12/13/64

โรงไฟฟ้ากังหันลม (Wind Power Plant) คืออะไร

   ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ลมที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศของไทย คือ ลมประจำปี ลมประจำฤดู และลมประจำเวลา  การนำลมมาใช้ประโยชน์ ผลิตไฟฟ้าด้วยลม จะต้องอาศัยเครื่องจักรกลสำคัญ คือ

“กังหันลม” เพื่อการเปลี่ยน พลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลม เป็นพลังงานกล ก่อนนำไปใช้ประโยชน์ ที่สำคัญคือ พลังงานลม ใช้ได้ไม่มีวันหมด และเหนือสิ่งอื่นใดที่สำคัญยิ่งคือ กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากลม ยังไม่ปล่อยของเสียที่เป็นอันตรายต่อ สภาพแวดล้อม อย่างเช่นกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากวิธีอื่นๆ 

Axis Wind Turbine

   ความเร็วลม ที่เหมาะแก่การใช้ผลิตไฟฟ้า เฉลี่ยทั้งปี ควรไม่น้อยกว่าระดับ 6.4 – 7.0 เมตรต่อวินาที ที่ความสูง 50 เมตร จึงจะสามารถ ผลิตไฟฟ้าจาก กังหันลม ได้ดี ภูมิประเทศที่มีความเร็วลมเหมาะสมได้แก่บริเวณฝั่งทะเลแถบยุโรป เหนือ หรือช่องเขาในอเมริกา 

 ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ลมที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศของไทย คือ ลมประจำปี ลมประจำฤดู และลมประจำเวลา

  • ลมประจำปี เป็นลมที่พัดอยู่เป็นประจำตลอดทั้งปีในภูมิภาคส่วนต่างๆ ของโลกมีความแตกต่างกันไปในแต่ละเขตละติจูดของโลก เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในบริเวณเขตศูนย์สูตรอิทธิพลของลมประจำปีจึงไม่มีประโยชน์ในการนำมาใช้
  •  ลมประจำฤดู เป็นลมที่พัดเปลี่ยนทิศทางตามฤดูกาล เรียกว่า ลมมรสุม ได้แก่ 
    • ลมมรสุมฤดูร้อน พัดในแนวทิศใต้ และตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม  
    • ลมมรสุมฤดูหนาว พัดในแนวทิศเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์
  •  ลมประจำเวลา เป็นลมที่เกิดขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศระหว่าง 2 บริเวณในระยะเวลาสั้นๆ ได้แก่ ลมบก , ลมทะเล , ลมภูเขา และลมหุบเขา บริเวณที่อยู่ตามชายฝั่งจะได้รับอิทธิพลของลมบก ลมทะเลสูงมาก 

     ภูมิประเทศของประเทศไทย มีความเร็วลมเฉลี่ยของประเทศอยู่ในระดับปานกลาง – ต่ำ คือ ต่ำกว่า 4 เมตร/วินาที

 


  กังหันลมแบ่งออกตามแกนหมุนของกังหันลม เป็น 2 ชนิด ได้แก่

  1. กังหันลมแกนหมุนแนวตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุน และใบพัดตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ
  2. กังหันลมแกนหมุนแนวนอน (Horizontal Axis Wind Turbine) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ โดยมีใบพัดเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลม 


ข้อดี – ข้อจำกัด ของการผลิตไฟฟ้า

จาก กังหันลม  (Wind Power Plant)


ข้อดี

  • เป็นแหล่งพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ ไม่มีต้นทุน
  • เป็นแหล่งพลังงานที่ไม่มีวันหมดสิ้น
  • เป็นพลังงานสะอาด
  • ไม่กินเนื้อที่ ด้านล่างยังใช้พื้นที่ได้อยู่
  • มีแค่การลงทุนครั้งแรก ไม่มีค่าเชื้อเพลิง
  • สามารถใช้ระบบไฮบริดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ กลางคืนใช้พลังงานลมกลางวันใช้พลังงานแสงอาทิตย์
  • ภาครัฐให้การสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมแก่ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก/รายเล็กมาก โดยกำหนดอัตราส่วนเพิ่มการรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานลม 2.50 บาทต่อหน่วย หากเป็นโครงการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้อัตราเพิ่มพิเศษอีก 1.50 บาทต่อหน่วย เป็น 4.00 บาทต่อหน่วย ระยะเวลา 10 ปี


ข้อจำกัด

  • ลมในประเทศไทยมีความเร็วค่อนข้างต่ำ
  • พื้นที่ที่เหมาะสมมีจำกัด
  • ขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศ บางฤดูอาจไม่มีลม
  • ต้องใช้แบตเตอรี่ราคาแพงเป็นแหล่งเก็บพลังงาน
  • ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับศักยภาพลมในประเทศ และขาดบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญ


ข้อมูลโดย :  สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน  ,  http://reca.or.th/
 

 



 

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand