2/13/64

โรคระบาด ในสยาม อหิวาตกโรค พ.ศ. ๒๓๖๐ – ๒๓๖๗

อหิวาตกโรค (Cholera) ในอดีตเรียกว่า “โรคป่วงใหญ่” หรือ “โรคลงราก”   เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วง อุจาระเป็นน้ำ และอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า "ลงราก"

ทำให้เกิดอาการท้องร่วงและอาเจียนอย่างรุนแรง จนผู้ป่วยขาดน้ำและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว มีพาหะคือแมลงวัน และการแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำ หรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก

 

อหิวาตกโรค (Cholera)

 

ผู้รับเชื้อสามารถแสดงอาการได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง หรือ ประมาณ 5 วัน   ซึ่งหากผู้นั้นแม้ไม่มีอาการ แต่ก็สามารถแพร่เชื้อได้  โรค อหิวาตกโรค สามารถติดต่อผ่านแหล่งน้ำและอาหาร จึงแพร่ระบาดได้เป็นวงกว้าง 

 การระบาดของ อหิวาตกโรค ทั่วโลก ครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๖๐ – ๒๓๖๗) 

โดยมีจุดเริ่มต้นจากอินเดีย

   ใน สมัยรัชกาลที่ ๒ ( พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของอหิวาตกโรคเมื่อ จุลศักราช 1182 หรือ พ.ศ. ๒๓๖๓ ซึ่งตรงกับการระบาดทั่วโลก (Pandemic ) ครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๖๐ – ๒๓๖๗) โดยมีจุดเริ่มต้นจากอินเดีย แล้วระบาดมาถึงสยามผ่าน เกาะหมาก ปีนัง จากนั้นจึงเข้ามาถึงสมุทรปราการ และ กรุงเทพมหานคร 

   โรคระบาด ในสยาม อหิวาตกโรค ครั้งนี้ ร้ายแรงที่สุดเท่าที่คนสมัยนั้นจำได้  สภาพบ้านเมือง เต็มไปด้วยศพ ตั้งแต่ในวัดไปจนถึง แม่น้ำลำคลอง ชาวบ้านอพยพหนีออกจากบ้าน กลายเป็นเมืองร้าง ไม่มีผู้คน อหิวาตกโรค ระบาดอยู่ในสยาม ราว 15 วัน ก็เริ่มซาลงไปการระบาดในรอบแรกนี้ ทำให้มีผุ้เสียชีวิต ราวๆ 30,000 คน 

   ต่อมาสมัยในหลวง ร.3 ได้เกิดห่าลงในพระนครอีกครั้ง เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2392 ปีระกา แต่ไม่รุนแรงเท่ากับครั้งแรกใน สมัยรัชกาลที่ ๒



   ได้เกิดอหิวาตกโรค ระบาดในสยามอีกหลายครั้ง ซึ่งมักจะตรงกับการระบาดครั้งใหญ่ในต่างประเทศทั่วโลก เช่นเดิม จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕  เกิดการระบาด ถึง ๒ ครั้ง คือ ปี ๒๔๑๕ และ ใน ปีพ.ศ. ๒๔๒๔ ในครั้งนี้  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวถึง ๔๘ แห่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า โรงพยาบาลเอกเทศ เพื่อรักษาผู้ป่วยอหิวาตกโรค จนพัฒนาไปสู่การจัดตั้งโรงพยาบาลถาวร คือ โรงศิริราชพยาบาล ในเวลาต่อมา ในเวลานั้นมีแพทย์ชาวตะวันตก , มิชชันนารี , บุคลากรด้านสาธารณสุข จากต่างประเทศ เข้ามาทำงานในสยามจำนวนหนึ่ง โรคห่าจึงมีความรุนแรงที่อยู่ในขอบเขตจำกัด ชาวสยามมีความรู้เรื่องการกินอาหาร เรื่องน้ำดื่มที่ต้องต้มให้สุก ถ่ายอุจจาระถูกสุขลักษณะ ชาวสยามรับทราบเรื่องสุขอนามัยเพื่อการป้องกันโรคห่าได้มากขึ้น

   จนถึงราวทศวรรษ ๒๔๘๐ จึงเริ่มมีการฉีดวัคซีน และยาฆ่าเชื้อในแหล่งน้ำ เพื่อป้องกันโรคได้อีกด้วย ทำให้การระบาดในยุคสมัยต่อมา มีอัตราการตายที่ลดลง และมีระยะเวลา และความสามารถในการระบาดสั้นลงอีกด้วย 

    นับแต่นั้นมา อหิวาต์ ก็ยังไม่สาบสูญ ไปจากเมืองไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ - ๒๕๐๒ ก็มีการแพร่ระบาด จากเขตราษฎร์บูรณะ แพร่กระจายออกไปอีก ใน 38 จังหวัด มีคนตาย 2,372 คน 

โรคอหิวาตกโรค เปลี่ยนชื่อ เป็น โรคอุจจาระร่วงอย่างแรง ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒

 
 
 
 

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand