5/06/65

Digital Services Act ( DSA ) คืออะไร ? Free ต้องไม่ Hate

Digital Services Act ( ดิจิตัล-เซอร์วิส-แอค ) หรือ มีคำว่าย่อว่า DSA คือ กฎหมายการให้บริการดิจิทัล โดยสหภาพยุโรป หรือ EU ในการควบคุมให้แพลตฟอร์มออนไลน์นั้นปลอดภัยสําหรับผู้ใช้ เปรียบเสมือนไฟจราจรที่ควบคุมการจราจรถนน “บนโลกออนไลน์” ให้ปลอดภัยสําหรับผู้ใช้ “ถนนดิจิทัล” ทุกคน


หลักสำคัญในการควบคุม และการใช้กฏหมาย Digital Services Act หรือ DSA 

      คือ เพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้ โดยการกําหนดให้  ผู้ให้บริการ ( แพลตฟอร์ม)  มีบทบาทหน้าที่ และ “ความรับผิดชอบ” ต่อผู้ใช้มากขึ้น เช่น ต้องมีการตรวจสอบเพื่อยืนยันตัวตนของผู้ขายออนไลน์ และต้องมีเครื่องมือในการตรวจสอบ และลบ “ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม/ข้อมูลที่มีการบิดเบือนความจริง” ออกทันที

Digital Services Act เปรียบเสมือนไฟจราจรที่ควบคุมการจราจรถนน “บนโลกออนไลน์” ให้ปลอดภัยสําหรับผู้ใช้ “ถนนดิจิทัล” ทุกคน

นอกจากนี้ กฎหมาย DSA นี้ จะเข้มงวดมากขึ้น 

     กล่าวคือ กฏหมาย Digital Services Act ( DSA ) ที่ทาง EU ได้เพิ่งผ่านขั้นตอนพิจารณาสำคัญ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ผู้ให้บริการ แพลตฟอร์ม ( Platform ) “ต้องรับผิดชอบ” ข้อความและโฆษณา ที่มีเนื้อหา หรือข้อความ ที่เป็นข้อความเท็จ , ขัดต่อกฎหมาย หรือ ผิดจริยธรรม ที่ปรากฏในพื้นที่ แพลตฟอร์ม ของตน ซึ่งมีความแตกต่างและเข้มงวดมากขึ้น หากเทียบกับ กฎหมายของ สหรัฐฯ ที่มีจุดยืนกว้างๆ ว่าผู้ให้บริการ แพลตฟอร์ม ( Platform ) ไม่ต้องรับผิดชอบ เนื้อหาหรือข้อความใดๆ ของผู้ใช้บริการ …

กฎหมาย DSA ( Digital Services Act) ยังสอดคล้อง กับแผนปฏิบัติด้าน “ประชาธิปไตย” ของสหภาพยุโรป ( EU Democracy Action Plan) 

      ในมิติของการส่งเสริมประชาธิปไตย และเสรีภาพ ในการแสดงออก ของประชาชนในสหภาพยุโรป อาทิ การต่อต้านข่าวปลอม และการส่งเสริมเสรีภาพของสื่อ ซึ่งเมื่อกฎหมาย DSA มีผลบังคับใช้ ผู้ให้บริการ แพลตฟอร์มออนไลน์ จะมีภาระหน้าที่ในการควบคุม   การเผยแพร่ข่าวเท็จ และ Hate Speech ( ประทุษวาจา (อังกฤษ : hate speech) คือ ถ้อยคำโจมตีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือรสนิยมทางเพศ เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้บริการ ซึ่งสะท้อนนโยบายของสหภาพยุโรปที่มักเชื่อมโยงเรื่องเศรษฐกิจกับการปกป้องคํานิยมของสหภาพยุโรป เช่น สิทธิความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการแสดงออก การคุ้มครองผู้บริโภค และการแข่งขันที่เท่าเทียม เป็นต้น

Free ต้องไม่ Hate แปลว่า เสรีภาพ ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบ

      ในมิติของการส่งเสริมประชาธิปไตยและเสรีภาพในการแสดงออก อย่างเช่น Free Speech ที่เรามักจะเรียกร้องกันในปัจจุบัน แต่บ่อยครั้ง สิ่งที่เราเห็นภาพจริงในสังคม หรือในโลกออนไลน์ทุกวันนี้ กลับเป็น Free Speech ที่เคลือบแฝงและแอบอิง ด้วย Hate Speech  ประกอบด้วยเนื้อหาความรุนแรง การยั่วยุให้เกิดความรุนแรง , สร้างความเกลียดชังต่อคนหรือกลุ่มคน การสนับสนุนอาชญากรรม , การร่วมมือกันสร้างอันตรายต่อผู้อื่น  การบูลลี่ (Bully)   การกลั่นแกล้งที่แสดงออกด้วยคำพูด ลดทอนด้อยค่าต่อคนหรือกลุ่มคน จากความบกพร่องทางร่างกาย ตลอดจนการแสดงคุกคาม


คำว่า ‘Free’ ต้องไม่ใช่ข้อเท็จ ต้องไม่มีการกีดกันอย่างไม่ยุติธรรม และต้องโปร่งใส และต้องไม่ใช่การแสดงออกที่ขัดต่อกฎหมาย หรือทำร้ายสิทธิของผู้อื่น ไม่บูลลี่ (Bully) และไม่ทำร้ายสังคมโดยรวม

  • ประเด็น โฆษณาลาซาด้าที่เป็นข่าว ( แคมเปญ Lazada 5.5 )
      ดังในสังคมไทย ในกรณีที่เกิดประเด็น โฆษณาแคมเปญ Lazada 5.5 โดย LAZADA ( ลาซาด้า ) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ ชื่อดัง แสดงเนื้อหาไม่เหมาะสม มีเนื้อหาที่สื่อถึง ( การบูลลี่ - Bully )  ล้อเลียนพฤติกรรมหรือสภาพร่างกาย   *โดยสังคมมีการตั้งข้อสังเกต ผู้ผลิต Content และ สองพรีเซนเตอร์ อาจมีความพยายาม เชื่อมโยงพาดพิง หรือพยายามชี้นำให้เข้าใจและบ่งถึงบุคคลและสถานการณ์ต่าง ๆ จนเกิดกระแสต่อต้านอย่างหนัก จนมีการเชิญชวน #แบนLazada ยกเลิกสั่งซื้อสินค้า รวมถึงถอดถอนแอป Lazada ออก

หยุด Bully



ในฐานะของ Misc.Today ที่เป็นปากเสียงเล็กๆ และแม้จะเป็นเพียงหน่วยย่อยหน่วยหนึ่งของ โลกออนไลน์ ก็จะ ขอร่วมแบน lazada และขอประณาม พฤติกรรม Hate Speech และ การบูลลี่ - Bully ทุกรูปแบบ อีกเสียงหนึ่งครับ


ถึงเวลาแล้วหรือยัง ? ที่ประเทศไทย ควรมีกฎหมาย Digital Services Act หรือ DSA




ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม และอ้างอิง 

  • ประทุษวาจา / ( อังกฤษ : hate speech)  จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2


  • บูลลี่ (Bully) คืออะไร มีกี่ประเภท วิธีที่จะรับมือจากการโดนบูลลี่ 
    โดย : กรมสุขภาพจิต | https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=3061

  • กลุ่มปกป้องสถาบันแห่แบน 'ลาซาด้า' หลัง 'นารา เครปกะเทย' ทำโฆษณาหมิ่นเหม่   https://www.thaipost.net/x-cite-news/135966/
 
 
 

แนะนำ หนังสือน่าอ่าน 2022
Books Recommendation
 
 
 



  Follow us on Twitter :  



ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand