8/21/66

เมืองโบราณศรีเทพ | Si Thep | เมืองแห่งทวยเทพ

ชื่อ เมืองศรีเทพ ( Si Thep ) มาจากภาษาสันสกฤต श्री देव  (Sri Dev) หมายถึง "เทพ" หรือเมืองแห่งทวยเทพ ซึ่งมีพระศิวะ ( Lord Shiva ) เป็นมหาเทพ (Maha Dev) ผู้มีอำนาจสูงสุด


เมืองโบราณศรีเทพ | Si Thep | เมืองแห่งทวยเทพ


ศรีเทพ รัฐแรกเริ่ม หรือ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์โบราณ
Si Thep : The primary state or the ancient sacred land


     อุทยานประวัติศาสตร์ หรือเมืองโบราณศรีเทพ ตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ของประเทศไทย เป็นมรดกโลกแห่งใหม่ โดย UNESCO 

    เมืองโบราณศรีเทพ ได้รับความสนใจจากคนไทยอย่างล้นหลาม นอกเหนือจากสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทย เมืองโบราณศรีเทพ แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์บทใหม่ ที่รอการเปิดเผย จากการขุดค้นที่มากขึ้นในอนาคต ที่อาจจะสามารถย้อนเวลากลับไปได้ ถึงมากกว่า ๒,๐๐๐ ปี 

เมืองโบราณศรีเทพ | Si Thep | เมืองแห่งทวยเทพ


   “เมืองโบราณศรีเทพ”  ได้ปรากฏร่องรอยหลักฐาน สะท้อนให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ที่มีมายาวนานต่อเนื่อง โดยนับตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนเข้าสู่ วัฒนธรรมทวารวดี และขอม หรือเขมรโบราณ

ชื่อ เมืองศรีเทพ (Si Thep) มาจากภาษาสันสกฤต श्री देव (Sri Dev) หมายถึง "เทพ" หรือเมืองแห่งทวยเทพ ซึ่งมีพระศิวะ ( Lord Shiva ) เป็นมหาเทพ (Maha Dev) ผู้มีอำนาจสูงสุด

   เมืองโบราณศรีเทพ แห่งนี้ ตั้งอยู่ใน อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีลักษณะเป็นเมืองซ้อนเมือง ในพื้นที่ขนาดใหญ่  ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่ม ห่างจากแม่น้ำป่าสัก ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 60-80 เมตร  ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม และศาสนาที่หลากหลาย ผสมผสานกัน ทั้ง ทวารวดี และขอม หรือเขมรโบราณ คาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐  ปี 

    ความเจริญของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม สันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่  ๑๑-๑๖  จากที่ตั้ง ห่างไปอีกราว ๑๕  กิโลเมตร ทางทิศตะวันตก คือ “เขาถมอรัตน์” ซึ่งมีลักษณะเด่นทั้งที่ตั้ง และรูปทรง ที่หากมองจากระยะไกล จะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายพีรามิด เกิดเป็นความเชื่อเรื่องภูเขาศักดิ์สิทธิ์ พบการแกะสลักพระพุทธรูปไว้ภายในถ้ำ ที่ตั้งอยู่บนเขาถมอรัตน์ และนี่เอง ที่อาจเป็นเรื่องของความเชื่อ หรือการประกาศการเข้ามาของศาสนา 

     ในรัศมี 15 กิโลเมตรจากเมืองศรีเทพโบราณ ยังพบแหล่งสำคัญก่อนประวัติศาสตร์ต่าง ๆ อย่างน้อย 6 แห่ง ได้แก่ แหล่งที่อยู่อาศัย,  แหล่งทำเครื่องประดับหิน  และสถานที่ประกอบพิธีกรรมหรือฝังศพ (สุสาน) 

     นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบลูกปัด และเครื่องประดับจากอินโดแปซิฟิก รวมถึงลูกปัดโมราและคาร์เนเลียน (Carnelian) กำไลหยก และหวีงาช้างแกะสลัก ซึ่งเป็นหลักฐานสำหรับการค้าและการแลกเปลี่ยนระหว่างภูมิภาค

โบราณสถานเขาคลังใน

     เขาคลังใน  เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณกลางพื้นที่เมืองในของเมืองโบราณศรีเทพ ถูกสร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนาในวัฒนธรรมทวารดี มีแผนผังทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้างประมาณ 28.4 เมตร ยาวประมาณ 44.3 เมตร และสูงประมาณ 12 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้น-ลงด้านหน้า

     ส่วนบนของฐานโบราณสถานด้านบนเป็นลานกว้าง มีร่องรอยว่าแต่เดิมอาจมีสถูปขนาดเล็กประดิษฐานอยู่ทางทิศตะวันตกและวิหารขนาดเล็กอยู่ด้านหน้า

     ส่วนฐานด้านล่าง ยังคงปรากฏภาพปูนปั้นประดับภายในช่องท้องไม้เป็นลายคนแคระในท่าทางแบก ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะทวารวดี ลายก้านขด ลายดอกไม้ ลายเรขาคณิต ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบส่วนฐานของเจดีย์ราย วิหาร และอาคารขนาดเล็กหลายแห่ง


ภาพมุมสูงของโบราณสถานเขาคลังใน

ภาพมุมสูงของโบราณสถานเขาคลังใน


   เมืองศรีเทพ คือรัฐแรกเริ่ม หรือ เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ สถานที่จารึกแสวงบุญทางศาสนา ... ?   ไม่ว่าคำตอบจะเป็นข้อใด ล้วนแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ และความยิ่งใหญ่ของเมืองโบราณศรีเทพทั้งสิ้น 2,500 ปี ที่มีผู้คนมาอยู่อาศัยมา 1,400 ปี ในวัฒนธรรมทวารวดี รวมระยะเวลาที่มีความเจริญรุ่งเรืองกว่า 800 ปี และมีการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง มาจนเท่าถึงปัจจุบัน 

    เมืองโบราณศรีเทพจึงถูกนำเสนอให้คณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก้ พิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของโลก





ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม







ข้อมูลที่ตั้ง และข้อมูลการท่องเที่ยว
|  อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

  • สถานที่ตั้ง : เลขที่ 208 หมู่ 13 ตำบลศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67170
  • เวลาทำการ :  เปิดให้เข้าชม: เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.30 น.

  • อัตราค่าเข้าชม :  ชาวไทย : ท่านละ 20 บาท  , ชาวต่างชาติ : ท่านละ 100 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทรศัพท์ : 056-921317, 056-921322
  • ข้อมูลการเดินทาง :  การเดินทางจากเมืองศรีเทพ ใช้ทางหลวงหมายเลข 21 (สระบุรี-หล่มสัก) ถึงกิโลเมตรที่ 102 สี่แยกศรีเทพ (ใกล้ที่ว่าการอำเภอศรีเทพ) เลี้ยวขวาสู่ทางหลวงหมายเลข 2211 ไปอีกราว 10 กิโลเมตร ถึงทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ


 
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand