3/19/65

รำโยเดีย ( Yodhaya Ahka ) หรือ รำโยดายา

เป็นระบำแบบอยุธยา ที่ปัจจุบันหายสาบสูญไปแล้ว มีคนเจอใน Film หนังของพม่า หนังเรื่องนี้ถ่ายทำเมื่อปี 1960 หรือก่อนยุคนายพลเนวินยึดอำนาจจากรัฐบาลอูนู ซึ่งเป็นยุคที่ศิลปะวัฒนธรรมพม่าเสื่อมถอยที่สุด

Yodhaya Ahka


     
เมียนมาร์ ในยุคที่ศิลปะวัฒนธรรมพม่าเสื่อมถอยที่สุด

CR : สยามกุฎิ์ 


     ประเทศเต็มไปด้วยสงคราม และความโหดร้าย หมู่บ้านชาวโยเดียหลายแห่งถูกตัดขาดจากโลกภายนอกเพราะไม่กล้าแสดงตัวว่าเป็นใคร  ( * ในยุคนั้นผู้ที่ไม่ใช่ชาว Burmese มักถูกมองว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ถึงแม้จะตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตมัณฑะเลย์ก็ตาม ) เมื่อมีใครถามถึงโยเดียมักปิดบังตัวเองเสมอ และสนทนาด้วยภาษาพม่า  ในยุคนายพลเนวินนั้นโหดร้ายมาก ต่อมาชาวโยเดีย จึงถูกกลืน ลูกหลานไม่มีใครพูดภาษาไทยได้แล้ว

      จนกระทั่ง เมียนมาร์เปิดประเทศ ในปี พ.ศ.2556 ได้มีการค้นพบชุมชนเชื้อสายอยุธยาชื่อ หมู่บ้านซูก้า ( มาจากคำว่า สุขะ ในภาษาบาลี) มีประชากรราว 200 คน และยังมีชุมชนของผู้มีเชื้อสายอยุธยา ณ หมู่บ้านมินตาซู หรือย่านเจ้าฟ้า มีประชากรเชื้อสายอยุธยาอยู่ไม่ต่ำกว่า 30 คน ทั้งสองชุมชนนี้ ตั้งอยู่ในเมืองมัณฑะเลย์ แม้ไม่สามารถใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันได้ แต่วัฒนธรรมหลายอย่างของชาวอยุธยายังคงอยู่ และส่งอิทธิพลต่อวัฒนธรรมพม่าบางประการมาจนถึงยุคปัจจุบัน

  •  การเข้ามาของชาวอยุธยาในพม่าครั้งใหญ่ เริ่มต้นในปี พ.ศ.2310

     พระเจ้ามังระ ทรงยึดกรุงศรีอยุธยาได้ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ เสด็จสวรรคต พม่าได้ทำการเผากรุงศรีอยุธยา ปล้นชิงทรัพย์สินในพระนคร บังคับราษฎรทั้งภิกษุทั้งฆราวาสให้แจ้งที่อยู่ทรัพย์สิน ผู้ขัดขืนต้องเผชิญโทษทัณฑ์ต่าง ๆ แล้วให้จับผู้คนรวมถึงพระราชวงศ์ ข้าราชการ สมณะเพศ ไปคุมขังไว้ โดยพระสงฆ์ให้กักไว้ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ส่วนฆราวาสให้ไว้ตามค่ายของแม่ทัพนายกองทั้งหลาย คำนวณแล้วปรากฏว่า เชื้อพระวงศ์ถูกกวาดต้อนไปกว่า 2,000 พระองค์ รวมจำนวนผู้ถูกพม่ากวาดต้อนไปนั้นมากกว่า 30,000 – 100,000 คน อันรวมไปถึ งสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร และกรมขุนวิมลพัตร

    เชลยส่วนใหญ่คือประชากรที่อยู่รายรอบกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ อ่างทอง, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, ชัยนาท, อุทัยธานี, นนทบุรี, ปราจีนบุรี, และธนบุรี มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา

    ถูกกวาดต้อนไปด้วย เป็นต้นว่าบุคคลเชื้อสายเปอร์เซียและพราหมณ์ ดังปรากฏใน พระราชพงศาวดารพม่า ความว่า

" สั่งให้เผาพระนครและปราสาททั้ง ๓ องค์ และให้เผาอาราม และวิหารเสียให้หมดด้วย และสั่งให้ทำลายกำแพงเมือง และบรรดาเข้าของที่มีอยู่ในกรุงศรีอยุธยา มีพระไตรปิฎก คือ พระธรรมวินัย เป็นต้น สั่งให้ทำลายเสียแล้วก็กลับมายังพระนครแห่งตน "


      ทำให้เกิดภาวะบ้านแตกสาแหรกขาด มีราษฎรอยุธยาจำนวนไม่น้อยเสียชีวิตจากการสู้รบ ป่วยไข้ หรืออดอาหารตายจำนวนมากถึง 200,000 คน ด้วยเหตุนี้ ราษฎรอยุธยาจำนวนมากอพยพหนีพม่า ไปไกลถึงเมืองเขมร และเมืองพุทไธมาศ เฉพาะเมืองพุทไธมาศ มีคนไทยอาศัยรวมกันกว่า 30,000 คน และมีชาวเมืองสวรรคโลกอพยพเข้าไปเมืองเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศราชของพม่า นอกจากจะกวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว พระเจ้ามังระยังทรงกวาดต้อนเชลยสยามจากเมืองสุโขทัย, สวรรคโลก และพิษณุโลกเข้าสู่อังวะเป็นจำนวนมาก

ส่วนในพงศาวดารเมืองสงขลา ระบุไว้อีกว่า  " พม่าตีแตกมากระทั่งถึงเมืองชุมพร ไชยา พวกกองทัพมากวาดเอาครอบครัวไทยไปเป็นอันมาก "

     เมื่อคราวที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จเยือนประเทศพม่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพบกับเจ้าหญิงตะรังงา ( Htayanga ) เจ้านายพม่า ที่มีเจ้าจอมมารดาสืบสันดานมาจากเจ้านายอยุธยา ตามพระนิพนธ์ในหนังสือ เที่ยวเมืองพม่า ความว่า

" พระองค์หญิงดาราตรัสบอกว่า เธอเป็นเชื้อไทย ด้วยสกุลเจ้าจอมมารดาของเธอเป็นไทย ผู้ใหญ่เล่ากันมาว่าต้นสกุลเป็นเจ้าชายที่ถูกกวาดต้อนไปจากกรุงศรีอยุธยาแต่ยังเยาว์ ถ้าเช่นนั้นคิดตามเวลา พระองค์เจ้าหญิงดาราก็คงเป็นชั้น ๔ หรือชั้น ๕ ต่อมาจากต้นสกุล "


ยังมีชาวโยเดียอีกหลายคนที่ทราบการเสด็จมาเยือนพม่าของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ แต่ไม่ทันจะพบปะพูดคุย ก็ได้เวลาเสด็จกลับสยามมาก่อน


CR : สยามกุฎิ์ 
https://youtu.be/CLTypIHzOG0


  เพื่อเข้าใจถึงแก่นแท้แห่งการล่มสลายของราชบัลลังก์พม่า 


“KONBAUNG DYNASTY”
ราชวงศ์คองบอง สงคราม ความรัก และหายนะเหนือบัลลังก์พม่า 

    ราชวงศ์สุดท้ายของราชอาณาจักรพม่า ครองอำนานยาวนานถึง 133 ปี ทั้งออกศึกรบพุ่งกับชนชาติอื่นรอบด้าน ต่อต้านการรุกรานของมหาอำนาจตะวันตก กรำศึกภายในจากการช่วงชิงอำนาจของหมู่ญาติวงศ์มากครั้ง ราวกับราชบัลลังก์นี้ชุ่มไปด้วยเลือด ตลอดระยะเวลาร้อยกว่าปีของ "ราชวงศ์คองบอง"

   >> ดูเพิ่มเติม 




หนังสือใหม่ 📖 แนะนำ 


หนังสือแนะนำ : แม่นากภาคสมบูรณ์ 

    หนังสือสารคดีเล่มนี้  ได้รวบรวมความเป็นมา เกี่ยวกับการเล่าขานถึงตำนาน ผีแม่นาก จากทุกสถานที่ จากหลายยุคสมัย เพื่อมาประติดประต่อเรื่องราว และพิสูจน์ว่าตำนานที่เล่าขานนี้มีมูลความจริงหรือไม่! รวบรวมเรื่องราวและเล่าถึงรายละเอียดต่างๆ อย่างละเอียดลออ โดย ​ เอนก นาวิก มูล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 256​3

 
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand