10/11/66

“เจ้าฟ้าแว่น” คือใคร ?

เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมสมเด็จพระราชชนนี และ สมเด็จพระอนุชา ออกเดินทางจาก เมืองโลซานน์ด้วยทางรถไฟ ประทับเรือเดินสมุทร มาถึงเกาะสีชัง ในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน จากนั้น ประทับในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช


เป็นการเสด็จนิวัติพระนคร ครั้งแรก ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕

ในการเสด็จยังที่ต่างๆ นั้น สมเด็จพระอนุชาฯ ( ซึ่งขณะนั้น ทรงพระราชอิสริยยศ เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ) มักจะตามเสด็จด้วยเสมอ จนมีพระฉายาในหมู่ราษฎร ว่า “เจ้าฟ้าแว่น” เนื่องจากพวกเขาไม่เคยเห็นเด็กๆ ใส่แว่นสายตากันมากนักในยุคสมัยนั้น ....


เจ้าฟ้าแว่น
เจ้าฟ้าแว่น.. 

โดย...สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กระหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
เนื่องในงาน ”วันนี้…เมื่อ 72 ปีก่อน”
จัดโดยคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
------ อัษฎางค์ ยมนาค ...เรียบเรียง 

สมเด็จพระพี่นางฯ รับสั่งเล่าว่า ..................

 ข้าพเจ้า จำไม่ได้เลยว่า วันที่  ๕  ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐  นั้นเป็นเช่นไร เพราะข้าพเจ้ามีอายุเพียง ๕ ขวบครึ่ง แต่ข้าพเจ้าได้ถามแม่  ได้ความว่า เมื่ออยู่ที่ รพ. เคมบริดจ์ หรือ นอร์ธโอเว่น แม่อยู่ ๒ สัปดาห์ รู้สึกเหนื่อยมาก เพราะต้องไปพักอยู่กับลูกอีก รพ. หนึ่ง ... ซึ่งในความทรงจำของข้าพเจ้า จำได้ว่า รพ. ที่พักอยู่บนเขา มีถนนคดเคี้ยวชัน และมีหิมะเต็ม 2 ข้างทาง ข้าพเจ้าอยากเห็น และอยากแตะต้องน้องชาย .. แต่ รพ. เขาให้ดูอยู่ข้างหลังกระจก

     เมื่อกลับถึงบ้าน ได้ถามคุณแหนน (คุณเนื่อง จิตอดุลย์) คนเลี้ยงที่บ้านว่า น้องคนใหม่นี้ พูดไทยได้หรือเปล่า” 

     “เมื่อครั้งที่ทรงประสูตินั้น เป็นองค์ที่มีน้ำหนักมากที่สุดคือเกือบ ๓  กิโลกรัม ซึ่งเป็นน้ำหนักธรรมดาได้มาตรฐานของฝรั่ง ในขณะที่รัชกาลที่ ๘  เป็นองค์ที่มีน้ำหนักน้อยที่สุด 
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

แม่บอกว่า  ทูลกระหม่อมฯ (สมเด็จพระราชบิดา) ไม่ค่อยแข็งแรง ลูกออกมาเลยน้ำหนักน้อย
ส่วนข้าพเจ้าเองนั้น เป็นคนแรกออกยาก มีน้ำหนัก  ๒.๗  กก. ดังนั้น จึงถือได้ว่า พระเจ้าอยู่หัวแข็งแรงที่สุดในบรรดา ๓ คน และในช่วงเด็กนั้น เป็นองค์ที่มีชีวิตชีวาอย่างมาก”

หลังประสูติไม่ถึง 3 ชั่วโมง  

    สมเด็จพระราชบิดา (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก)   จึงมีโทรเลขถวายไปยัง สมเด็จพระพันวัสสาพระราชมารดา ความว่า "ลูกชายเกิดวันนี้ สบายดีทั้งสอง ขอพระราชทานนามทางโทรเลข"

      พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๗  จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามให้ว่า "ภูมิพล" เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมายุได้เพียง ๑ พรรษา ๙ เดือน สมเด็จพระราชบิดาก็ประชวร และสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒๔  กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒  สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี้ จึงรับพระราชภาระ ในการอภิบาลพระโอรส และพระธิดาทั้ง ๓ พระองค์ ตามลำพัง

เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ 

     หลังประทับอยู่เมืองไทยได้ระยะหนึ่ง ก็เกิดเหตุการณ์ การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕  สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงตัดสินพระทัย พาพระราชโอรสและพระราชธิดาย้ายไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๔๗๖ 

      เมื่อทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงประทับอยู่ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ โดยเข้าศึกษาระดับชั้นประถมที่โรงเรียน Miremont จากนั้นจึงได้เข้าศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้นไปที่ Ecole Nouvelle de la Suisse Romande และโรงเรียน Gymnase Classique Cantonal จนจบและทรงได้รับประกาศนียบัตรชั้นมัธยม และเตรียมองค์ที่จะทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ สาขาวิทยาศาตร์

ยุวกษัตริย์พระองค์น้อย
  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๘ แห่งบรมราชจักรีวงศ์


     เมื่อทรงพระชนมายุราว 7 พรรษา ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกพระองค์ในราชสกุล "มหิดล" เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศสละราชสมบัติ รัฐบาลไทยสมัยนั้น จึงได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล (พระยศในขณะนั้น) ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๘ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ 

 
  เพื่อเตรียมตัวยุวกษัตริย์พระองค์น้อย   สำหรับพระราชภาระเพื่อบ้านเมืองในอนาคต นอกจากทรงศึกษาในโรงเรียนตามปกติแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจึงทรงมีพระอาจารย์มาถวายพระอักษรเพิ่มเติม ...


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๘
  ทรงศึกษาภาษาต่างๆ ถึง ๖ ภาษา คือ ภาษาไทย , ละติน, ฝรั่งเศส , อังกฤษ , เยอรมัน และสเปน
เมื่อพระเชษฐาทรงศึกษาสิ่งใด สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุยเดช (พระยศในขณะนั้น) ก็ทรงเรียนรู้ด้วย 

      เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.  ๒๔๘๑   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วยพระราชชนนี พระเชษฐภคินี และพระอนุชา ได้เสด็จนิวัตประเทศไทย ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาล และประทับอยู่เมืองไทยราว 2 เดือน ก่อนเสด็จกลับสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงศึกษาต่อ ...

   แม้จะเสด็จนิวัตเมืองไทยเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็สร้างความตื่นเต้นปีติ ความรัก และความชื่นชมในหมู่พสกนิกรไทยถ้วนหน้า เพราะชาวไทยไม่เคยเห็น "ในหลวงพระองค์น้อย" ของพวกเขาเลยนับแต่ทรงขึ้นครองราชย์ ...

      จะเห็นก็แต่เพียง พระบรมฉายาลักษณ์ใ นหนังสือพิมพ์ และได้ยินจากข่าวคราว ของผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศ และมีโอกาสเข้าเฝ้าฯ เท่านั้น ...

การเสด็จนิวัติ เจ้าฟ้าแว่น
       การเสด็จนิวัติพระนครในครั้นนั้น ประชาชนและห้างร้านต่างๆ พร้อมใจกันทำซุ้มและประดับประดาอาคารบ้านเรือนเพื่อรับเสด็จฯ ไม่ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินไปที่ใดทั้งในพระนคร และจังหวัดใกล้เคียง จะมีประชาชนมารอเฝ้าฯ เพื่อชมพระบารมีอย่างเนืองแน่น

  และ ด้วยความที่พวกเขาไม่เคยเห็นเด็กๆ ใส่แว่นสายตากันบ่อยนัก เมื่อได้เห็นสมเด็จพระอนุชา จึงทรงมีพระฉายาในหมู่ราษฎรอีกพระนามหนึ่งว่า

‘เจ้าฟ้าแว่น’ หรือ ‘ท่านแว่น’

 
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand