์ต่อไป โดยอยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ซึ่งคณะราษฎรได้สร้างขึ้น ถ้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทตอบปฏิเสธก็ดี หรือไม่ตอบภายใน ๑ ชั่วนาฬิกานับแต่ได้รับหนังสือนี้ก็ดี คณะราษฎรก็จะได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน โดยเลือกเจ้านายพระองค์อื่นที่เห็นสมควรขึ้นเป็นกษัตริย์


นี่แหละปรีดี....  


บทความโดย :  อัษฎางค์ ยมนาค


แอนิเมชันประวัติศาสตร์เรื่อง 
 "2475 Dawn of Revolution"


ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand