5/12/63

กล้องถ่ายภาพ ตัวแรก ที่เข้ามาสยาม ในพ.ศ. ๒๓๘๘



สังฆราชปาเลอกัวส์

     กล้องถ่ายภาพ ตัวแรก ที่เข้ามาสยาม ในพ.ศ. ๒๓๘๘ ชื่อว่า กล้องดาแกโรไทป์  (Daguerreotype)  ได้ถูกนำมาสู่สยาม โดย สังฆราชปาเลอกัวส์ ชาวฝรั่งเศส สมภารวัดคอนเซ็ปชัญ ทำจดหมายไปขอให้บาดหลวงชื่ออัลบรันด์ที่อยู่ในปารีสช่วยสั่งซื้อ แล้วฝากให้นายหลุยส์ ลาร์นอดี ซึ่งกำลังจะมาลองใช้ชีวิตในกรุงเทพ ให้นำกล้องมาด้วย


    นายลาร์นอดี นำกล้องนี้เมื่อมาถึงในพ.ศ. ๒๓๘๘ เมื่อเอาออกจากหีบทีละชิ้นมาประกอบเสร็จก็ต้องลองถ่ายรูปดูว่ามันใช้ได้หรือเปล่า จึงถือได้ว่าเป็นช่างภาพคนแรกในสยาม สังฆราชปาเลอกัวส์เองลองผิดลองถูกอยู่สามสี่วันจึงจะใช้มันได้ คนไทยสมัยโน้นเรียกการถ่ายรูปว่าชักรูป มีความหมายว่า ชักเอาเงาหรือรูปของคน หรือสรรพสิ่งที่ถูกชักเข้าไปไว้ในกล้อง ส่วนช่างภาพก็เรียกช่างชักรูป

    สังฆราชปาเลอกัวส์ จึงไปเฝ้าเจ้านายท่านหนึ่ง ที่ทราบทั่วกันว่า ท่านโปรดวิทยาการสมัยใหม่ของชาวตะวันตก คือ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี ซึ่งก็ทรงเต็มพระทัยเป็นฟรีเซนเตอร์ให้ แต่ก็ดูเหมือนจะมีบุคคลชั้นสูงไม่กี่ท่านที่เอาด้วยเหตุเพราะความเชื่อที่ว่า

หากตนถูกชักรูปเข้าไปไว้ในกล้องแล้วจะอายุสั้น หรือถูกนำรูปไปทำคุณไสย ได้ ...

    กล้องตัวแรก ที่ซื้อมานี้ ใช้ไปได้ประมาณสองปี ก็ถูกขายต่อให้พระองค์เจ้านพวงศ์ พระราชโอรสพระองค์แรกของเจ้าฟ้ามงกุฏที่ประสูติก่อนขึ้นครองราชย์ โดยขณะนั้นทรงมีอายุ ๒๕ พรรษาแล้ว แต่น่าเสียดายที่ไม่มีหลักฐานเหลือเลยว่าท่านทรงถ่ายภาพอะไรไว้บ้าง

อ่านเรื่องราว "ภาพเก่าในสยาม" เพิ่มเติมได้ที่นี่

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

 
miscthailand