7/10/67

น้ำหยดลงหินทุกวัน หินมันยังกร่อน จริงหรือ ?

.. น้ำหยดลงหิน ทุกวันหินมันยังกร่อน  ..แต่หัวใจ อ่อนอ่อน ของเธอทำด้วยสิ่งใด ... ช่างไม่สะทก สะท้านสะเทือนเหมือนหัวใจ ..ช่างไม่ หวั่นไหว ว่าใครเขารักเขารอ ...  ... >>  คือ ท่อนหนึ่งของบทเพลง ชื่อ : รอ
โดย ศิลปิน : สุเทพ วงศ์กำแหง


คำถามจากเนื้อเพลงท่อนนี้คือ   "น้ำหยดลงหิน ทุกวันหินมันยังกร่อน"   จริงหรือ ?  

น้ำหยดลงหินทุกวัน หินมันยังกร่อน จริงหรือ


    แอดมิน Misc.Today ได้นำเนื้อหาจากบทความน่ารู้ ขนาดสั้นๆ จากเพจ กรมทรัพยากรธรณี  
เรื่อง : น้ำหยดลงหินทุกวัน ...กลายเป็นเสาหิน  ก็เลยเกิดคำถามขึ้นในใจทันทีว่า เราเคยได้ยินคำว่า "น้ำหยดลงหิน ทุกวันหินมันยังกร่อน"  แต่ไหง๋ทำไมกลับกลายมาเป็นเสาหินได้ เรามาหาคำตอบกับบทความน่ารู้ขนาดสั้นๆ กันไปพร้อมๆ กันครับ 


      ประติมากรรมภายในถ้ำ เกิดขึ้นจากการกระทำของธรรมชาติ โดยการเกิดที่แตกต่างกัน ทำให้มีลักษณะที่แตกต่างกัน จึงมีชื่อเรียกแตกต่างกัน หรือที่เรียกว่า  "หินประดับถ้ำ" 

      แต่ก็เกิดคำถามว่า  จากน้ำ ที่เป็นของเหลว ทำไมถึงกลายเป็นเสาหินสูงได้อย่างไรกัน ? 

     น้ำ  ที่อยู่ในถ้ำส่วนใหญ่ไม่ใช่แค่น้ำธรรรมดา แต่เป็นน้ำที่มีสารแคลเซียม คาร์บอเนต ละลายปนมาด้วย ก่อนไหลย้อยลงมาจากรอยแตกบนเพดานถ้ำ หรือหยดลงในแนวดิ่งสู่พื้นถ้ำ  คล้ายกัสำนวนที่ว่า "น้ำหยดลงหินทุกวัน หินยังกร่อน"  

     แต่ทว่า ลักษณะของน้ำในถ้ำที่ไหลลงในจุดเดิมซ้ำๆ  แทนที่จะกัดกร่อนหิน กลับกลายเป็น เกิดการสะสมและเกิดเป็นแร่แคลไซด์ จับตัวเป็นแท่ง หรือแผ่นย้อยลงมา จากเพดานถ้ำ  และในขณะเดียวกัน บริเวณที่หยดน้ำกระทบพื้นก็เริ่มก่อตัวขึ้นเป็นหินงอกด้วย เช่นกัน 

     เมื่อหินงอก และหินย้อย ที่พอกพูน จนมาบรรจบกัน พอกเป็นแท่งสูงจากเพดานจรดพื้นถ้ำ จะเชื่อมกันเป็น "เสาหิน" ที่ค้ำยัน ระหว่างเพดานถ้ำกับพื้นถ้ำในที่สุด


      แม้ว่า แร่แคลไซต์   แร่ที่เป็นองค์ประกอบหลักของหินปูน จะก่อตัวขึ้นอย่างสูงได้ เแต่มันก็ละลายได้ง่ายในกรด มีความแข็งไม่มาก ได้เช่นกัน  หากใช้ตะปู หรือเหล็กขีดเข้า ก็อาจเป็นรอย  มันจึงเปราะบาง และถูกทำลายให้แตกหักเสียหายได้ง่าย  แม้จะหินงอกหินย้อนนั้นจะใช้เวลาก่อตัวขึ้นมานานเป็นหลักล้านปีก็ตาม 

      จำไว้นะครับ  หากคุณพบเจอ หินงอก หินย้อย  ห้ามสัมผัสจับประติมากรรมถ้ำ เพราะจะส่งผลให้หินเสียหาย หรือ อาจเกิดการ "หยุดโต"  อย่างถาวร  หรือที่เรียกว่า “หินตาย” ได้ ครับ 





ข้อมูลอ้างอิง และรูปภาพ

  • กรมทรัพยากรธรณี https://www.facebook.com/DMRTH
  • อุทยานแห่งชาติลำคลองงู ประกาศเปิดให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสสัมผัสกับธรรมชาติโดยตรงด้วยการเดินศึกษาธรรมชาติ บริเวณถ้ำเสาหินที่มีความสูง 62.5 เมตร https://www.naewna.com/likesara/783854









ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand