12/17/64

17 ธันวาคม “วันทหารปืนใหญ่” Artillery ราชาแห่งสนามรบ

ทหารปืนใหญ่ / Artillery ทำการรบด้วยอำนวจการยิงจากปืนใหญ่เพื่อทำลายที่มั่นข้าศึก และเพื่อสนับสนุการเข้าตีของทหารราบ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ยิงช่วยโดยตรง และยิงคุ้มครองทหารราบในการเข้าตีเพื่อให้ทหารราบปฏิบัติการได้สะดวก ได้รับสมญานามว่า "ราชาแห่งนามรบ"

 

Artillery

 ประวัติศาสตรที่สำคัญเกี่ยวกับทหารปืนใหญ่ 


1. เมื่อ 17 ธันวาคม 2368 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขนานนามปืนใหญ่สำหรับรักษาพระนคร จำนวน 277 กระบอก ดังปรากฏอยู่ในตำรายุทธ ศาสตร์ รัชกาลที่ 3 ว่าด้วยชื่อปืนใหญ่ 277 กระบอก


2. เมื่อ 17 ธันวาคม 2384 พระบาทสมเด็จประปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยรัชการที่ 3 ขณะดำรงพระยศ กรมขุนอิศเรศ รังสรรค์ ได้ทรงแต่งตำราปืนใหญ่เล่มแรกขึ้น ว่าด้วยประวัติทหารปืนใหญ่ การฝึกปืนใหญ่ในกรณีต่างๆ รวมทั้งว่าด้วยการสร้างปืนใหญ่ และการทาดินปืน ดังความในบทแรกว่า:

“จะกล่าวเริ่มต้นพงศาวดารปืนใหญ่ และตำราปืนใหญ่ ตำราดิน ตั้งแต่ศักราชฝรั่ง 1280 ปี คิดเป็นจุลศักราชไทยได้ 642 ปี มาจนถึงทุกวันนี้ ได้แปลออกจากภาษาอังกฤษเป็นคาไทย ณ วันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 5 ค่ำ ปีฉลู ตรีนิศก (จุลศักราช 1203 พ.ศ. 2384) ในความว่า แต่ก่อนคนบุราณ นั้นหารู้จักทาปืน ทาดิน ไม่เลย...."


3. สาหรับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว อาจกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของทหาร ปืนใหญ่ไทยโดยแท้ เพราะว่าพระองค์ได้ทรงมีความสัมพันธ์กับทหารปืนใหญ่มาโดยตลอด ตั้งแต่พระชนมายุได้ 24 พรรษา จนกระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 58 พรรษา โดยมีพระราช กรณียกิจที่สำคัญเกี่ยวกับทหารปืนใหญ่ โดยสรุปคือ:

  • ทรงเป็นแม่กองฝึกหัดทหารปืนใหญ่ และทรงฝึกสอนทหารปืนใหญ่ด้วยพระ องค์เองตลอดเวลา
  • ทรงจัดตั้งหน่วยทหารปืนใหญ่ประจำการขึ้น โดยใช้กำลังพลอาสาสมัครต่างๆ เช่นอาสาญวน, อาสาจาม เป็นต้น
  • ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาทหารปืนใหญ่ และคลุกคลีอยู่กับกิจการ ทหารปืนใหญ่มาก กว่า 30 ปี
  • ทรงเป็นปรมาจารย์วิชาทหารปืนใหญ่ โดยทรงแปลและเรียบเรียงตำราวิชาการ ทหารปืนใหญ่ขึ้นเป็น บุคคลแรก ในประวัติศาสตร์ไทย แสดงว่าพระองค์ ทรงเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกิจการ และวิทยาการทางด้าน ปืนใหญ่เป็นอย่างยิ่ง
  • ทรงแสดงให้ชาวต่างประเทศเห็นว่า กิจการทหารปืนใหญ่ของไทยนั้นมิได้ล้าหลังชาวต่างประเทศเลย
  • พระองค์ทรงรับทหารปืนใหญ่ และทรงฝังพระทัยอยู่กับกิจการ ทหารปืนใหญ่ตลอดพระชนมายุ ถึงกับโปรดกล้า เปลี่ยนตราพระราชลัญจกรประจำตำแหน่งวังหน้า จากตราพระลักษณ์ทรงหนุมาน เป็นรูปตราพระนารายณ์ประทับยืนอยู่บนปืนใหญ่ แม้แต่ตราพระปรมาภิไธยภาษาอังกฤษ ก็ทรงใช้ตรา เป็นรูปลำกล้องปืนใหญ่ 2 กระบอกไขว้กันเป็นฐานรองรับพานวางพระปิ่น

 

ข้อมูลโดย : fb ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพบก Army PR Center

 https://armyprcenter.com/home

 

 

 


  สั่งซื้อ หนังสือ ทางออนไลน์  


หนังสือแนะนำ : บันทึกลับ นักรบนิรนาม 333  

    UNKNOWN WARRIORS 333 มาจากชื่อหน่วยบังคับบัญชา ของทหารไทยในสงครามลาวครั้งนั้น คือ “กองบัญชาการ ผสม 333″ หรือเรียกย่อๆ ว่า “บก.ผสม 333″ ส่วนคําว่า “นิรนามในที่นี้หมายถึงสงครามในลาวเป็นสงครามลับ เพราะมีข้อตกลงเจนีวาระบุว่า ห้ามประเทศ อื่นใดเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของลาว

   
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand