5/16/67

วัฒนธรรมของการเป็นเหยื่อ ( Victimhood Culture ) คืออะไร

สังคมไทย ในปัจจุบันนั้น กำลังถูกหล่อหลอมด้วยแนวคิดของนักวิชาการฝ่ายซ้ายใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับอิทธิพลทางความคิด มาจากสำนักแฟรงก์เฟิร์ต (เยอรมัน: Frankfurter Schule )  

โดย : ต.ตุลยากร

Victimhood Culture


    แนวคิดหลักของสำนักแฟรงก์เฟิร์ต Frankfurter Schule  นี้ ได้รับอิทธิพล และพัฒนาแนวคิดต่อยอดมาจาก มาร์กซิสต์ เช่น วิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยม รวมถึง แนวคิดเรื่องการปลดปล่อยมนุษย์จากการกดขี่ ...

    ซึ่งผลข้างเคียงของการโหมประโคมเรื่องการกดขี่จากระบบ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า  “วัฒนธรรมของการเป็นเหยื่อ ( Victimhood Culture ) ” 

     คนที่ถูกบ่มเพาะความคิดจากฝ่ายซ้ายใหม่นี้ มักจะเกิดอาการที่คิดว่า "ตนเองเป็นเหยื่อของระบบ"  โดยไม่พยายามที่จะพัฒนาตนเอง เพื่อมีชีวิตที่ดีกว่า  แต่จะเพ่งโทษแต่ว่าที่ชีวิตตัวเองยังย่ำแย่อยู่อย่างนี้ ก็เพราะระบบ ?!  ดังนั้น  วิธีแก้ มีอย่างเดียวเท่านั้น ก็คือ รื้อถอนทำลายระบบปัจจุบัน แล้วสร้างใหม่ ....

     ถ้าพูดให้เห็นภาพ  ก็คือ เด็กที่กำลังหัดเดินแล้วล้ม  พ่อแม่ก็มักจะโทษว่าทึ่ สาเหตุที่ลูกล้มนั้นเพราะพื้นไม่ดี  ?!  ต้องทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่ !!! 

    แต่ปัญหา  คือ   ใช่ว่าทุกคนที่คิดเช่นนั้น หลายคนที่เริ่มต้นจากจุดเดียวกัน ในระบบเดียวกัน กลับมีชีวิตที่ดี โดยไม่ต้องโทษคนอื่น ...

     ดังนั้น 
 หากขบวนการฝ่ายซ้ายต้องการให้คนเห็นด้วยว่า  ระบบที่มีอยู่นี้ ไม่ดี ก็จำเป็นที่จะต้องแสดงให้เห็นถึง “เหยื่อ” ที่ถูกกดขี่จากระบบอย่างชัดเจน .... 

         เมื่อหา “เหยื่อ”  ที่ชัดเจน  มาแสดงไม่ได้ ก็เกิดกระบวนการสร้าง “เหยื่อ” ขึ้นมา แล้วนำมาโหนเพื่อสื่อสารต่อ ชาวโลก ว่า  ระบบที่มีอยู่นั้นย่ำแย่ ?! 

“เหยื่อ” ที่ถูกสร้าง จึงเป็นเพียงเบี้ยตัวหนึ่ง บนกระดานของพวกซ้ายใหม่เท่านั้นเอง 


ขอประณามทุกผู้คนที่อยู่เบื้องหลังกระบวนการสร้างเหยื่อเหล่านี้ครับ ....

โดย : ต.ตุลยากร


เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง


ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand