5/23/65

รำลึก ๑๐๐ ปี ชาตกาล อ.เขียน ยิ้มศิริ

อ.เขียน ยิ้มศิริ ได้รับเกียรติเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ โดยผลงานชิ้นสำคัญ ได้แก่ "ขลุ่ยทิพย์" "ดินแดนแห่งความยิ้มแย้ม" ได้รับรางวัลที่ ๑ เหรียญทอง



Artists of Distinction

Artists of Distinction
" ขลุ่ยทิพย์ "

      ประติมากรรมผู้ชายกำลังเป่าขลุ่ย หล่อสำริด, ๕๕ x ๓๘ ซม. รูปแบบเป็นการแสดงออกตามอุดมคติ ที่คลี่คลายมาจาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังของไทยโบราณ ท่วงท่าของร่างกายที่ดูอ่อนช้อย นุ่มนวล สอดคล้องประสานสัมพันธ์กับจังหวะการเป่าขลุ่ย จะเป็นได้จาก ท่าทางของนักดนตรี ที่เอียงตัว แขน นิ้วมือ นิ้วเท้า ที่แสดงลีลาเคลื่อนไหวอยู่โดยตลอด ทำให้เกิดความรู้สึกราวกับว่า ได้ยินเสียงขลุ่ยออกมาจริง ๆ ตามท่าทางที่บ่งบอกของนักดนตรี

รำลึก ๑๐๐ ปี ชาตกาล อ.เขียน ยิ้มศิริ
อาจารย์ เขียน ยิ้มศิริ :  
( พศ. ๒๔๖๕ - ๒๕๑๔ )

  • เกิดวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๖๕ ธนบุรี จบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๖ จากโรงเรียนอมรินทร์โฆษิต และจบการศึกษาวิชาช่างชั้นสูง กรมศิลปากร ในปี ๒๔๘๕

  • ปี พ.ศ. ๒๔๙๖  ศึกษาศิลปะที่สถาบันศิลปะของกรุงโรม (Academy of Fine Arts of Rome) เป็นเวลา ๒ ปี และศึกษาดูงานของศิลปะสมัยต่าง ๆ ในประเทศอิตาลี และประเทศต่าง ๆ ในยุโรปภาคเหนือ

  • ปี พ.ศ. ๒๕๐๗  รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรม และประติมากรรม สืบต่อจากศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔  รวมอายุได้ ๔๙ ปี

   เชิดชูเกียรติศิลปิน เขียน ยิ้มศิริ



       ทำความรู้จักศิลปินทรงคุณค่าของไทยกับวีดิทัศน์เชิดชูเกียรติศิลปิน “เขียน ยิ้มศิริ”  พบกับเรื่องราวของชีวิตที่เรียบง่ายของศิลปิน และการทำงานด้วยใจรักในศิลปะ “เขียน ยิ้มศิริ” ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรมอันมีเอกลักษณ์ของเส้นสายและรูปทรงผสมผสานกับจิตวิญญาณ ความคิดของศิลปินถ่ายทอดออกมาผ่านประติมากรรมอันโดดเด่นและงดงามจนได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมของไทย

ข้อมูล / ผลงาน เพิ่มเติม 

ขลุ่ยทิพย์ (Musical Rhythm)  |  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป

ผลงาน :   ขลุ่ยทิพย์ (Musical Rhythm)
ศิลปิน :    นายเขียน ยิ้มศิริ
เทคนิค :   ประติมากรรมสำริด (Bronze)
ปีที่สร้างสรรค์ :  พ.ศ. 2492 (1949)
ขนาด :  55 x 38 เซนติเมตร (55 x 38 cm.)

ผลงานได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ ๑ เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2492 Gold Medal (Sculpture) The 1st National Exhibition of Art.  
อ้างอิง :หนังสือศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9 (หน้า 62) หนังสือ 5 ทศวรรษ ศิลปกรรมแห่งชาติ
สถานที่จัดแสดง :  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป

แสดงภาพแบบ 360 องศา : 

ข้อมูลเพิ่มเติม :  
 
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand